CPF ชี้ Q1/45ยอดขายโต15%


ผู้จัดการรายวัน(18 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" มั่นใจไตรมาสแรกปีนี้ยอดขาย โต 10-15% เนื่องจากตลาดส่งออกขยายตัวขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและราคา โดยเฉพาะเนื้อไก่ส่งออก

ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบจากการตรวจเข้มหาสารตกค้างจากสหภาพยุโรป ลั่นยอดขายทั้งปีคาดว่าเป็นไปตามเป้าหมาย 8.2 หมื่นล้านบาท นายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ยอดขายในไตรมาส 1/2545 เติบโตเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 10-15% เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 15,700

ล้านบาท หรือคิดเป็นยอดขายรวม 17,270-18,055 ล้านบาท คาดว่า ยอดขายทั้งปี 2545 น่าจะอยู่ที่ระดับ 82,000 ล้านบาท สาเหตุที่ยอดขายปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาขายและปริมาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในตลาดส่งออก

โดยเฉพาะเนื้อไก่ขยายตัวทั้งในแง่ปริมาณและราคา ซึ่งในไตรมาสแรกปีนี้ CPF ส่งออก ไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 70-80% จากยอดส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วส่งออกเพียง

60% โดยตลาดสหภาพยุโรปขยายตัวปีละ 30% สำหรับกรณีที่สหภาพยุโรปตรวจพบสารไนโตรฟูแรนต์นั้น CPF ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว เพราะมีการตรวจเข้มงวดก่อนส่งออกไก่และกุ้งอยู่แล้ว

แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร โดย CPF ส่งออกไก่ไปจำหน่ายในสหภาพ ยุโรปประมาณ 35-40% ญี่ปุ่น 40% ที่เหลือส่งออกไปยังเกาหลีและสิงคโปร์ เป็นต้น

ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของ CPF 40% จะมาจากธุรกิจอาหารสัตว์บก สัตว์น้ำ ซึ่งมีความมั่นคงในแง่ของรายได้ โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 60% และ 40% ตามลำดับ ส่วนรายได้ที่เหลือ 35% จะมาจากการขายไก่

ไข่ไก่ หมูในประเทศ ซึ่งกำไรแต่ละตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ทำให้การควบ คุมกำไรไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เฉลี่ยแล้วกำไร ขั้นต้นยังคงไปได้ดี โดยมีส่วนแบ่งการตลาดไก่ 1 ใน 3 ของประเทศ

ส่วนหมู มีส่วนแบ่งการตลาด 20% ส่วนรายได้ที่เหลืออีก 20-25% จะมาจากการส่งออกไก่ และกุ้ง โดยมีอัตราการขยายตัวที่ดี เพราะประเทศมีข้อได้เปรียบทางด้านพื้นฐานวัตถุดิบ แรงงาน และค่าเงิน ซึ่งคาดว่า

ในส่วนนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น เพราะในปีนี้บริษัทได้ขยายการลงทุนโรงงานอาหารสัตว์น้ำในประเทศจีน มูลค่าลงทุน 400-500 ล้านบาท และคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลา 3-5 ปี นอกจากนี้ CPF

ยังได้ลงทุนในธุรกิจไก่ครบวงจร มูลค่าลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการผลิตเนื้อไก่แช่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูป เพื่อการส่งออกประมาณ 105,000 ตันต่อปี สำหรับการลงทุนในต่างประเทศของบริษัท

อาทิ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย อินเดียนั้น ยังมีกำไรเข้ามา ยกเว้นการลงทุนในประเทศสหรัฐ- อเมริกาที่ยังรับรู้ผลขาดทุนอยู่ โดยในปี 2544 มีผลขาดทุนสุทธิ 14.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยคาดว่าจะสามารถลดการขาดทุนได้หมดในปีนี้ ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า สำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ (FSA) แถลงผลการตรวจสอบเนื้อไก่นำเข้าจากไทย และบราซิลพบว่า

มีสารไนโตรฟูแรนต์ปนเปื้อนอยู่ 5 ตัวอย่างใน 45 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นของไทย 3 ตัวอย่าง และบราซิล 2 ตัวอย่าง แต่ปริมาณสารปนเปื้อนยังต่ำมาก และทาง FSA

ไม่ได้แนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการรับประทานแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังมีการพบสารไนโตรฟูแรนต์ ในตัวอย่างของไก่ที่วางขายใน Tesco ของ Belfast แต่ตัวอย่างนี้ยังไม่ทราบว่ามาจากประเทศใด

นับเป็นข่าวจิตวิทยาทางลบต่ออุตสาหกรรม ส่งออกไก่ของไทย โดยเฉพาะ CPF และ GFPT ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี

ผลกระทบต่อการดำเนินงานจะไม่มาก เนื่องจากสาร ปนเปื้อนที่พบมีน้อยมาก และเชื่อว่าทางอังกฤษจะยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าไก่จากไทย เพียงแต่จะตรวจสอบเข้มงวดต่อไปอย่างน้อยถึงมิถุนายนศกนี้

ด้านผู้บริหารของ CPF เชื่อมั่นว่าไก่ที่ส่งออกไปยุโรปและขายใน Tesco จะไม่ใช่ของ CPF แน่นอน เพราะบริษัทใช้ไก่จากฟาร์มของตนเองและ Contract farm ทั้งหมด ซึ่งสามารถควบคุมการใช้สารปฏิชีวนะได้

นอกจากนั้นการส่งออกทุกล็อตที่การตรวจสอบเข้มงวด รายย่อยเสนอยืดอายุวอร์แรนต์ ด้านบรรยากาศการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เมื่อวานนี้ (17 เมษายน) มีผู้ถือหุ้น CPF

ได้เสนอให้บรรจุวาระเพิ่มเติมคือ การขอยืดอายุใบสำคัญสิทธิชุดที่ 1(CPF-W1) ออกไปอีก 2 ปีจากเดิมวอร์แรนต์ดังกล่าว จะหมดอายุเดือนมิถุนายนนี้ โดยให้เหตุผลว่าการยืดอายุ CPF-W1เป็นเวลา 2 ปี

จะช่วยยอดขายของ CPF เพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% ตรงจุดนี้จะส่งผลให้ราคาใช้สิทธิน่าจะดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ถือหุ้นราย อื่นแสดงความไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่าอายุวอร์ แรนต์เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯได้เสนอให้นับคะแนนเสียงว่าสมควรให้มีการยืดอายุ CPF-W1 ออกไป เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม ปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นเห็นด้วยในการยืดอายุวอร์ แรนต์เพียง 1.2 ล้านหุ้น

จึงส่งผลให้ข้อเสนอยืดอายุ CPF-W1 ไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่าย หรือคิดเป็นจำนวนเสียง 1,297 ล้านหุ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.