ตลาดน้ำผลไม้ส่อแววแข่งเดือด หลังพบอัตราการขยายตัวสูง ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติ-กรรมจากดื่มน้ำอัดลม
ผู้ประกอบการ รายใหม่เล็งเข้าตลาดเพิ่ม 3 ราย รวมทั้งยักษ์ใหญ่ "โค้ก"
ที่เตรียมลงตลาดระดับล่างเจาะกลุ่มเด็กและวัย รุ่น ส่วน "เป๊ปซ"
รอเวลาส่ง "ทรอปิคาน่า" ลงตลาด "ทิปโก้" มั่นใจยัง เป็นผู้นำตลาดพรีเมี่ยม
และตลาดระดับกลาง หลังเปิดตัว"ทิปโก้ คูล" ขึ้นแชมป์แทน "มาลี"
วอนรัฐฯ หามาตรการช่วยเหลือด้านภาษีนำเข้าวัตถุดิบ พร้อมรณรงค์ประชาชน ดื่มน้ำผลไม้
นายวิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจอาหารทิปโก้ เปิดเผยว่าในช่วง
1-2
ปีที่ผ่านมาเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม น้ำแร่
น้ำชา นมถั่วเหลือง และน้ำผลไม้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมากทุกกลุ่ม
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบในแง่ของปริมาณแล้วน้ำดื่มจะมีอัตราการขยายตัวที่สูงสุด
สำหรับตลาดเครื่อง ดื่มที่มีอัตราการขยายตัวลดลง จากการรายงานข้อมูลของเอ.ซี
นีลเส็น คือน้ำอัดลมที่มีการขยายตัวอยู่ในอัตราติดลบ
สำหรับตลาดรวมน้ำผลไม้ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ในปีที่ผ่านมา
ส่วนหนึ่งมาจากการประชาชนมีการบริโภคมากขึ้น
และมีผู้ประกอบการในตลาดได้ขยายไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดน้ำผลไม้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน
มาก มีทั้งผู้ประกอบการรายเดิมที่ขยายไลน์สินค้าประเภทใหม่ และการออกสินค้าไฟท์ติ้งแบรนด์อย่าง
ใหม่ คือ "ชบา"
ของมาลี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจน้ำผลไม้เพิ่มขึ้น
3 ราย 2 รายเป็นผู้ประกอบการในประเทศที่ขยายไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดน้ำผลไม้
ส่วนอีกรายเป็นบริษัทมัลติ
อินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์รายใหญ่ของโลก คือ โคคา-โคล่า ที่เตรียมจะเปิดตัวน้ำผลไม้เข้าสู่ตลาดประเทศไทยอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลัง
ทั้งนี้การเข้ามาทำตลาดน้ำผลไม้ของโค้ก
น่าจะเข้ามาในตลาดอีโคโนมี คือน้ำผลไม้ผสม 10% เน้นจับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
แม้ว่าตลาดน้ำผลไม้กลุ่มอีโคโนมี จะมีผู้ประกอบ การอยู่ในตลาดหลายราย แต่เป็นตลาดที่ไม่มีผู้นำเด่นชัด
และผู้ประกอบการทั้งหมดก็เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นทั้งสิ้น ทั้งนี้ จากการแถลงผลประกอบการและนโยบายการทำตลาดปี
2545 ของบริษัทเสริมสุขในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้มอบนโยบายให้แก่บริษัทผู้บรรจุขวดของเป๊ปซี่ทั่วโลกว่า
ต้องการจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจร
คาดว่าเป๊ปซี่เองกำลังอยู่ระหว่างวางแผนงานที่จะนำเครื่องดื่มน้ำผลไม้แบรนด์
"ทรอปิคาน่า" เข้าไปทำตลาดในหลายประเทศ ซึ่งก็น่าจะรวมถึงประเทศไทยได้เช่นกัน
นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่า จากการเข้ามารุกตลาด
น้ำผลไม้ของผู้ประกอบการรายเก่า และรายใหม่ จะส่งผลให้ตลาดดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็อยู่ในภาวะการแข่งขันรุนแรงเช่นกัน สำหรับทิปโก้ปัจจุบันถือเป็นผู้นำตลาดน้ำผลไม้พรี
เมี่ยม 100% ครองส่วนแบ่งการตลาด 35% ส่วนตลาด น้ำผลไม้ผสม 25-40% ทิปโก้
คูล ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสม 40% ของบริษัทที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมาขณะนี้มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ
30% อย่างไรก็ตาม
ในปีนี้บริษัทได้ตั้งเป้าอัตราการ เติบโตเพิ่มขึ้น 35% โดยได้เพิ่มรสชาติของน้ำผลไม้ใหม่อีก
3 รสชาติ จากเดิมที่มี 5 รสชาติ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ ทิปโก้
คูลขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ระดับกลางได้ในปีนี้ด้วยส่วนแบ่งการตลาดประมาณ
40% ซึ่งเป็นการแซงหน้าผู้นำตลาดอย่างมาลีขึ้นมา ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากกลุ่มน้ำผลไม้
ประมาณ 650 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้ได้ตั้งเป้าอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 35% หรือคิดเป็นรายได้
870 ล้านบาท ส่วนภาพรวมของน้ำผลไม้ในปีที่ผ่านมามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น
20% มีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้คาดว่าตลาดรวมจะเติบโตประมาณ 25-30% คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท
นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่าสำหรับตลาดน้ำผลไม้ใน ตลาดอีโคโนมี หรือตลาดล่าง ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้ในสัดส่วนต่ำกว่า
25%
ถือเป็นตลาดที่มีมาตรฐานและคุณภาพในการผลิตต่ำ ซึ่งผู้บริโภคอาจจะได้รับความโทษหากบริโภคน้ำผลไม้ประเภทดังกล่าวเข้าไป
ในส่วนนี้บริษัทต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยกำหนดมาตรฐานการผลิตในแต่ละผู้ประกอบ
การให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ 1. การขออนุญาตผลิตน้ำผลไม้จากคณะกรรมการอาหารและยา
(อ.ย.)
ที่ปัจจุบันการขออนุญาตผลิตในแต่ละเขตตามที่ตั้งของโรงงานยังมีมาตรฐานแตกต่างกัน
ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ประกอบการ ขึ้น เพราะในผู้ประกอบการบางรายจะใช้ส่วนผสมเข้มข้น
(Concentrate) มาผสมในน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ต่ำกว่าการใช้ผลไม้ผสมสดเป็นส่วนผสม
และถือว่ามีต้นทุนต่ำกว่า
ในส่วนดังกล่าวหากผู้ประกอบการใช้ส่วนผสมเข้มข้นเป็นส่วนผสมก็ควรจะให้มีการระบุไว้ที่ฉลากของกล่อง
2.ภาครัฐควรมีความเข้มงวดในการกำหนดมาตรฐานการผลิตสินค้าของบริโภค
โดยเฉพาะเรื่องของส่วนผสมที่ควรระบุไว้ที่ฉลากของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบและมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
3.รัฐควรทบทวนภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลไม้สดที่จะมาใช้เป็นส่วนผสมของการผลิตน้ำไม้ใหม่
เพราะปัจจุบันเสียภาษีในอัตรา 30% ในขณะที่วัตุดิบประเภทกาแฟจะเสียภาษีเพียง
10% เท่านั้น
ทั้งที่น้ำผลไม้ถือเป็นเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า หากรัฐยังเก็บภาษีในอัตราดังกล่าวอยู่ก็เชื่อว่าหลังเกิด
WTO
แล้วผู้ประกอบการในประเทศไทยน่าจะเสียเปรียบสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
4.
รัฐควรมีการรณรงค์ให้ให้ประชาชนในประเทศไทยหันมาดื่มน้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มหลักอีกประเภทหนึ่ง
เช่นเดียวกับการรณรงค์ให้ประชาชนดื่มนม
หากรัฐบาลสามารถออกมาตรการเพื่อมาสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ได้ ก็เชื่อว่าทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน
คือในส่วนของเกษตรกร ที่ปลูกผลไม้ก็สามารถขายพืชผลทางการเกษตรได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตต่ำลง หากสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศได้มากขึ้น
และวัตถุดิบนำเข้าที่มีอัตราภาษีต่ำลง ก็จะทำให้ราคาขายปลีกมีราคาถูกลงตามไปด้วย
ผู้บริโภคก็จะได้ดื่มน้ำผลไม้ที่มีราคาถูกลง
เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ปัจจุบันน้ำผลไม้จะจำหน่ายในราคาเฉลี่ยลิตรละ
65 บาท แต่หากรัฐออกมาตรการต่างๆเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้ราคาจำหน่ายน่าจะลดลงมาได้เหลือลิตรละ
50 บาท
นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่าปัจจุบันต้นทุนการผลิตน้ำผลไม้จะอยู่ที่วัตถุดิบผลไม้
40% บรรจุภัณฑ์ 30%ที่เหลือจะมาจาก เครื่องจักร ค่าจ้างแรงงาน และค่าการตลาด
โดยค่าการตลาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่านำสินค้าเข้าไปวางในช่องทางการขายต่างๆ
(Entrance Fee) จากเดิมที่มีสัดส่วน 20% ของต้นทุนค่าการตลาด ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น
35-40%