แบงก์หน้ามืดไม่กลัวNPL จี้ธปท.เลิกคุมบัตรเครดิต


ผู้จัดการรายวัน(9 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์พาณิชย์ไม่หวั่นหนี้ NPL หนุนธปท.เลิกคุมเพดานบัตรเครดิต หาช่องทางขยายสินเชื่อรายย่อย คาดเพิ่มฐานลูกค้าได้ อย่างต่ำ 2.7 ล้านบัตร เสนอควรขั้นต่ำควรกำหนดที่ 5-7 พันบาท ระบุลด

วงเงินไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะวินัยทางการเงินไม่ได้วัดที่รายได้ แต่ถือเป็นการช่วยผู้มีรายได้น้อยไม่ต้อง ไปกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารด้วย "โฆสิต" รับปีนี้แบงก์แข่งเดือด

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์กล่าวถึงการผ่อนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สามารถทำบัตรเครดิตของสถาบันการ เงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดรายได้ขั้นต่ำเหลือ 1 หมื่นบาทจากเดิม

1.5 หมื่นบาทว่าทางที่ดี ธปท.ไม่ควรกำหนดเพดานรายได้ขั้นต่ำเลย เพราะนอกจาก จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบสามารถขยายฐานลูกค้าไม่ต่ำกว่า 2.7 ล้านบัตร

ทั้งนี้ยังช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บริการทางการเงินเช่นสินเชื่อส่วนบุคคลหรือบัตรเครดิตแทนการกู้ยืมเงิน นอกระบบที่คิดอัตราดอก เบี้ยสูงและยังมีความเสี่ยงต่อการประทุษร้ายหากผิดนัดชำระหนี้

รวมถึงจะทำให้ธปท.สามารถเข้าไปควบคุม ดูแลผู้ถือบัตรได้อย่างทั่วถึง เพราะไม่ต้องไปกู้เงินผ่านสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non bank) "การพิจารณาผ่อนเกณฑ์คุณ-สมบัติรายได้ผู้ขอทำบัตรเครดิตเหลือ 1

หมื่นบาทถือเป็นสิ่งที่ดีแต่หากต้อง การช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและเศรษฐกิจ โดยรวม ธปท.น่าจะยกเลิกเพดานรายได้และการกำหนดเพดานขั้นต่ำไปเลย

ซึ่งนอกจากจะช่วยให้แบงก์สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นยังช่วยผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องไปกู้เงินนอก ระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงและเสี่ยงต่อการโดนอุ้มหากผิดนัดชำระหนี้" อย่างไรก็ตาม การที่ลดคุณสมบัติ

ผู้มีรายได้เหลือต่ำกว่า 1 หมื่นบาทธนาคารไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะวินัยทางการเงินไม่ได้วัดกันที่รายได้ เนื่องจากช่วงวิกฤติที่ผ่านมาการเป็นหนี้เสีย (NPL) มาจากผู้มีรายได้มากจำนวนมากกว่าผู้มีรายได้น้อย

และธนาคารก็มีระบบป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้ว เมื่อลดเกณฑ์รายได้การขอทำบัตรลงธนาคารก็จะลดวงเงินขั้นต่ำซึ่งเชื่อว่าแต่ละธนาคารจะกำหนดวงเงินขั้นต่ำไว้ประมาณ 5-7

พันบาทเพราะถือเป็นระดับที่เหมาะสม นายกฤป โรจนเสถียร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่าหาก ธปท.ยกเลิกการกำหนดวงเงินขั้นต่ำจะส่งผลดีโดยรวมต่อลูกค้าที่มีรายได้ไม่มาก

สามารถใช้บริการทางการเงินกับธนาคารและช่วย ขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แต่ในด้านความเสี่ยงคงมีไม่มากนัก เพราะธนาคารจะเป็นผู้คัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพและมีวินัยการเงินอยู่แล้ว

สำหรับฐานลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารปัจจัยมีเกือบ 4 แสนใบและลูกค้ามีการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ย 7-8 หมื่นบาทต่อคนต่อปี โดยปัจจุบัน ธนาคารมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2

และธนาคารจะพยายามรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ นายธนชัย ธนชัยอารีย์ หัวหน้าสายงานสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารยูโอบี รัตนสิน (UOBR) กล่าวว่าการยกเลิก เพดานการกำหนดวงเงินขั้นต่ำผู้ขอทำบัตรถือเป็นสิ่งที่ดี

เพราะจะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ และธนาคารมองว่าเมื่อลดเกณฑ์รายได้จะไม่ทำให้เป็นหนี้เสีย เพราะผู้มีรายได้น้อยไม่ได้หมายถึงผู้ที่ไม่มีวินัยทางการเงิน

โดยธนาคารกำหนดมาตรฐานรายได้การขอมีบัตรไว้ประมาณ 7 พันบาทขึ้นไป โฆสิตรับแบงก์แข่งเดือดทำกำไร นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่า

กำไรสุทธิของธนาคารปีนี้คาดว่าจะใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 6.48 พันล้านบาท ภายใต้ข้อสมมุติฐานว่า ธนาคารจะมีการขยายสินเชื่อปีนี้ 2% และเศรษฐกิจของประเทศโต 2% นายโฆสิตกล่าวว่า

ธนาคารพาณิชย์ควรตั้งเป้า หมายการขยายสินเชื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในแง่ธนาคารกรุงเทพได้ทำประมาณ การการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะโต 2% อย่างไรก็ตาม นายโฆสิตกล่าวว่า

การแข่งขันในธุรกิจการธนาคารที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกดดันที่สำคัญ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารในปีนี้

"เรายังมองว่าการแข่งขันยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันในเรื่องการทำกำไร ส่วนในเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการเพิ่มของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)

นั้นขณะนี้เรายังไม่เห็นสัญญาณที่เป็นนัยสำคัญว่าจะมีปัญหาจนเป็นภาระให้แบงก์มีกำไรต่ำกว่าปีก่อน"

นายโฆสิตกล่าวว่าในขณะนี้ธนาคารยังไม่มีแผนหรือโครงการที่จะลดขนาดจำนวนพนักงานเพื่อจะลดต้นทุน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ดำเนินการไปพอสมควรแล้ว

สำหรับกรณีที่มีการรวมกิจการธนาคารระหว่าง ธนาคารศรีนครและนครหลวงไทยจะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารอื่น ต้องมีการรวมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรือไม่นั้นนายโฆสิตกล่าวว่า

ขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้ถือหุ้นใหญ่ของแต่ละธนาคาร ว่าขนาดของธนาคารมีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อธนาคารหรือไม่ แต่สำหรับตนเองนั้นไม่เชื่อว่าขนาดที่ใหญ่จะมีความสำคัญและประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งในแง่ของธนาคารกรุงเทพเองนั้นคงขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นหลัก



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.