"กองทุนรวมกสิกรไทย" คึก ได้โอกาสออกไล่ตะครุบเงินออมที่ยังนอนแช่ในแบงก์แบบไม่มีทางเลือก
ด้วยการเร่ระดมเงินทุนแลกกับการลดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ
เพื่อจูงใจผู้คนให้เปลี่ยนใจหันมาสนใจ ลงทุนใน "กองทุน FIF" ที่เตรียมจะขนเงินไปลงทุนในตลาดโลกเป็นครั้งแรก
นางดัยนา บุนนาค กรรมการ ผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย
จำกัด
กล่าวว่า เพื่อให้ "กองทุนรวงข้าวโกลบอล บาลานซ์ฟันด" หรือกองทุนเพื่อลงทุนในต่างประเทศ
(FIF) ที่บริษัทเตรียมจะเสนอขายนักลงทุน สถาบันภายในวันที่ 8 และประชาชน
ทั่วไปในวันที่ 15
พฤษภาคมนี้ ได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งกสิกรไทย และเมอร์ริล ลินช์จึงมีนโยบายที่จะ
ลดค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้าลงอีก โดยเมอร์ริล ลินช์นั้นระบุว่าระหว่าง เดือนกรกฎาคมจะลดค่าธรรม-
เนียมกองทุนลง ทำให้การบริหารกองทุนมีการการทำธุรกรรมต่างๆ มีค่าใช้จ่ายลดลง
เนื่องจากเป็นการ ลงทุนของกองทุนผ่านกองทุนพันธมิตรด้วยกัน ดังนั้น ยิ่งกองทุน
กสิกรไทยลงทุนผ่านเมอร์ริล ลินช์
ก็ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้มากขึ้น ทั้งนี้ "กองทุนรวงข้าวโกล-บอลบาลานซ์ฟันด"
จะนำเงินไปลงทุนในกองทุน MST US Dollar Glibal Balanced Fund ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของ
เมอร์ริลลินช์
อินเวสต์เมนต์ แมเนเจอร์ส กรุ๊ป ซึ่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์ก
ที่สามารถนำเงินไปลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก สำหรับกองทุน FIF ดังกล่าว นั้น
เป็นที่รับรู้กันว่า มีบลจ.เพียง 5
รายแรกเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเป็นครั้งแรกก็เพื่อกระจายความเสี่ยง
กองทุนที่อยู่ภายใต้การคัดสรรสามารถระดมทุนในประเทศเพื่อนำไปลงทุนได้แทบทุกมุมโลก
โดยผู้บริหารพยายามชี้แจงว่า การลงทุน ลักษณะนี้เป็นโอกาสที่เจ้าของเงินออมจะมีผลตอบแทนงอกงามกว่า
การลงทุนในประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจ ยังมีความผันผวนมากกว่า เมื่อเทียบกับตลาดโลก
ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมหลักๆที่น่าสนใจและทำรายได้มหาศาล อย่างเช่น อุตสาหกรรมยา
ไอที และอุตสาหกรรมเทคโน-โลยีชีวภาพก็มีเฉพาะในตลาดต่างประเทศเท่านั้น
คนไทยจึงเสียโอกาสในการลงทุนเพราะในตลาด บ้านเราไม่มี "การที่เรามีความหลากหลายน้อยกว่าต่างประเทศ
ซึ่งได้เปรียบเราทุกด้าน เราจึงต้องพึ่งเขา ซื้อสินค้าเขามาตลอด
กำไรก็เป็นของเขาฝ่ายเดียว แต่ต่อไปการมีกองทุน FIF จะทำให้เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในบริษัทใหญ่ๆในต่างประเทศเหล่านั้นบ้าง"
นางดัยนาอธิบายว่า การนำเงินไปลงทุนใน ต่างประเทศคราวนี้
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อนุญาตให้ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ในช่วงไตรมาสต่อไปก็แน่นักว่าแบงก์ชาติอาจจะกำหนดให้สามารถนำเงินไปลงทุนได้เพียง
10
ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น "แต่ก่อนเราไม่เคยได้รับอนุญาตให้นำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศเลย
มีแต่คนต่างประเทศที่มีโอกาสฝ่ายเดียว
เหมือนกับเมื่อหญ้าในประเทศเราเขียวขจีเขาก็เข้ามาตักตวงกอบโกยเสร็จแล้วก็ขนกำไร
ผลตอบแทนกลับออกไป แต่พอทุ่งหญ้าของบ้านเราแห้งแล้ง เขาก็ไม่แยแส แถมยังหอบเงินกลับไปอีก
ขณะที่เราเองนั้นยิ่งไม่เคยมีโอกาสได้ออกไปแสวงหาผลประโยชน์ในทุ่งหญ้าเขียวชะอุ่มของประเทศเหล่านั้นด้วยซ้ำ"
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงกองทุนวงข้าวโกลบอลบาลานซ์ฟันด์แล้ว
เมื่อออกไปลงทุนและได้รับผลตอบแทนกลับมา จะเป็นตอบแทนที่คิดเป็นเงินดอลลาร์
เพื่อให้เจ้าของเงินลงทุนได้ประโยชน์มากที่สุด
เพราะนักลงทุนเจ้าของเงินหลายรายยังมีภาระที่จำเป็นต้องใช้เงินสกุลดอลลาร์
เพื่อบุตรหลานที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ และในการทำธุรกิจต่างๆ ความพยายามของบรรดากองทุนทั้ง
5
รายที่ได้รับโอกาสนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศก่อน ใคร ในช่วงนี้จึงมักจะปรากฏให้เห็นกันค่อนข้างถี่ขึ้น
โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพคล่องในประเทศล้นทะลักไม่มีวันสิ้นสุด
บวกกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ในธนาคารพาณิชย์ที่นับวันมีแต่จะปักหัวใกล้เคียงเลขศูนย์เข้าทุกที
ก็ยิ่งเป็นเหตุผลสำคัญทำให้กองทุนกลุ่มนี้เพียรพยายามที่จะจับกลุ่มเจ้าของเงินออมจากแบงก์แม่ของตัวเองให้มากที่สุด
ทั้งนี้ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีทางเลือกมากนักอาจจะต้องพิจารณาอย่างหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุน
เพราะกองทุนส่วนใหญ่เน้นหนักการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก รองลงมาคือตราสารหนี้
และอื่นๆ
เมืองไทยลงได้แค่ 100 ล. นางภคินีนาถ ติยะชาติ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า เดิมบริษัทวางแผนการลงทุนในกองทุน
กองทุนรวงข้าวโกลบอลบาลานซ์ฟันด์
หรือ กองทุนเพื่อลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของบลจ.กสิกรไทย 400-500 ล้านบาท
แต่เนื่องจาก มีอุปสรรคทางเทคนิคที่กฎกระทรวงระบุว่า บริษัทประกันชีวิตจะนำเงินไปลงทุนต่างประเทศไม่ได้
ซึ่งมีการตีความในช่วงแรกว่ากองทุนดังกล่าวไปลงทุนต่างประเทศ โดยมองที่วัตถุประสงค์ของ
กองทุนเป็นหลัก เป็นเหตุให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
เลื่อนระยะเวลาในการนำเสนอขายกองทุน FIF ของ 5 บลจ.ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดการกองทุน
ดังกล่าว และบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต
จึงได้นำเงินที่กันไว้ในส่วนดังกล่าวไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทอื่น ส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตร
อย่างไรก็ตาม บรรดาบริษัทประกันชีวิต ได้ยื่นเรื่องให้ทางกรมการประกันภัย
ตีความใหม่ เพราะกองทุน
FIF มีการจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากมองประเด็นนี้จะไม่ขัดกับกฎกระทรวง
ซึ่งทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุวรรณ วลัยเสถียร ได้ให้มีการตีความใหม่
ผลออกมาคือ บริษัทประกันชีวิตสามารถลงทุนในกองทุน FIF ได้ แต่เนื่องจากว่าระยะเวลาที่ประกาศออกมา
กับระยะเวลาที่บลจ.เสนอขายกองทุน FIF กระชั้นชิดมาก
ทำให้การวางแผนกันเงินมาลงทุนในกองทุนรวงข้าวโกลบอลบาลานซ์ฟันด์ ฉุกละหุก
เพราะเงินที่มีอยู่ได้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทอื่นแล้ว จึงมีเงินลงทุนในกองทุนดังกล่าวเพียง
100
ล้านบาทเท่านั้นในระยะแรก ในระยะต่อไป หากผลการดำเนินงานของ กองทุน FIF
อยู่ในเกณฑ์ดี บริษัทสามารถที่เพิ่มสัดส่วนการลงทุนได้อีก โดยสามารถซื้อหน่วย
ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
รอซื้อในช่วงที่จะมีการเสนอขายกองทุนรอบที่ 2 เพราะตามกฎกระทรวงอนุญาตให้บริษัทประกันชีวิต
สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนได้ 10% ของมูลค่ากองทุนที่ออกจำหน่าย และรวมทุกกองทุน
แล้วสามารถลงทุนได้ 20% ของสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งจำนวนเงินที่จะลงทุนมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับขนาดสินทรัพย์ของแต่ละบริษัทประกัน สำหรับพอร์ตการลงทุนของเมืองไทยประกันชีวิต
ในปีนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น 15,000 ล้านบาท จากปี 2544 ที่มีประมาณ 13,900 ล้านบาท
ซึ่งสามารถบริหารผลตอบแทนได้ 6.4% ถือว่าสูงกว่าผลตอบแทนของตลาดที่ทำได้ประมาณ
5.9%-6% ทั้งนี้
บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ได้แต่งตั้งให้ บลจ.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน
ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือธ.กสิกรไทยเช่นเดียว กัน