ต่อลมหายใจ "ปุ๋ยแห่งชาติ" เซ็นMOAข้าวแลกปุ๋ยพุธนี้


ผู้จัดการรายวัน(22 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"ปุ๋ยแห่งชาติ" เตรียมเซ็นสัญญาข้อตกลงร่วมกับบริษัทผลิตปุ๋ยแอมโมเนียและยูเรียของอินโดนีเซียในวันที่ 24 เมษายนนี้ ตามโครงการ Account Trade ข้าวแลกปุ๋ยของรัฐบาล มูลค่าไม่เกิน 40

ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้บริษัทฯมีความสามารถในการเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยเคมีได้ หลังจากที่เจ้าหนี้ปฏิเสธปล่อยกู้ซื้อวัตถุดิบก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 24

เมษายนนี้ ผู้บริหารของบริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NFC จะลงนามสัญญาMemor-andum of Agreements (MOA) กับบริษัท Indonesian Trade จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต ปุ๋ยยูเรีย

และแอมโมเนียของอินโดนีเซีย และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จะลงนามสัญญาดังกล่าวกับ BULOG ประเทศอินโดนีเซีย ตามโครงการ การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) โดยมีนายพิทักษ์

อินทร-วิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี และ H.E. Madame Rini Soewandi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ประเทศอินโดนีเซียร่วมเป็นพยาน สัญญาดังกล่าว ทางปุ๋ยแห่ง

ชาติจะซื้อปุ๋ยแอมโมเนีย จำนวน 8 หมื่นเมตริกตัน/ปี ยูเรีย (เม็ดโฟม) ประมาณ 2 แสนเมตริกตัน/ปี และยูเรีย (เม็ดใส) ประมาณ 5 หมื่นเมตริกตัน/ปีซึ่งเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตปุ๋ยเคมี NP/NPK

โดยแลกเปลี่ยนกับข้าวขาวของ อ.ต.ก. คิดเป็นวงเงินไม่เกิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท

โครงการนี้จะช่วยเหลือให้ปุ๋ยแห่งชาติที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องในการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี ภายหลังจาก

เจ้าหนี้สถาบันการเงินปฏิเสธปล่อยสินเชื่อเงินกู้ยืมชั่วคราวในการซื้อวัตถุดิบจำนวน 600-700 ล้านบาท จนทำให้ปุ๋ยแห่งชาติต้อง ลดกำลังการผลิตลง เพื่อพยุงให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ทำให้ปุ๋ยแห่งชาติเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบันที่ผลิตอยู่เพียงเดือนละ 2 หมื่นกว่าตันได้ ขณะเดียวกัน ปุ๋ยแห่งชาติจะชำระเงินค่าปุ๋ยแอมโมเนีย และ ยูเรียทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับรัฐบาลไทยในเวลา

2 ปีนับแต่วันที่ได้รับมอบวัตถุดิบ หรือสินค้าแล้วแต่กรณีผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) นอกจากนี้ หากรัฐบาลของ ผู้ขายยังไม่มีความต้องการข้าวให้จดเป็นบัญชีไว้

และเมื่อมีการสั่งซื้อข้าวจากประเทศไทยแล้วจึงค่อยนำมาหักกลบกัน โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายของรัฐที่ต้องเร่งระบายสต็อกข้าวคงเหลือในโครงการของ รัฐ

โดยกระทรวงพาณิชย์เร่งรัดการส่งออกเพื่อจำหน่ายข้าวแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งมีประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซียอยู่ในเป้าหมายการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ

ได้ให้ความสนใจ จึงได้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นผู้ได้รับผิดชอบในการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจำพวก แอมโมเนีย ยูเรีย จากอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยน

กับข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาล ปัจจุบันปุ๋ยแห่งชาติอยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัดในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน

ทำรายงานเบื้องต้นเสนอมายังบริษัทฯ ภายหลังจากทำการตรวจสอบบัญชีแล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับเจ้าหนี้ คาดว่าแผนปรับโครง

สร้างหนี้ดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในพฤษภาคมศกนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทได้ลดกำลังการผลิตปุ๋ยเคมีลงเหลือเพียง 2 หมื่นกว่าตันต่อเดือน จากเดิมที่เคยตั้งเป้าผลิตปีละ 6.5 แสนตัน

เพื่อประคองตัวจนกว่าจะปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ ซึ่งภายหลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้ว บริษัทจำเป็นต้องหาเม็ดเงินใหม่เข้ามาซื้อวัตถุดิบ เฉลี่ยปีละ 1,200 ล้านบาท

แต่เนื่องจากในปีนี้กว่าจะปรับโครงสร้างหนี้เสร็จใช้เวลาเกือบครึ่งปี ดังนั้นเม็ดเงินที่ใช้จึงลดลงเหลือแค่ 800-900 ล้านบาท โดยเม็ดเงินดังกล่าวจะได้มาจากการหาพันธมิตรร่วมทุน

และการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ สำหรับผลการดำเนินงานของปุ๋ยแห่งชาติในงวดปี 2544 พบว่าบริษัทฯขาดทุนสุทธิ 1,863.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 11%

เนื่องจากดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น อัน เป็น ผลจากการหยุดพักชำระหนี้ของบริษัทนั่น เอง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.