วงเงิน 1.85 แสนล้านบาท เป็นทุนทรัพย์ความเสียหายในคดี แพ่งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
เป็นวงเงินที่ทางการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าเริงชัย มะระกานนท์
อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ คือ ผู้ที่ก่อให้เกิดความ เสียหาย จากการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการปกป้อง
ค่าเงินบาทในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2540
ก่อนมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในอีก 2 วันถัดมา ซึ่งเป็นจุดพลิกผันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่วิกฤติ
คณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง ซึ่งกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น ได้มีความเห็นส่งมายังคณะกรรมการทุนรักษาระดับ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแบงก์ชาติ ซึ่งได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า
การนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ไปปก ป้องค่าเงินบาทของเริงชัย ถือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ตามกระบวนการ แบงก์ชาติได้ส่งเรื่องมายังสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นโจทย์ฟ้องต่อศาลแพ่ง
เพื่อเอาผิดกับเขา และเรียกร้องความเสียหายตามทุนทรัพย์
เป็นเคราะห์ก้อนใหญ่ที่เริงชัยต้องรับและต้องต่อสู้ตามกระบวนการ เพื่อแสวงหาความยุติธรรมกลับคืน
ซึ่งตามรูปการแล้ว คาดว่าต้องใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร
เริงชัยเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติที่เคราะห์ร้ายมากกว่าผู้ว่าคนอื่นๆ เพราะผู้ว่าในอดีตหากมีปัญหาทางด้านความเห็น
หรือการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โทษรุนแรงที่สุดที่ได้รับก็คือถูกปลดจากตำแหน่ง ยังไม่มีใครที่ต้องโทษเป็นคดีเช่นเดียวกับเขามาก่อน
เริงชัยเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติ รุ่นที่ 2 รุ่นเดียวกับโอฬาร ไชยประวัติ
และจรุง หนูขวัญ
แรกเริ่มที่เขาเข้ารับราชการในแบงก์ชาติ เขาไม่เคยมีความคิดอยู่ในหัวเลยว่าในชีวิตราชการที่นี่
จะมีโอกาสไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่ง สูงสุดของแบงก์ชาติ เพราะวัฒนธรรมในช่วงนั้น
ข้าราชการประจำ มีโอกาสสูงสุดได้แค่ผู้ช่วยผู้ว่าการ
วัฒนธรรมนี้เริ่มมาเปลี่ยนในยุคที่วิจิตร สุพินิจได้ขึ้นเป็น ผู้ว่าฯ ต่อจากชวลิต
ธนะชานันท์ ถือเป็นผู้ว่าคนแรกที่มาจากลูกหม้อ แบงก์ชาติ แต่วิจิตรก็ลงจากตำแหน่งได้ไม่สวยงามนัก
เพราะถูกปลด ออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การได้
เริงชัยเข้ามารับช่วงดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติต่อจากวิจิตร
เขาเข้ามารับตำแหน่งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เริ่มส่งสัญญาณออกมาแล้วว่ากำลังมีปัญหา
จากตัวเลข ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลติดต่อกันทุกเดือน จนมีแนวโน้มว่าจะ
มีผลกระทบต่อระดับทุนสำรองระหว่างประเทศ
เงินลงทุนที่ควรจะไหลเข้ามา กลับหยุดชะงัก ขณะที่ภาค ธุรกิจภายใน กลับมีการจับจ่ายใช้สอยกันแบบฟองสบู่
ซึ่งจุดนี้เป็นจุดอ่อนอันสำคัญ ที่ทำให้นักเก็งกำไรค่าเงิน นำ มาใช้ในการโจมตีค่าเงินบาทในที่สุด
มีข้อสงสัยตามมามากมายว่าการที่ประเทศถูกโจมตีค่าเงิน ผู้ที่ต้องรับรู้ปัญหา
และรับผิดชอบในการแก้ไข ไม่น่าจะมีเพียงแค่เริงชัยคนเดียว
"ผมไม่ยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว เพราะยืนยันตลอดแล้วว่า ได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
และทุ่มเทในงาน มีการประชุมหารือร่วมกันทั้งภายใน และกับผู้บังคับบัญชา มีหลักฐานเอกสารครบ
ถ้วน มีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งหนักหน่วงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่เคยตั้งอยู่ในความประมาทเลินเล่อเลย"
เนื้อความส่วนหนึ่งในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของเริงชัย ที่ถูกส่งมายังสื่อมวลชน
หลังทราบ ผลการประชุมคณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่บอกว่าเขามีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ระบุ
หนังสือฉบับเดียวกันยังบอกอีกว่าเขายังไม่เคยมีประวัติ ด่างพร้อยในการทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ต้องรับผิดชอบ ในเรื่องการเงินการทอง ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบมากว่า
26 ปี แม้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ สามารถให้ประโยชน์แก่ผู้รู้ความเคลื่อนไหวได้อย่างมหาศาล
อีก ทั้งความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ไม่ได้แอบอิงการเมืองใดๆ ไม่ว่ายุคสมัยใดทั้งสิ้น
แต่ในวันนี้ เริงชัยกลับต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ในข้อหาที่หากใครโดน
ก็ต้องเสื่อมเสียไปทั้งวงศ์ตระกูล
คดีของเริงชัย นับได้ว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ ที่น่าติดตามอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าในกระบวนการพิจารณาจะต้องใช้เวลานานเพียงใด
เพราะคดีนี้ ไม่ว่าผลสรุปที่ออกมาจะเป็นเช่นไร ก็ถือได้ว่า เป็นกรณีศึกษาครั้งสำคัญ
เหมาะสำหรับคนทุกคนที่ต้องทำงานเกี่ยว ข้องกับนโยบายซึ่งหมิ่นเหม่ต่อความเป็นความตายของประเทศ
การตัดสินใจในสถานการณ์ใดๆ แม้ว่าจะยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนเดิม อาจมีผลให้เจตนารมณ์ในการตัดสินใจครั้งนั้น
ถูกแปรเปลี่ยนไปได้ ด้วยตัวแปรที่คาดไม่ถึง
และหากไม่นำความจริงมาเปิดเผย ก็อาจกลายเป็นคนผิด ต้องถูกลงโทษจากสังคมไปทั้งชีวิตเลยก็ได้
แม้ว่าคนที่ทำจะมีเจตนา ที่บริสุทธิ์