เมื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพข้าราชการแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียถอนตัวจากตลาดเอเชีย
เป็นไปได้ที่นักลงทุนยักษ์ใหญ่ค่ายอื่นๆ จะล่าถอยตามไปด้วย?
บนเส้นทางการทำงาน Hugh Young ที่คุ้นเคยกับความผันผวนตลอดเวลา ในฐานะผู้ดูแลกองทุน
Aberdeen Asset Management ซึ่งมีเม็ดเงิน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการลงทุนตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอ่อนแรงและมืดมน
ตลาดหุ้นเงียบเหงานับตั้งแต่เเกิดวิกฤติ ตามมาด้วยค่าเงินไร้เสถียรภาพ ตลาดทุนปิดและนักลงทุนต่างประเทศเปิดหนี
แต่ Young และกองทุนยังเกาะติดสถานการณ์ ปัจจุบันลงทุนไปประมาณ 15% ในภูมิภาคแห่งนี้
ต้นปีที่ผ่านมาเขาได้รับผลตอบ แทนที่ดีจากบางบริษัทในตลาดและรวมถึงผู้เล่นคนอื่นๆ
ที่กลับมาประทับใจกับสินค้าราคาถูก โดยเฉพาะตลาดไทย ฟิลิป ปินส์ มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย
"การลงทุนไร้อุปสรรค นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างก่อนที่จะกลับเข้ามา"
Young เล่า "พวกเรามีความรู้สึกที่ดีที่เห็นตลาดวิ่งไปข้างหน้า"
แต่ขอแสดงความเสียใจที่ตลาดแถบนี้คาดว่าจะปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว อาจจะมาจากการล่มสลายของ
Enron และการประกาศถอนตัวการลงทุนในตลาดมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
และไทยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพข้าราชการแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ด้วยเหตุผลไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานใหม่
สำหรับการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ที่มีความเข้มงวดขึ้น รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน
ความโปร่งใส เสถียรภาพทางการเมืองและมาตรฐานแรงงาน
CalPERS ให้ความสำคัญอย่างมาก กับการรับผิดชอบต่อการลงทุนและสนับสนุนผู้ถือหุ้น
ที่ทำงานสุจริตและโปร่งใสอย่างกรณี Enron ที่กองทุนพยายามกีดกันไม่ให้ผู้บริหารจาก
Enron เข้าร่วมทำงานด้วยหลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาว
ในเอเชียตะวันเฉียงใต้ CalPERS เข้ามาหลังจากตีค่าตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด
สำหรับการลงทุนและการพิจารณาทางด้านสภาพคล่องและความโปร่งใส ปรากฏว่า มาเลเซีย
ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่กองทุนมองว่ามาตรฐานไม่เพียงพอต่อการลงทุนอีกต่อไป
ความกังวลของนักลงทุนไม่ได้อยู่ที่การสูญเสียเงินสดของ CalPERS เพราะมีเม็ดเงินเพียง
200 ล้านเหรียญสหรัฐในตลาดหุ้นมาเลเซียและเข้าลงทุนเพียงเล็กน้อยในฟิลิปปินส์
ไทย และอินโดนีเซีย แต่ปัญหา คือ การหยุดการลงทุนของนักลงทุนรายอื่น "เราเป็นห่วงว่าประชาชนจะคล้อยตาม
CalPERS" Young บอก
นับตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง ยืนยันได้จากสองเดือนแรกของปีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดเมืองไทย
300 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าปีที่แล้วในช่วงเดียวกันที่มีเพียง 115 ล้านเหรียญสหรัฐ
เช่นเดียวกับประเทศแถบนี้ที่ต่างชาติเห็นโอกาส "เงินไหลเข้ามาในตลาดทุนอย่างมาก"
ซาเมียร์ โกเอล นักวิเคราะห์แห่งแบงก์ ออฟ อเมริกา ชี้
มีคำถามตามมาว่า ภูมิภาคนี้มีความสามารถที่จะรักษานักลงทุนรายอื่นไว้ได้หรือไม่ภายหลังที่
CalPERS วิ่งหนีไป ที่สำคัญให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใสและสิทธิมนุษยชน
และถ้าพวกเขาบอกว่าภูมิภาคนี้ยังมืดมนในมาตรฐานต่างๆ
บรรยากาศการลงทุนอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่หากมองในแง่ดีต้องขอบคุณ CalPERS
ที่ลดความร้อนแรงของตลาดลง อีกทั้งข้อกล่าวหาของพวกเขาเป็นสิ่งที่สงสัยต่อการกระทำ
เนื่องจากก่อนหน้านี้พวกเขาได้รับความเดือดร้อนจากการเข้าร่วมลงทุน กับ Enron
จึงต้องระมัดระวังมากขึ้นและไม่อยากให้คนอื่นมาสั่งสอนเรื่องธรรมาภิบาลกับตนเอง
"เป็นไปได้ที่นักลงทุนจะชะลอการลงทุนไป แต่พวกเรายังมองโลกในแง่ดี ว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญที่พวกเขาถอนตัว"
Sriyan Pietersz หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์แห่ง บล.เอสจีชี้ "ปัจจุบันปริมาณตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤติ
แต่เมื่อวัดกับสกุลดอลลาร์สหรัฐปริมาณยังต่ำอยู่"