ตัวเลขงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2546 จำนวน 1 ล้านล้านบาท ที่มีการลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณลงมาเหลือ
เพียง 175,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายปี 2545 จำนวน 1.023
ล้านล้านบาท และขาดดุล 2 แสนล้านบาท นอกจาก จะบ่งบอกถึงความวิตกกังวลต่อตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลแล้ว
ยังมีความหมายว่าต่อไปนี้ นโยบายการคลังจะไม่ใช่ยาหลักที่จะนำมาฉีดให้คนไข้ในการฟื้นเศรษฐกิจอีกต่อไป
การลดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณลง แสดงให้เห็นว่าหลังจากนี้การอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐเพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่ง เริ่มกระทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประเทศเข้าสู่วิกฤติในปี 2540 กำลัง
จะถูกลดบทบาทลงไป และนำไปสู่การทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต
ยาหลักในช่วงต่อจากนี้ จึงจำเป็นต้องใช้พลังจากภาคเอกชน ทั้งจากการลงทุน
และการบริโภค ให้เป็นตัวขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจ ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง
แต่พลังจากภาคเอกชน จำเป็นต้องได้รับการเกื้อหนุนจากนโยบายการเงินที่จะต้องผ่อนคลายความเข้มงวดลง
ดังนั้นตั้งแต่ช่วง ปลายปี 2544 เป็นต้นมา การดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติได้เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
แตกต่างจากช่วงที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ามารับตำแหน่ง ผู้ว่าแบงก์ชาติใหม่ๆ
มีนโยบายค่อน ข้างเข้มงวด เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทและ
ทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามการใช้นโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผล
แม้ว่าที่ผ่านมากลไกภาครัฐทุกส่วนจะพยายามออกข่าวในแง่บวก เพื่อหวังผลทางจิตวิทยาให้คนเกิดความมั่นใจมากขึ้น
แต่การที่ภาค เอกชนจะตัดสินใจเพิ่มการลงทุน จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายส่วนมาประกอบ
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการสอดประสานกันระหว่างแบงก์ชาติผู้กำกับนโยบายกับธนาคารพาณิชย์
ซึ่งต้องทำหน้าที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบแทนรัฐบาล
การผ่อนคลายนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ ทั้งการลดอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรือการคลายกฎการตั้งสำรองสำหรับ
หนี้จัดชั้น ดูเหมือนจะได้รับการตอบสนองจากธนาคารพาณิชย์ไม่มาก เท่าไรนัก
น่าเชื่อว่าอีกไม่นาน แบงก์ชาติคงจะมีมาตรการอื่นๆ ที่จะนำ ออกมาใช้อีก
บทบาทของแบงก์ชาติช่วงหลังจากนี้ เป็นเรื่องน่าติดตาม