ทีมงานของฟิตช์ อิบคา (Fitch IBCA) มาเยือน ประเทศไทยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม
ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
เจ้าหน้าที่ของฟิตช์ อิบคารายหนึ่งกล่าวว่า ทีมงานเดินทางกลับไปด้วยความเชื่อมั่นมากขึ้นหลังจาก
ได้รับรู้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่าอาจจะยังไม่มีการปรับปรุงอันดับความน่าเชื่อถือใหม่ในทันทีก็ตาม
พอล รอว์กินส์ (Paul Rawkins) ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศแห่งฟิตช์
อิบคาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ไทยมีกรอบทางกฎหมายสำหรับจัดระเบียบระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่แทน
ที่กฎหมายเก่าแล้ว
"มีสิ่งต่างๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นในหลายด้าน เช่น
การปฏิรูปทางสถาบัน ซึ่งตลาดอาจจะยังไม่ได้ นำมาพิจารณาความน่าเชื่อถือด้วย
และคงใช้เวลาอีกนานกว่าจะเห็นผลของสิ่งเหล่านี้ แต่ใน ท้ายที่สุดจะเกิดผลดีขึ้นอย่างมากทีเดียว"
ทีมงานของรอว์กินส์มาเยือนไทยครั้งก่อน เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และก่อนหน้านั้น
ในเดือนมิถุนายนได้มีการปรับปรุงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในด้านเงินตราต่างประเทศระยะยาว
ให้มีระดับการลงทุน ที่ BBB- ส่วนความน่าเชื่อถือในแง่เงินตราต่างประเทศระยะสั้นอยู่
ที่ F3 และเงินตราในประเทศระยะยาวอยู่ ที่ BBB-
"เราพบว่าสิ่งต่างๆ ที่เห็นนั้น ดีกว่า ที่คาดไว้ ไม่คิดว่าจำเป็นต้องตีความว่าเป็นการปรับปรุงที่ดีขึ้น
แต่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งเราเคยกังวลก่อนมา และตอนนี้เราก็รู้สึกดีขึ้น"
เขากล่าวว่าสิ่งที่บรรลุผลสำเร็จไปแล้วในแง่ของการปฏิรูปสถาบัน กฎหมายล้มละลาย
และด้านหลักอื่นๆ เป็นสิ่งที่ย้อนกลับไปไม่ได้
"เรายังพบว่ามีการเคลื่อนไหวในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร
และปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งอย่างน้อยตอนนี้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแล้วในขณะที่แต่ก่อนไม่เคยมีการขยับใดๆ
ผมว่าอุปสรรคถูกทำลายลงแล้ว" รอว์กินส์บอก
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เงินกู้ประเภท ที่ไม่ก่อรายได้ลดลงเหลือราว
37% ของยอดเงิน กู้ในระบบการเงิน เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาจากระดับราว
50% เมื่อกลางปีที่แล้ว
รอว์กินส์กล่าวอีกว่าวิธีการดึงเอาหนี้เสียออกจากระบบการเงินของไทย โดยการจัดตั้งองค์กรบริหารสินทรัพย์ขึ้นมานั้น
อาจจะดำเนินงานไม่รวดเร็วเหมือนอย่างวิธีการของรัฐบาลมาเลเซีย และเกาหลีใต้
ที่ตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมารับซื้อหนี้เสียทั้งหมดไว้เสียเอง แต่รัฐบาลไทยมีเหตุผลบางประการที่เลือกใช้วิธีการดังกล่าว
คือ รัฐบาลไม่มีเงินพอ ที่จะเข้าไปแบกรับภาระหนี้เหล่านี้ได้ และภาคธุรกิจก็มีบุคลากร
และประสบ การณ์ด้านการปรับโครงสร้างมากกว่า
"มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าในท้ายที่สุด ไทยจะมีระบบการธนาคาร
ที่แข็งแกร่งขึ้น" รอว์กินส์เสริม และกล่าวถึงธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า กำลังใช้แนวทาง ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงในการกระตุ้นด้านการคลัง
และปรับโครงสร้างภาคการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติการเงิน ในปี
2540
กระทรวงการคลังคาดการณ์ด้วยว่า หากรัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาล เป็นมูลค่าอย่างน้อย
135,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลาต่อเนื่องกันไป 5 ปี ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ดังกล่าวจะคิดเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อปี
ซึ่งเพิ่มจาก 9.5% ในปีนี้เป็นกว่า 15% ในปี 2547 ทั้งนี้ ธารินทร์ได้เสนอแผนรายละเอียดการออกพันธบัตรระยะ
5 ปีดังกล่าวแก่คณะรัฐมนตรีแล้ว
รอว์กินส์กล่าวว่าธารินทร์ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด และหนี้สาธารณะอยู่ในขั้น
ที่สามารถสะสางได้ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3
ปีข้างหน้า คือ การปิดโอกาสในการก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้เป็นมาตรการกระตุ้นด้านการคลัง
หากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีก เช่น ในกรณี ที่ปริมาณความต้องการสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ
เกิดลงฮวบลงอย่างกะทันหัน
ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าภาคการเงินจะกลับสู่ภาวะเข้มแข็ง และจะเริ่มมีอัตราการเติบโตของการกู้ยืม
หรือแม้แต่จะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศอย่างยั่งยืนหรือไม่ หากปริมาณความต้องการสินค้าในทั่วโลกลดลง
นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนในเรื่องทิศทางนโยบายของรัฐบาลชุดหน้ายังคงบดบังบรรยากาศโดยรวมด้วยเช่นกัน
เนื่องจากทีมเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เป็นที่ยอมรับอย่างสูง แต่ในการเลือกตั้งทั่วไป
ที่จะมีขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม รอว์กินส์กล่าว ว่า แนวทางนโยบายของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้
และของพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ และมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า
คงจะไม่แตกต่างกันมากนัก เขากล่าวว่า "คนส่วนใหญ่เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องตัวบุคคลมากกว่าเป็นเรื่องนโยบาย
เราแค่อยากรู้ว่าผลจะออกมาอย่างไรเท่านั้น "
ไม่ว่าใคร ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในปีหน้าจะต้องสานต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ซึ่งดำเนินการมานานนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศษฐกิจ โดยจะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไว้
เมื่อปลายปีที่แล้ว หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยลดลงเหลือ 13,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยลดจากระดับ 34,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่ยังคงมีการไหลเข้ามาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ส่วนกิจการธุรกิจต่างๆ ยังคงอยู่ในภาวะการชำระหนี้สิน และ รีไฟแนนซ์หนี้ต่างประเทศ
"มีการไหลออกของการลงทุน ที่ก่อหนี้สิน ขณะที่การลงทุน
ที่ไม่ก่อหนี้ ก็ไหลเข้ามาด้วย" รอว์กินส์กล่าว และเสริมว่าความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ
จากภายนอกเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการปรับปรุงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเมื่อปีที่แล้ว
และเมื่อมองจากการท่องเที่ยว การส่งออก และยอดเกินดุลบัญชี เดินสะพัด ผลประกอบการเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ทีมงานของฟิตช์
อิบคา เดินทางกลับประเทศไปโดยที่มีความวิตกกังวลน้อยกว่าเมื่อครั้งเดินทางเข้ามา