บัตรนอนแบงก์ส่อเค้าลำบาก หลัง ธปท.เห็นชอบไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำ งานนี้สู้กันเดือด
หลายแบงก์เตรียมตัวออกสินค้าใหม่ชน จับตาอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหากยังให้แบงก์ใช้เหมือนเดิม
คาดลูกค้าไหลมาซบบัตรแบงก์ที่ดอกเบี้ยต่ำ "หม่อมอุ๋ย" แจงต้องการให้แข่งขันกันได้
นักวิเคราะห์รับต้องประเมิน AEONTS ใหม่ หลังจากม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทยได้ลดช่องว่างระหว่างบัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงินและบัตรที่ไม่ได้ออกโดยสถาบันการเงิน
(นอนแบงก์) ด้วยการให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดคุณสมบัติของผู้มีรายได้ในการสมัครบัตรเครดิตเอง
จากเดิมที่กำหนดรายได้ขั้นต่ำไว้ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเริ่มมีความคึกคัก
หลังจากที่บัตรเครดิตของธนาคารถูกคู่แข่งนอกระบบดำเนินธุรกิจที่เหมือนกัน
แต่อยู่ภายใต้มาตรฐานการควบคุมที่แตกต่างกัน อย่างจีอี แคปิตอล ที่มีบัตรเซ็นทรัล
คาร์ด บัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส บัตรเพาเวอร์บาย บัตรเฟิสต์ช้อยส์ บริษัท อิออนธนสินทรัพย์
ประกอบด้วย บัตรเครดิตอิออน
บัตรเครดิตอิออนยัวร์การ์ด บัตรเครดิตแอทอีส บัตรเครดิตจัสโก้ บัตรเครดิต
ตั้งฮั่วเส็ง บัตรเครดิตซึทาญ่า บัตรเครดิตเบลเมซอง บัตรเครดิตอิออน-เอ็กซ์เพรสการ์ด
บัตรเครดิตแม็กซ์ออโต้เอ็กซ์เพรสการ์ด
บัตรเครดิตเดอะมอลล์การ์ด บัตรเครดิตอิออนเจซีบีการ์ด และบัตรเครดิตอิออนมาสเตอร์การ์ด
บัตรเครดิตอีซีบายของบริษัท สยาม เอ แอนด์ ซี จำกัด นั้นยังอยู่ ในระหว่างการเตรียมการ
แต่ได้ให้บริการสินเชื่อบุคคล
บริการสินเชื่อในการเช่าซื้อ มือถือ บริการสินเชื่อเพื่อการบริการ คู่แข่งทั้ง
2 รายแรก ได้สร้าง ฐานลูกค้าในระดับล่างนับล้านใบ โดยผู้ประกอบการทั้ง 2
อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ของกระทรวงพาณิชย์
แตกต่างจากบัตรเครดิตของธนาคาร ที่ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์ของธนาคาร แห่งประเทศไทย
ซึ่งผู้ที่จะถือบัตรเครดิตของธนาคารได้จะต้องมีรายได้ที่ 15,000 บาท ทำให้ผู้ที่มีรายได้
ต่ำต้องหันไปพึ่งสินเชื่อจากผู้ประกอบ การที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยจะเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง
แหล่งข่าวจากวงการบัตรเครดิตกล่าวว่า"นับจากนี้ไปการแข่ง
ขันระหว่างบัตรเครดิตของสถาบันการเงินกับบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะเท่าเทียมกันมากขึ้น
คราวนี้ผู้บริโภคจะมีโอกาสเลือก มากขึ้น" "เดิมลูกค้าของบัตรนอนแบงก์
อาจจะเจอดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม รวมแล้วสูงกว่า 36% ต่อปี ขณะที่ดอกเบี้ยประเภทผิดนัดชำระสูงที่สุดจะอยู่ที่
26.5% เท่านั้น แต่ตอนนี้อาจจะมีทางเลือกที่ดีขึ้น กว่าเดิม" เนื่องจากบัตรเครดิตของสถาบัน
การเงินถูกกำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย
บวกได้อีกไม่เกิน 10% หากทางแบงก์ชาติคงไว้ซึ่งหลักการคิดอัตราดอกเบี้ยตามรูปแบบเดิม
จะส่งผลให้เกิดการไหลของลูกค้าจากบัตรนอนแบงก์หันมาใช้บริการของบัตรเครดิตของธนาคารมากขึ้น
เพราะอัตราดอกเบี้ยจะเสียถูกกว่าเกือบเท่าตัว ขณะนี้ฝ่ายบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์
แต่ละแห่งได้เตรียมปรับกลยุทธ์ในการออกสินค้า ใหม่ เพื่อชนกับบัตรนอนแบงก์แล้ว
แน่นอนว่าเงื่อนไขบางอย่างอาจจะไม่เหมือนกับบัตรเครดิต สำหรับผู้ที่มีรายได้
15,000 บาท วงเงินที่ได้อาจจะลดลง
หรือเงื่อนไข ระยะเวลาในการชำระหนี้อาจจะต้องปรับปรุงกันใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับลูกค้า
ประเมิน AEONTS ใหม่ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า บัตรนอนแบงก์ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
มีเพียงรายเดียวคือ บริษัท อิออนธนสินทรัพย์ จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS
เมื่อสถานการณ์ เป็นอย่างนี้ รายได้ในอนาคตคงจะต้องมีการประมาณการกันใหม่
เนื่องจากความได้เปรียบ
ในเรื่องกฎเกณฑ์เดิมหมดไป คราวนี้จะต้องเริ่มมามองกันที่ต้นทุนในการดำเนิน
บัตรนอนแบงก์ถือได้ว่าเสียเปรียบบัตรของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรนอนแบงก์จะหาเงินเพื่อมาดำเนินธุรกิจด้วยการ
กู้เงิน
นำเงินเข้ามาจากต่างประเทศ ออกหุ้นกู้ หรือเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ส่วนใหญ่แล้วต้นทุนของเงินจะอยู่ที่ประมาณ 4% ขึ้นไป บางแห่งอาจจะอยู่ที่ประมาณ
6%
ขณะที่บัตรเครดิตของธนาคารมีต้นทุนจากเงินฝากของประชาชนอยู่ที่ประมาณ 2%
เมื่อแบงก์สามารถแข่งขันได้ในตลาดเดียว กับบัตรนอนแบงก์ เชื่อว่าความได้เปรียบของบัตรนอนแบงก์จะเริ่มลดลงจากเดิม
"เราคงต้องกลับไปประเมินหุ้น AEONTS อีกครั้ง หลังจากการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ครั้งใหญ่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
แน่นอนว่าผลการดำเนินงานของบริษัทอาจจะไม่เป็นไปตามที่เราคาดไว้เมื่อตอนต้นปี"
แข่งเท่าเทียม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า จากการพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องของการผ่อนปรนเกณฑ์ ของในการทำบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์
ซึ่งจากเดิมธนาคารพาณิชย์ขอลดวงเงินรายได้ของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000
บาท เป็น 10,000 บาทนั้น ทาง ธปท.เห็นว่าสามารถลดหย่อนให้ได้
แต่หากต้องการให้บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์สามารถแข่งขันกับบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
อาทิ บริษัท อิออน บริษัท จีอีแคปปิตอล เฟิร์สช้อย ก็ไม่ควรที่จะกำหนดเพดานวงเงินขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตเลย
"ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการร่างหนังสือเวียน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จและประกาศให้ธนาคารพาณิชย์รับทราบได้ในสัปดาห์หน้า
ซึ่งหลังจากนี้ธนาคารพาณิชย์จะเป็นคนกำหนดเองว่า
ในการทำบัตรเครดิตแต่ละธนาคารจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไร จะมีวงเงินขั้นต่ำ
10,000 บาทหรือต่ำกว่านั้นก็ได้ เพราะบัตรเครดิตของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีวงเงินขั้นต่ำในการทำบัตรเพียงแค่
6,500-7,000
บาทเท่านั้น" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะสามารถที่จะบริหารความเสี่ยงจากการอนุมัติปรับลดในครั้งนี้ได้
เพราะขนาดบัตรอิออน หรือบัตรอื่น ๆ
ยังสามารถที่จะบริหารความเสี่ยงในส่วนนี้ได้ธนาคารก็สามารถที่จะทำได้ เพราะเป็นการปล่อยสินเชื่อรายย่อย
ที่ความเสี่ยงกระจายกลุ่มของลูกค้าไปหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
ยืนยันว่า
ขออย่าเข้าใจผิดว่า การพิจารณาครั้งนี้ทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ธปท.ไม่อาศัยเรื่องนี้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเด็ดขาด
เพราะเห็นว่าเรื่องของบัตรเครดิตถ้าไม่ระวังในการใช้ก็เป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
สร้างหนี้เพิ่มได้ ซึ่งผิดจากอุดมการณ์ในการทำงานของตนสาเหตุสำคัญที่ยกเลิกเพดานขั้นต่ำนั้นเพราะต้องการให้มีการแข่งขันกันได้อย่างเสรีมากกว่า
นายธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า เชื่อว่าการยกเลิกเพดานนั้น
ไม่ได้หมายความว่า คนที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีเงินเดือนต่ำจะทำบัตรเครดิตได้ทุกคน
เพราะธนาคารจะสามารถกำหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
เช่นวงเงินขั้นต่ำอาจจะอยู่ในระดับเดียวกับบัตรอื่น เช่น 7,500 บาท แต่อาจจะกำหนดความมั่นคงของบริษัทแทนก็ได้
ซึ่งทำให้ ความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์น้อยลง