นครหลวงไทยใหม่ราบรื่น เดินหน้าแข่งแบงก์เอกชน


ผู้จัดการรายวัน(2 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" เผยแผนธนาคารนครหลวงไทยใหม่ ขอเพิ่ม สินทรัพย์ดีผ่านการซื้อหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกับเอเอ็มซีเพชรบุรี 90,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสินเชื่อ

แสนล้านและรองรับการไถ่ถอนเอเอ็มซีโน้ตของกองทุนฟื้นฟูเชื่อศักยภาพ แข่งแบงก์เอกชนขนาดใหญ่พร้อมสนับสนุนธนาคารกรุงไทย หม่อมอุ๋ยเสียงดัง

มอบหมายนโยบายขายแบงก์ในอนาคตต้องเฉพาะกลุ่มคนไทยเท่านั้นที่มีสิทธิ์ "สมคิด" ยันรวมกิจการ เพื่อความแข็งแกร่ง และวานนี้แบงก์ยังแจ้งตลาดหลักทรัพย์

เกี่ยวกับการเพิ่มทุนหมื่นล้านโดยการซื้อสินทรัพย์จากศรีนคร ในขณะกระแสตอบรับวันแรกลูกค้ามั่นใจไม่มีตื่นถอนเงิน

ผ่าแผนธนาคารนครหลวงไทยหลังควบรวม กิจการ "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" ตั้งเป้าเพิ่มสินทรัพย์ดีผ่านการ ซื้อหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วใน "บสท.-เอเอ็มซีเพชรบุรี" ประมาณ 80,000-90,000 ล้านบาท

หวังเป็นทางลัดดันสินเชื่อ เพิ่มแสนล้าน รองรับการไถ่ถอนเอเอ็มซีโน้ตของกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูเฉลี่ย 20% ต่อปี ลั่นแข่งแบงก์เอกชนขนาดใหญ่แต่หนุนกรุงไทย

เผยหากจะขายนครหลวงไทยในอนาคตหม่อมอุ๋ยให้นโยบายขายเฉพาะกลุ่มคนไทย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน)(SCIB) หรือแบงก์ชฎา เปิดเผยว่า

กระบวนการควบรวมกิจการ ระหว่างธนาคารกับธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) (BMB) จะเสร็จภายในสิ้นปี 2545

โดยระยะแรกลูกค้าที่ทำธุรกรรมกับธนาคารศรีนครยังคงดำเนินธุรกรรมตามปกติ หลังจากนั้นจะมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกัน โดยจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน 6 เดือนนี้

"ลูกค้าเงินฝากของธนาคารศรีนครนั้นเมื่อครบ กำหนดจะได้รับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารศรีนคร ส่วนลูกค้าเงินกู้ของธนาคารศรีนครที่กู้ในอัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี (MOR)จะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยลง

0.25% โดยใช้ฐานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารนครหลวงไทย" สำหรับแผนการดำเนินงานภายหลังการควบกิจการ ธนาคารจำเป็นต้องขยายสินเชื่อให้ได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 20% เฉลี่ย 5

ปีเพราะตั๋วเงิน (เอเอ็มซีโน้ต) ที่ธนาคารนครหลวงไทยได้รับจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จำนวน 3 แสนล้านบาทจะครบกำหนดไถ่ถอนในงวดแรกกลางปี 2545 ประมาณ 20%

และขยายออกไปจนครบเวลา 5 ปี "ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ธนาคารจะขยายสินเชื่อได้มาก ในภาวะขณะนี้นั่นหมายถึงธนาคารจะต้องทำสินเชื่อให้ได้ประมาณเกือบสองแสนล้านบาทภายในระยะ 5 ปี

เพื่อรองรับกับสินทรัพย์ที่จะลดลงจากการไถ่ถอน ตั๋วเอเอ็มซีโน้ตแต่ตรงกันข้ามธนาคารจะมีสภาพคล่อง เข้ามาจากการไถ่ถอนซึ่งจะนำไปลงทุนในด้านอื่นๆได้" นายอภิศักดิ์ กล่าว ผ่าแผนสินเชื่อแสนล้านบาท

ซื้อหนี้บสท.-เอเอ็มซีเพชรบุรี สำหรับหนทางที่จะทำให้ธนาคารมีสินเชื่อที่เพิ่ม ขึ้นเพื่อรองรับกับสินทรัพย์ของธนาคารและภาระต้น ทุนเงินฝากที่มีจำนวนมากนั้นนายอภิศักดิ์กล่าวอย่าง ชัดเจนว่า

ใช้วิธีการเข้าไปรีไฟแนนซ์หนี้จากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และบริษัทบริหารสิน ทรัพย์(เอเอ็มซี) เพชรบุรี (PAM) ซึ่งมีลูกหนี้ของธนาคารโอนไปก่อนหน้านี้

โดยในเบื้องต้นธนาคารมีแผนที่จะซื้อหนี้มาเพิ่ม เป็นสินเชื่อดีให้กับธนาคารประมาณ 80,000-90,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้วิธีคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (P/V) ของลูกหนี้แต่ละรายตามกระบวนการปรับโครง

สร้างหนี้ที่ได้มีกำหนดกันไว้ "การคำนวณวิธีนี้ ไม่เป็นปัญหากับใคร ขณะเดียวกันยังช่วยลดความเสี่ยงโครงสร้างในอนาคตให้ กับบสท.เอเอ็มซีเพชรบุรี รวมถึงกองทุนเพื่อการฟื้น

ฟูฯที่อาจไม่ได้รับความเสี่ยงซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้การทำงานของบสท. และเอเอ็มซีจบเร็วขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารจะได้รับสินทรัพย์ดีเพิ่มขึ้นตาม มาด้วย

ส่วนการบริหารความเสี่ยงก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของธนาคารแล้วว่าจะทำได้ดีแค่ไหนซึ่ง วิธีของธนาคารอาจจะแตกต่างกับธนาคารรัฐแห่งอื่นก็ได้" นายอภิศักดิ์ กล่าวและว่า นครหลวงไทยมีสิน

ทรัพย์ดีอยู่ประมาณ 76,000 ล้านบาท แต่มีเงินฝากอยู่ถึง 240,000 ล้านบาท ดังนั้นแม้ว่าจะได้ตั๋วสัญญาใช้เงินของ PAM จากกองทุนฟื้นฟู เพื่อซื้อหนี้ 150,000 ล้านบาท ที่จะให้ให้สินทรัพย์ของแบงก์เพิ่ม ขึ้นเป็น

240,000 ล้านบาท แต่ต้องเข้าใจว่าตั๋วที่กอง ทุนฟื้นฟูให้มานั้นเป็นการช่วยเหลือและจะเอากลับไป ปีละ 20% เท่ากับว่า สินทรัพย์ของธนาคารจะหดลงปีละไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ล้านบาทต่อปี

เมื่อพิจารณาในส่วนของสินทรัพย์ของนครหลวงไทยหลังควบกิจการกับศรีนครจะมีสิน ทรัพย์ทั้งสิ้น 4.9 แสนล้านบาท เป็นเงินฝากถึง 4.3 แสนล้านบาท แต่มีสินเชื่อเพียง 1.2 แสนล้านบาท ซื้อสินทรัพย์ศรีนคร

เพิ่มทุนหมื่นล้านขาย FIDF ธนาคารนครหลวงไทย แจ้งต่อตลาดหลัก ทรัพย์ว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการธนาคารมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของธนาคารจากเดิม10,564 ล้านบาทหรือ 1,056 ล้านหุ้น

รวมเป็นทุน จดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 21,128 ล้านบาท โดยธนาคารจะจัดขายหุ้นจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายตามสัดส่วน 1 หุ้นเดิม มีสิทธิจองซื้อหุ้น ใหม่ 1 หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 10 บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น 10,564 ล้านบาท กำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการจองซื้อหุ้นในวันที่ 12 เมษายน 2545 และกำหนด วันจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2545 นายอภิศักดิ์

กล่าวเสริมว่า การเพิ่มทุนในครั้งนี้ก็นำเงินเพิ่มทุนไปซื้อสินทรัพย์จากธนาคารศรีนคร โดยการเพิ่มทุนจำนวน 10,560 ล้านบาทจะซื้อสินทรัพย์ของธนาคารศรีนครประมาณ 9,888 ล้านบาท

หลังจากนั้นทางธนาคารศรีนครเดิมจะลดทุน เพื่อชำระคืนกับผู้ถือหุ้นคือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ "การเพิ่มทุนครั้งนี้นอกจากเป็นไปตามกระบวนการควบรวมแล้วทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

ไม่ต้องใช้เงินแต่ผลที่ดีขึ้นคือธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าต่อรายลูกค้าได้เพิ่มขึ้นคือสูงสุดไม่เกิน25% ของเงินกองทุนจดทะเบียนใหม่ 28,560 ล้านบาท" นอกจากนี้

จะรายงานการรวมกิจการระหว่างธนาคารกับธนาคารศรีนครให้แก่ผู้ถือหุ้นรับทราบใน วันประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2545 ในวันที่ 29 เมษายน 2545 คณะกรรมการจะเสนอให้ผู้ถือหุ้น

พิจารณาให้สัตยาบันและอนุมัติให้โอนขายลูกหนี้ด้อย คุณภาพให้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรีเพิ่มเติม เป็นครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2545 ใช้ยอดหนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2545 จากครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม2544 ลูกหนี้รวม 449 ราย ใช้ยอดหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 รวม 7,685,467,578.76 บาท สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการและราคาขายหนี้ด้อยคุณภาพกำหนดให้ราคาขายหนี้ด้อยคุณภาพเท่า

กับราคาหนี้ด้อยคุณภาพตามบัญชี ซึ่งได้แก่ เงินต้นและดอกเบี้ยที่รับรู้เป็นรายได้แล้วและค่าใช้จ่ายที่ ธนาคารฯ จ่ายสำรองแทนลูกหนี้ไปก่อน หักด้วยเงิน สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้รายนั้นที่มีอยู่ ณ

วันที่ 30 มิถุนายน 2544 ต้นทุนพนักงานต่ำกว่าระบบ สู้แบงก์เอกชน-หนุนกรุงไทย นายอภิศักดิ์กล่าวถึงผลจากการควบรวมทำ ให้ต้นทุนของพนักงานต่อคนลดลงเมื่อเทียบกับต้นทุนของทั้งระบบ

กล่าวคือปัจจุบันต้นทุนค่าใช้จ่าย พนักงานทั้งระบบเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายพนักงานของธนาคารหลังควบรวมจะเฉลี่ยอยู่ที่ 22,000 บาทต่อคนต่อเดือน

"เป้าหมายจากนี้ไปธนาคารจะแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และจะรักษาอันดับ 1 ใน 5 ของระบบต่อไป เพราะคู่แข่งขันของธนาคารไม่ใช่ธนาคารขนาดเล็กแต่เป็น 5

แบงก์ใหญ่โดยเฉพาะต้นทุนของธนาคารที่ต่ำลงสามารถแข่งขันได้แน่นอน แต่สำหรับธนาคารกรุงไทยธนาคารจะสนับสนุนในการ ทำธุรกิจซึ่งไม่ใช่คู่แข่งขันทางธุรกิจอย่างชัดเจน

เพราะว่ากรุงไทยเป็นธนาคารของรัฐซึ่งจะมุ่งลูกค้ารัฐวิสาหกิจและลูกค้ารายย่อยบ้างส่วนธนาคารลูกค้า ทั้งสองแห่งรวมกันจะเป็นกลุ่มรายย่อยค่อนข้างมาก" นายอภิศักดิ์กล่าว อย่างไรก็ตาม

ทิศทางของผลประกอบการของ ธนาคารหลังควบรวมจะเป็นแบบก้าวกระโดดและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเช่นช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทั้งสองธนาคารมีผลประกอบการกำไร โดยธนาคารนครหลวงไทยมีกำไร 1,200

ล้านบาท ธนาคารศรีนคร กำไร 340 ล้านบาท "เชื่อว่าไตรมาสของปีนี้ก็น่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น โดยจะใช้งบของธนาคารนครหลวงไทยเป็นเกณฑ์และหมายเหตุใต้งบการเงินว่าของธนาคารศรีนครกำไรเท่าไหร่"

เลื่อนแผนแปรรูปรอควบ หม่อมอุ๋ยลั่นขายคนไทย นายอภิศักดิ์กล่าวว่า การแปรรูปของธนาคารนครหลวงไทยอาจเลื่อนไปเป็นปี 2546 เนื่องจาก กระบวนการควบกิจการระหว่าง 2

ธนาคารคาดว่าจะเสร็จและสมบูรณ์ต้องใช้เวลา 1 ปีและมีความเป็น ไปได้ว่าการแปรรูปจะเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยมากกว่าที่จะขายให้กับต่างประเทศ "ผู้ว่าแบงก์ชาติ (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) มี

นโยบายชัดเจนที่จะขายให้กับคนไทยมากกว่าที่จะขาย ให้กับต่างประเทศ ไม่เช่นนั้นก่อนการควบรวมคงขาย ธนาคารทั้งสองไปแล้ว และการควบกิจการครั้งนี้ส่งผลให้การดำเนินงานมีแนวโน้มดีขึ้น

ราคาหุ้นที่จะขาย ก็น่าจะดีกว่าการแบ่งเป็น 2 แบงก์แล้วแปรรูป อย่าลืมว่าทั้งสองธนาคารมีสินทรัพย์ดีหลังจากที่ได้โอนหนี้ ไปยังเอเอ็มซีเพชรบุรี ซึ่งต่างจากการควบรวมในอดีต

ที่จะนำสินทรัพย์ที่มีปัญหามาควบรวมกันทำให้เกิดปัญหา และใช้เวลาในการแก้ไขที่นาน ซึ่งการควบรวมครั้งนี้ค่อนข้างเร็วทำให้ธนาคารสามารถขยายตัวได้เร็วขึ้น" นายอภิศักดิ์กล่าว สมคิดยันควบเพื่อแข็ง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การควบรวมกิจการของธนาคารศรีนครและธนาครหลวง ไทย เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการที่จะปรับโครงสร้าง

ภาคธุรกิจให้มีความเข้มแข็งโดยเฉพาะในส่วนของสถาบันการเงิน "ทั้ง 2

แห่งเป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กการควบรวมกัน ถือเป็นแนวทางในการสร้างความเแข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินขนาด ใหญ่ได้เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในอนาคต" นายสมคิดกล่าวและว่า

การควบรวมกันจะไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงานและผู้ฝากเงิน แต่จะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารต่ำลง โดยขั้นตอนต่อไปที่จะดำเนินการ คือ การรวมบัญชี

การรวมระบบคอมพิวเตอร์ และการวางยุทธศาสตร์การดำเนินงานในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธนาคารเพราะจะทำให้ผู้ฝากเงินมีความมั่นใจมากขึ้น

สำหรับแนวนโยบายของรัฐบาลในการถือหุ้นสถาบันการเงินนั้นรัฐบาลยังคงยืนยันที่จะเป็นผู้ถือหุ้น

ใหญ่ในช่วงแรกแต่จะลดสัดส่วนลงเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่ามีความเหมาะสมในการกระจายหุ้นออกไปอย่างไร ส่วนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

ถือเป็นผู้ที่สนใจจะลงทุนในสถาบันการเงินรายหนึ่งซึ่งในอนาคตก็จะต้องมีการเจรจาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ต่อไป วันแรกลูกค้ามั่นใจแผน ธปท.รอลุ้นอีกหนึ่งวัน ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงเช้าวานนี้

ที่ธนาคารศรีนคร หลังเปิดทำการเวลา 08.30 น. ปรากฏว่า การทำธุรกรรมของลูกค้าทั้งในส่วนของเงิน ฝากและสินเชื่อยังคงเป็นไปตามปกติ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังมีมติ

ให้ธนาคารศรีนครควบกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ซึ่งมีผลตั้งแต่วานนี้ (1 เม.ย.) นายถนอม ณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารศรีนคร เปิดเผยว่า

ขอให้ผู้ฝากเงินหรือผู้ที่จะเข้ามาขอรับสินเชื่อธนาคารอย่าได้ตื่นตระหนก เพราะการรวมกันระหว่าง 2 ธนาคารจะส่งผลดีต่อการ ดำเนินธุรกิจในอนาคตและธนาคารก็ได้เตรียมสภาพ

คล่องไว้รองรับการทำธุรกรรมตามปกติแล้ว "เช้านี้ผมได้เช็กข้อมูลพบว่า การทำธุรกรรมของ ลูกค้าสินเชื่อและเงินฝากยังเป็นไปตามปกติ โดยในส่วนของธนาคารได้เตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการ

ทำธุรกรรมของลูกค้าเรียบร้อยแล้ว" สำหรับลูกค้าที่จะเข้ามาขอรับสินเชื่อหรือฝากถอนเงินตามปกติก็สามารถดำเนินการได้ ส่วนลูกค้าที่ทำธุรกรรมกับต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ตามปกติเช่นกัน นายสรสิทธิ์

สุนทรเกศ ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจ สอบ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การเบิกถอนเงิน ของลูกค้าธนาคารศรีนครในช่วงครึ่งวันของวานนี้

หลังทางการประกาศควบรวมธนาคารศรีนครเข้ากับธนาคารนครหลวงไทยว่ายังเป็นสถานการณ์ปกติ โดย ลูกค้ายังเข้ามาทำธุรกรรมอย่างต่อเนื่องและไม่มีการแห่ถอนเงินฝากแต่อย่างใด

"ช่วงเช้าที่ผ่านมาสถานการณ์การทำธุรกรรมของลูกค้าธนาคารศรีนครยังเป็นไปอย่างปกติและที่น่าดีใจคือ ในภาคเหนือมีการฝากสุทธิเพิ่มขึ้น 8-9 ล้านบาทจากลูกค้า 130 ราย ส่วนภาคอีสานมีการถอน สุทธิ 50

ล้านบาท แต่โดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนแบงก์อื่นก็ไม่มีอะไรผิดปกติ" สำหรับศูนย์ฮอตไลน์ของธปท.มีประชาชนเข้ามาสอบถามน้อยมากเพียง 60 ราย

ส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากเงินที่เข้ามาสอบถามถึงแนวทางปฏิบัติด้านการเปลี่ยนแปลงสมุดบัญชีเงินฝาก รวมถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าจะได้รับ

นอกจากนี้ยังมีพนักงานที่เข้ามาสอบถามถึงความชัดเจนในสถานภาพและเจ้าหนี้ รวมถึงผู้ถือหุ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท.จะต้องติดตามสถานการณ์ อีก 1 วันถ้าไม่มีอะไรผิดปกติก็ไม่น่าเป็นห่วง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.