วรรณา สวัสดิกุล "ขายมือถือ ขายสินค้าที่จับต้องไม่ได้"

โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เธอเป็นมืออาชีพคนใหม่ที่ถูกเลือกเฟ้นมา สำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานการตลาดของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องรับผิดชอบการตลาดของโทรศัพท์มือถือ "ดีแทค"

การเข้ามาของวรรณา นับเป็นบทสะท้อนภาพการตลาดของธุรกิจโทรศัพท์ มือถือที่ไม่ได้ชิงความได้เปรียบเฉพาะ ในเรื่องของเครือข่ายที่ครอบคลุม และคุณภาพของบริการเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง เรียกว่าเข้าใกล้สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต้องอาศัยมืออาชีพทางด้าน consumer product เข้ามาดูแลการทำตลาดโดยตรง วรรณา เรียนจบคณะบัญชี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะบินไป เรียนต่อด้าน MBA ที่อีสเทิร์น อิลลินอยส์ ยูนิเวอร์ซิตี้ แต่วรรณาไม่เคยประกอบอาชีพด้านบัญชี "รู้สึกว่าตัวเองชอบทางด้านการตลาด"

ประสบการณ์ในอาชีพบวกกับความรู้ด้านบัญชีเธอจึงกลายเป็นนักการตลาดที่ชำนาญเรื่องตัวเลข มีข้อดีในเรื่อง ความรอบคอบในเรื่องของต้นทุนและกำไร

ก่อนหน้าจะมาร่วมงานกับแทค วรรณาทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ถึง 7 ปีเต็ม ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนไปหาประสบการณ์ ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ซีพีออเรนจ์ในช่วงเวลาสั้น

"ทำแล้วพบว่าไม่เหมาะกับตัวเอง เราเป็นนักการตลาด แต่หน้าที่ตรงนั้นเป็นเรื่องของการควบคุมกลยุทธ์เป็นคนสนับสนุน อยู่เบื้องหลัง ดูยุทธศาสตร์ของพนักงานขาย อีกที"

การตัดสินใจย้ายมารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการขายที่บริษัทแทค จึงตรงกับประสบการณ์เดิม และความต้องการของ เธอมากกว่า นอกจากนี้การทำงานอยู่ในซีพีออเรนจ์ก็เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ 4-5 เดือน เท่านั้น ไม่ได้มากจนเป็นอุปสรรคต่อการเรียน รู้ใหม่

ภาระหน้าที่ของวรรณา จะครอบคลุม ตั้งแต่กำหนดแผนการตลาดการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน การขายตรง ลูกค้าสัมพันธ์ มีทีมงานกว่า 100 คน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเธอ

ถึงแม้โทรศัพท์มือถือจะใกล้เคียงกับสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ในแง่มุมของวรรณา แล้ว ความแตกต่างระหว่างสินค้าทั้งสองประเภทอยู่ที่สินค้า consumer product เป็นเ รื่องของคุณภาพสินค้าที่ใช้แล้วหมดไปเร็ว ราคาไม่สูง ในขณะที่โทรศัพท์มือถือ การตัด สินใจซื้อจึงยากขึ้น และเป็นเรื่องการขายแอร์ไทม์ ซึ่งเป็นบริการที่ไม่มีตัวตน

แน่นอนว่าการทำตลาดโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความความต้องการของลูกค้า consumer oriented จุดที่สำคัญ จึงอยู่ที่การสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจในตัวของ สินค้าและบริการ

"เราต้องคิดเสมอว่าทำอย่างไรเทคโนโลยีดีๆ จะถูกสื่อสารไปให้ผู้บริโภคเข้าใจ และใช้งานได้ง่ายที่สุด ไม่ใช่ไปถามผู้บริโภคว่าอยากได้มือถืออย่างไรในอนาคต ผู้บริโภคตอบไม่ได้หรอก"

วรรณาเล่าว่า วิธีการของเธอคือต้องทำตัวเป็นผู้บริโภค เธอยกตัวอย่างการทำหนังโฆษณา หรือการทำการตลาด จะต้องไม่มองในฐานะคนทำหนังแต่จะมองในฐานะ ของผู้บริโภค และนั่นก็คือ ความหมายของคำว่า customer focus

ประสบการณ์ในวิชาชีพสอนเธอว่า การวิจัยความต้องการของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือ ชิ้นสำคัญที่เธอเชื่อว่า จะเข้าถึงความต้องการ ของลูกค้าได้ ทั้งความต้องการปัจจุบันและ อนาคต



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.