โรงงานข้อมูล

โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

บนโลกธุรกิจ e-commerce ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดกลไกการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรงงานผลิตข้อมูลที่ต้องได้มาตรฐาน

ในโลกธุรกิจการค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือ e-commerce ไม่ได้มีเพียงกระบวนการสร้างตลาด กลางอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบสั่งซื้อขายสินค้า e-procurement ระบบการชำระเงิน และการขนส่ง สินค้าให้ทันเวลาเท่านั้น แต่ข้อมูลที่ต้องได้มาตรฐาน ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นไม่แพ้กัน

การถือกำเนิดของบริษัทซัพพลายเออร์ คอน เนกซ์ มาจากการมองเห็นปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการติดต่อกับผู้ซื้อจากโลกภายนอก โดยเฉพาะผู้ซื้อจากฝั่งตะวันตกอย่าง อเมริกา ที่กำหนดให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ต้องเป็น มาตรฐาน กลายเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่าราคาสินค้า

"ผู้ผลิตในไทยไม่พยายามปรับตัว คิดว่าจะ ใช้ราคาถูกเข้าสู้ แต่สู้ไม่ได้เพราะว่าต้นทุนที่ผู้ซื้อจะมาซื้อสินค้า ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานที่เขาต้อง การ มันมีต้นทุนสูงกว่าราคาสินค้าเสียอีก" สายฝน เศรษฐาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซัพพลายเออร์ คอนเนกซ์ จำกัด

การกำหนดให้ข้อมูลอยู่ในมาตรฐานเดียว กัน กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจที่ต้องมีการติดต่อซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ ที่อาจทำให้ผู้ผลิตเหล่านั้นถูกลดบทบาท หรืออาจหลุดออกจาก วงจรธุรกิจ

"ตอนไปคุยกับผู้ส่งออกเสื้อผ้า ก็เห็นแล้วว่า ต้องปรับตัว เพราะผู้ผลิตรายใหญ่ๆ อย่างไนกี้ อาดิ ดาส ก็ผลักดันมาพักใหญ่แล้ว เขาบังคับเลยว่า ถ้าจะขายของกับเขาจะต้องส่งข้อมูลผ่าน format ที่กำหนดไว้ ไม่อย่างนั้นแล้ว เขาจะถูกผลักลงมาอยู่อีก tear หนึ่ง"

ก่อนหน้านี้ อีดีไอ เป็นระบบที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ แต่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ยิ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต้องลงทุนระบบไอทีที่จะมารอง รับกับระบบอีดีไอที่ใหญ่มาก

ธุรกิจศูนย์ผลิตข้อมูล ถือกำเนิดขึ้นด้วยภาระหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากโรงงานผลิตข้อมูล ในการทำให้ข้อมูลอยู่ในมาตรฐาน เดียวกัน ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมจะมีมาตรฐาน ในการสร้างข้อมูลที่แตกต่างกันไป

การมีเพียงซอฟต์แวร์ดีๆ อาจไม่ใช่คำตอบเดียวของการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต แต่ยังจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อความสะดวก และความรวด เร็วในการสื่อสารระหว่างธุรกิจ

"การทำ e-procurement ไม่ใช่เรื่องของซอฟต์แวร์อย่างเดียว หากข้อมูลไม่ได้มาตรฐาน จะซื้อปากกาสัก 1 ด้าม ยังทำไม่ได้เลย ดังนั้นคนทำ content ก็เหมือนกับอีกธุรกิจหนึ่งไปเลย" สายฝนบอก

สายฝนบอกว่า แต่เดิมการแปลงข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ มักจะเป็นหน้าที่ แต่เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว จึงมีการว่าจ้างให้ธุรกิจเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการให้

ธุรกิจศูนย์ผลิตข้อมูล ตามความหมาย ของเธอ จึงไม่ต่างไปจากโรงงานผลิตข้อมูล ทำหน้าที่จัดทำให้ข้อมูลอยู่ในมาตรฐานเดียว กับที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องการ ซึ่งจำเป็น ต้องใช้กำลังคน และเงินทุนจำนวนมากในการ update ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา และนี่คือ โอกาสทางธุรกิจของศูนย์ผลิตข้อมูล ที่จะรับจ้างทำสิ่งเหล่านี้แทนองค์กรธุรกิจ

เป้าหมายของซัพพลายเออร์ คอนเนกซ์ คือ โรงงานผลิตสำหรับส่งออก ทั้งในไทย และภูมิภาคเอเชีย ที่ต้องติดต่อค้า ขายกับโลกภายนอก ที่มีผู้ซื้ออย่างสหรัฐ อเมริกา เป็นผู้วางมาตรฐานการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก

สายฝนบอกว่า กุญแจสำคัญของการทำธุรกิจนี้ นอกจากเรื่องของทีมงานที่ต้องมีความรู้และความชำนาญในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ ยังอยู่ที่การเลือกจับมือกับพันธมิตรอย่าง i2 Technologies ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำศูนย์ผลิตข้อ มูลและมีโรงงานผลิตข้อมูล หรือ content factory อยู่ที่ประเทศอินเดีย

ก่อนหน้านี้ i2 เทคโนโลยีส์ได้เทก โอเวอร์บริษัท แอสแปค เทคโนโลยี ซึ่งเป็น เจ้าของโรงงานผลิต content รายใหญ่ ด้วยเงินจำนวน 9,000 ล้านเหรียญ เพื่อแลกกับลูกค้าจำนวนมากของแอสแปคเช่น ไอบีเอ็ม

ลูกค้าเป้าหมายแรกของซัพพลาย เออร์ คอนเนกซ์ คือ อุตสาหกรรมพลัง งาน น้ำมัน และแก๊ส ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการซื้อขายจำนวนมาก และจำเป็น ต้องมีการเก็บสต็อกสินค้าไว้จำนวนมาก

ประโยชน์ที่อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับ จึงไม่ได้หมายถึงการเท่าทันกับโลกการค้ายุคใหม่เท่านั้น แต่ยังหมายถึง การประหยัดต้นทุน อันเป็นผลพวงจากการที่ระบบงานภายในจะถูกจัดระบบใหม่

"หากเขาประหยัดได้ 1% ย่อมหมายถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นมหาศาล" สายฝน บอก

นี่ก็คือ อีกมุมหนึ่งของธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ ที่ไม่ได้หมายถึงระบบการจัดซื้ออัตโนมัติหรือการชำระเงินเท่านั้น แต่ยังต้องรวมไปถึงข้อมูลที่ได้มาตรฐาน และนี่ก็คือ โอกาสของผู้ประกอบการ ใหม่



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.