"ภูเก็ตแฟนตาซี" มีซาฟารีเวิลด์เป็นเดิมพัน


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

เมื่อคราว ที่ผิน คิ้วไพศาล วาดฝันสร้างจินตนาการครั้งใหม่ด้วยการทุ่มทุนมหาศาลกว่า 3,200 บาทเนรมิตโครงการใหม่ "ภูเก็ต แฟนตาซี" มหาอาณาจักรความบันเทิงแห่งวัฒนธรรมไทยนั้น ได้สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ร่วมถือหุ้นหายใจไม่ทั่วท้อง ยิ่งกว่าคราวเมื่อเขาตัดสินใจเอาบริษัทซาฟารี เวิลด์เข้าตลาดหลักทรัพย์ และต้องลุ้นระทึกกันยิ่งขึ้นเพราะถ้าพลาดงานนี้มี ซาฟารีเวิลด์บริษัทแม่เป็นเดิมพัน

ภูเก็ตแฟนตาซี เกิดขึ้นเพราะผินมั่นใจในศักยภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวของภูเก็ต โดยใช้พื้นที่ 350 ไร่ บริเวณ หาดกมลาเป็นที่ตั้งโครงการ และเปิดบริการไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2542

จุดขายใหญ่ในโครงการจึงประกอบไปด้วย 1. หมู่บ้านหรรษา ซึ่งเป็นดินแดนแห่งการชอปปิ้งโดยได้รวบรวมสินค้าพื้นเมือง ที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย มีทั้งสินค้า ที่เป็นผ้าไหม ผ้าบาติก และสินค้าหัตถกรรมจากภาคต่างๆ ของเมืองไทย ซึ่งสินค้าแต่ละชิ้นมีการดีไซน์อย่างสวยงาม 2. "มโนราห์ทอง" ภัตตาคารบุฟเฟต์ ที่ยิ่งใหญ่ขนาด 4,000 ที่นั่ง และ 3. วัง ไอยรา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงละครขนาดใหญ่ 3,000 ที่นั่ง ซึ่งเน้นในเรื่องของไฮเทคโนโลยีมาประกอบการแสดง เช่นระบบ 4 มิติเลเซอร์แสงสีเสียงสเปเชียลเอฟเฟกต์ เมจิกส์อิลลูชั่น ผสมผสานกับการนำเสนอวรรณคดี และศิลปการแสดงของไทย

จุดขายทั้ง 3 ส่วนนั้น ได้ถูกดีไซน์แบบ และตกแต่งอย่างสวยงาม ตัวสินค้าก็ล้วนแล้วแต่เลือกสรรมาเป็นพิเศษแตกต่างจากสินค้า ที่วางขายกันตาม ท้องตลาดทั่วไป และน่าจะทำยอดขายได้พอสมควร

แต่ส่วน ที่เป็นจุดเด่นของงานคือ การแสดง ที่วังไอยรานั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการแสดงแต่ละครั้ง นอกจากจำนวนนักแสดงจำนวนมากแล้ว ยังมีตัวละครเอกคือ ช้างอีกหลายสิบเชือกเป็นตัวละคร ที่สำคัญ

ผินเคยมั่นใจว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 80% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ที่เข้ามาในภูเก็ตปีละประมาณ 2-3 ล้านคน ใน อดีตผินเคยทำให้ซาฟารีเวิลด์ถูกบรรจุในโปรแกรมทัศนะศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ได้แล้ว คราวนี้ผินก็หวังว่าบริษัททัวร์ต่างๆ จะบรรจุโปรแกรมของภูเก็ตแฟนตาซีไว้ในรายการด้วยเช่นกัน

ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ผินตั้งความหวังไว้ว่ารายได้จาก 2 บริษัทนี้ไม่น่าจะต่ำกว่า 2 พันล้านบาทต่อปี และก็เอาใช้หนี้ไปประมาณ 1,500 ล้านบาทเหลือเป็นเงินสดหมุนเวียนใช้จ่ายประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี แต่ถ้าพลาดซาฟารี เวิลด์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยแน่นอน

และความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงปี 2542 ก็คือ ภูก็ตแฟนตาซีขาดทุนเดือนละประมา ณ 50 ล้านบาท

เหตุผลใหญ่ๆ ของความผิดพลาดก็คือ ผินคาดการณ์ตัวเลขของนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาชมโครงการนี้สูงเกินไปมากมีนักท่องเที่ยวจริงมาชม โครงการนี้เพียง 15-17% เท่านั้น เพราะว่านักท่องเที่ยวส่วนใ หญ่เข้าใจว่าการแสดงก็คือ รำไทย หรือศิลปะการแสดงแบบไทยๆ ที่หาดูได้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเสียบัตรราคาแพงมาดูก็ได้ ทำอย่างไร ที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้าใจว่า ความจริงแล้วเป็นโชว์ ที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาผส มกับวัฒนธรรมไทยได้อย่างน่าดู และตื่นเต้นที่สุด เป็นโจทย์ ที่ผินต้องรีบหาทางแก้ไข

นอกจากนั้น ก็ได้มีนโยบายให้บริษัททัวร์ขายบัตรเป็นแพ็กเกจในราคาเดียวกันทั้งหมด แทน ที่จะต่างคนต่างตั้งราคาขายทำให้เ กิดความสับสน รวมทั้งเร่งศึกษากลยุทธ์ทางด้านการตลาดอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย

ไม่อย่างนั้น แล้ว ภูเก็ตแฟนตาซี มีสิทธิ์ดึงเอาโครงการซาฟารีเวิลด์มีปัญหาตามไปด้วยแน่นอน ทำให้พลอยนึกเป็นห่วงสถานภาพของบรรดาช้างน้อย ช้างใหญ่ ซึ่งเป็นนักแสดงเจ้าบทบาทเหล่านั้น ขึ้นมาทันทีเหมือนกัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.