จับตาศึกพิพาทดอกเบี้ย รัฐบาลส่งซิก "หม่อมอุ๋ย" เร่งโชว์ผลงาน


ผู้จัดการรายวัน(22 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

จับตาความขัดแย้งระหว่างแบงก์ชาติ-รัฐบาลระลอกใหม่ หลังจากแบงก์ส่อแววจะพาเหรดลดดอกเบี้ยเงินฝากตามแบงก์เอเชีย บทพิสูจน์หัวเลี้ยวหัวต่อ สำคัญนโยบายการเงินรัฐบาลระหว่าง"อุ้มคนรวย

กระทืบคนออม" สะท้อนภาพ "กลไกตลาด" ไม่ใช่คาถาที่อธิบายทุกอย่าง เหตุกลไกพินาศนานแล้วเงินล้นเพราะแบงก์ไม่ปล่อยเงินกู้ เก็บกินกำไรจากส่วนต่างจนพุงกาง ภายหลังจากที่นายจุลกร

สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) BOA ธนาคารที่มีเอบีเอ็น แอมโร ถือหุ้นใหญ่ ประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2545 เมื่อปลาย

สัปดาห์ที่แล้วซึ่งผลในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารต่ำที่สุดในประวัติไทยอยู่ที่ 1.25% และมีแนวโน้มว่า

ธนาคารพาณิชย์รายอื่นๆ จะทยอยลดดอกเบี้ยตามอีกระลอกในเวลาไม่ช้าน ี้เป็นกำลังจะกลายเป็นข้อขัดแย้ง ทางนโยบายระหว่างธนาคาร แห่งประเทศไทยและรัฐบาลรอบใหม่

สัญญาณของความขัดแย้งเกิดขึ้นทันทีที่ข่าวการประกาศลดดอกเบี้ยของธนาคารเอเชียแพร่กระจายออกไป ท่าทีของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเห็นคล้อยกับแบงก์พาณิชย์ ขณะที่ฝ่าย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ครั้งแรกให้ความเห็น

ต่อสื่อมวลชนเหมือนจะไปในทางทิศทางเดียวกันกับแบงก์ชาติโดยบอกว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด" แต่แล้วเมื่อวันศุกร์ (19 เม.ย.) กลับมีรายงานว่า ในการเข้าพบกับ ม.ร.ว. ปรีดียาธรที่แบงก์ชาติ

นายสมคิดได้กำชับให้แบงก์ชาติ "หาวิธี" ยับยั้งการลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เพื่อไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสังคม แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า

ขณะนี้รัฐบาลกังวลต่อการประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างมาก เพราะเกรงจะทำให้ผู้ฝากเงินและสังคมได้รับผลกระทบ แม้จะเข้าใจดีว่า

ธนาคารพาณิชย์อยู่ในภาวะยากลำบากในการบริหารสภาพคล่องที่ล้นระบบอยู่แต่การลดอกเบี้ยก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป และหลังจากทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจได้วิเคราะห์ภาวะการณ์แล้วเห็นว่า

ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสวมบทบาทผู้กำหนดนโยบายการเงินให้ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ตามที่รัฐบาลอยากจะเห็น รัฐบาลชุดนี้ได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้ว่าฯแบงก์

ชาติจากม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล มาเป็นม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล หลังจากที่รัฐบาลมีความเห็นขัดแย้งกับแบงก์ชาติในการส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ย "ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังไม่ได้แสดงให้เห็นเลย ว่า

แบงก์ชาติยุคนี้ดูแลนโยบายการเงินได้ ที่ผ่าน มารัฐบาลใช้แต่นโยบายการคลังในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ" แหล่งข่าว กล่าว เขากล่าวว่า

บทบาทที่แบงก์ชาติเล่นอยู่ในปัจจุบันคล้อยตามธนาคารพาณิชย์มากเกินไป ซึ่งเอกชนเองมีแต่ได้กับได้ถ่ายเดียว ขณะที่เมื่อมีปัญหาแบงก์ชาติก็จะเข้าไปช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

จนกลายเป็นภาระหนักของกองทุนเพื่อการพัฒนาและฟืนฟูระบบสถาบันการเงินซึ่งจะผลักภาระไปสู่ประชาชน ผู้เสียภาษีในรูปของหนี้สาธารณะอีกหลายแสนล้านบาท

"ถึงเวลาที่แบงก์พาณิชย์จะต้องคิดถึงชาติ บุญคุณของผู้ฝากเงินบ้าง" แหล่งข่าวกล่าว เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านมารัฐบาลเข้าโอบอุ้มมาต่อเนื่องจนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า

"อุ้มคนรวย" โดยกองทุนฟื้นฟูช่วยเหลือสภาพคล่อง อัดฉีดเงินเพิ่มทุน รวมถึงการตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ "ทีเอเอ็มซี" เข้ามารับภาระหนี้เสียในระบบสถาบัน การเงินออกไป

ทำให้แบงก์ลดภาระมีฐานะการเงินที่แข็งแรงขึ้น ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้จึงเหลือเพียงแต่ว่าจะบริหารต้นทุนอย่างไรในภาวะที่สภาพคล่องล้นระบบ ซึ่งเรียกภาวะเช่นนี้ว่าเป็น

"กับดักสภาพคล่อง" ซึ่งแต่ละธนาคารมักจะใช้อ้างในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงที่ผ่าน มา

"การลดดอกเบี้ยฝากขาเดียวแต่ตรึงอัตราดอกเบี้ยกู้ไว้สูงๆทำให้ขณะนี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสูงมาก จนเป็นเหตุให้แบงก์มีกำไรจากส่วนนี้กันพุงกาง" แหล่งข่าวกล่าว

ล่าสุดผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ประจำ ปีนี้ของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่ประกาศออกมาทั้งหลายพบว่า

ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งสาเหตุที่นักวิเคราะห์ได้พิจารณาจากงบการเงินของธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นก็พบว่า

มาจากกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทั้ง หมด "จากนี้ไปจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

กลไกตลาดไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอ เพราะทุกวันนี้กลไกตลาดไม่ทำงาน แบงก์มีเงินล้นแต่ไม่ปล่อยกู้ ก็เห็นความจริงกันอยู่"แหล่งข่าวกล่าว กลไกพิการนานแล้ว

เมื่อมองอีกประเด็นหนึ่งของการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ หลายฝ่ายต่างมองเห็นว่า สัญญาณการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสภาพที่ไม่ปกติของตลาด

และอาจหมายรวมได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังไม่สร้างความสบายใจต่อธุรกิจได้ ถึงแม้ในมุมกลับกัน ผลดีของการลดดอกเบี้ยขาของเงินกู้

ได้สร้างอานิสงส์ให้กับผู้ประกอบการที่ทำให้ภาระจ่ายลดลง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภคของส่วนของสินเชื่อบุคคลมากขึ้น

และลามไปถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ทำให้ประชาชนสามารถมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยได้ในภาวะที่ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ แต่คำถามที่ยังตามว่า "สภาพคล่องที่ล้นอย่างมาก" ประมาณ 5-6

แสนล้านบาทจะมีการดูดซับออกไปได้อย่างไร การจะพึ่งพาให้เกิดการ อุปโภคบริโภคของประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบเศรษฐกิจยังไม่พอเพียงเท่ากับ "การลงทุน ใหม่" อย่างต่อเนื่อง

แน่นอนการกดดอกเบี้ยฝากตั้งแต่ปลายปี 44ต่อเนื่องถึงต้นปี45 ได้ช่วยลดแรงกดดันต่อภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนหลักทางด้านหนี้สินของธนาคารลงอย่างมากจะมีแนวโน้มลดลง

พิจารณาง่ายๆเฉพาะดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ถูกหั่นลงจากระดับ 5% ลงมาเหลือ 1.25% (อิงกับดอกเบี้ยของธนาคารเอเชีย) แสดงว่าดอกเบี้ยที่ผู้ฝากเงินออมทรัพย์หายไปประมาณ 3.75% แค่คิดกันเล่นๆ

สิ้นปี 44 เฉพาะแค่เงินฝาก ออมทรัพย์ในระบบมีประ มาณ 1.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30% ของเงินฝากทั้งระบบ 4.8 ล้านล้านบาท

แสดงว่าผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินควรจะได้รับจากการไปฝากไว้กับธนาคารหายไปประมาณ 3.75% หรือตกเป็นเม็ดเงินประมาณ 50,000 ล้านบาทในระยะที่ผ่านมา

เพราะในกระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านจะเจอกับปัญหากับ "กับดักสภาพคล่อง" อันเกิดจากการชำระหนี้คืนของภาคธุรกิจ ซึ่งไม่สอดรับกับการปล่อย

สินเชื่อที่ทำด้วยความยากลำบากในภาวะเศรษฐกิจ ที่อ่อนแออยู่ แม้แต่คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 1 ใน 5 สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการบริหารสภาพคล่องว่า ในแต่ละเดือนธนาคารจะมีสภาพคล่องไหลเข้ามาเฉลี่ย 1,000-2,000 ล้านบาท

แต่การขยายสินเชื่อ เพิ่มขึ้นไม่ได้มาก ดังจะเห็นได้จากสิ้นเดือนธ.ค.2544 ปรากฏว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ได้หดตัวลงถึง 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในทางกลับกัน

เงินฝากกลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่โดยตัวเลขเงินฝากก.พ.ทั้งระบบอยู่ที่ 5.13 ล้านล้านบาท ทางรอดแก้โครงสร้างศก. กระตุ้นลงทุนใหม่ๆ-ซับสภาพคล่อง นายอนุสรณ์

ธรรมใจ ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักวิจัยและวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT เปิดเผยว่าการที่ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยถือว่าเป็นไปตามสภาพคล่อง ที่มีมากในระบบ

ถึงแม้ว่าเศรษบกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่ยังมีปัญหาอยู่ที่ว่ายังไม่มีการลงทุนใหม่ๆเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากนัก "ที่มาของเศรษฐกิจเริ่มฟื้นมาจากสินเชื่อดีขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มาก

ส่วนใหญ่จะมุ่งขยายตัวสินเชื่อบริโภคซึ่งทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่จะผลักดันเศรษฐกิจต้องมาจากการลงทุนซึ่งเป็นสินเชื่อแท้ที่จะช่วยให้ปัญหาสภาพคล่องบรรเทาลง

แต่การลงทุนใหม่ๆไม่ใช่เรื่องจะเกิดขึ้นในระยะอันสั้น คงต้องใช้เวลา"นายอนุสรณ์ กล่าวและชี้ปมว่า โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมใช้กำลังผลิตในอัตราเฉลี่ย 55-56%

และยังมีการลงทุนจากต่างประเทศยังล้นอยู่ในบางอุตสาหกรรมในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งขณะนี้ยังใช้ไม่หมด นายอนุสรณ์ กล่าวว่าแนวทางที่ต้องดำเนิน การขณะนี้คือ

ต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการผลิต เพราะอัตราการผลิตยังทรงๆตัว "ถ้าอุตสาหกรรมใช้กำลังแค่นี้ แปลว่ามีอะไรผิดปกติ อาจมองได้ว่าอุตสาหกรรมไม่ทันสมัย

หรือไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากมีการปรับโครงสร้างการผลิตหรือการปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ๆ จะยังผลให้เกิดการลงทุนใหม่ๆเข้ามา

ผลก็คือจะทำให้กลไกของระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มเคลื่อน" ดอกเบี้ยลดดึงคนออมลงทุน ช่วยบริหารหนี้สาธารณะ

ผู้อำนวยการอาวุโสกล่าวว่าการที่ดอกเบี้ยลงจะช่วยผลักดันให้คนที่ออมหันมาลงทุนมา บริโภค ซึ่งมีหลายธุรกิจมีการเคลื่อนไหวจากผล ดอกเบี้ยที่ลดลง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจรถยนต์

ซึ่งสินค้าที่ถูกซื้อเยอะจะเป็นสินค้าประเภทคงทน "จริงๆแล้วอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ได้ลดลง เพราะเงินเฟ้อลงไปเยอะ เห็นจากเดือนมีนาคมเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.6% ส่วนดอกเบี้ยที่ลดลงไป 0.25%

เป็นดอกเบี้ยทั่วไป ในอีกมุมผลดีของ ดอกเบี้ยต่ำจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารหนี้สาธารณะ" ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำไม่ใช่เป็นผลจากอุปสงค์ไม่แข็งแรง

ที่เงินเฟ้อต่ำเพราะปริมาณสินค้าในระบบมากกว่าความต้องการ ทำ ให้ราคาสินค้าตกต่ำ ไม่ใช่ความต้องการสินค้าไม่มี แบงก์รัฐดูแลผู้ฝากเงิน ผ่านสินค้าเจาะจง

นายอนุสรณ์กล่าวในแง่ผลกระทบต่อสังคม นั้น รัฐบาลสามารถใช้เครื่องมือของรัฐบาลที่มีอยู่ในการดูแลผู้ฝากเงินได้ เช่น ธนาคารของรัฐออกออมทรัพย์พิเศษ หรือรัฐบาลออกเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ

เช่น ตราสาร "ผมมองว่าจะเป็นผลดีต่อระบบการเงินของ ประเทศ เพราะเราพึ่งพิงระบบแบงก์มากเกินไป เวลาแบงก์มีปัญหาทำให้ระบบการเงินได้รับผลกระทบ แต่ถ้าดอกเบี้ยขาลง

จะช่วยให้เกิดระบบการเงินใหม่ๆ เช่น ตราสาร หุ้นกู้ ซึ่งตลาด จะถูกพัฒนามากขึ้น" อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องห่วงคือ ถ้าหากการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แสดงว่า

"เศรษฐกิจมีปัญหาแน่" ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากการลงทุนไม่เกิดขึ้นก็ได้ หรือเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.