แม้ยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงมูลค่าหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของภาคเอกชน
ซึ่งเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลงเรื่อยๆ
แต่ตัวเลขที่ศูนย์วิจัยต่างๆ เปิดเผยไว้คือปริมาณ เงินกู้ต่างประเทศของไทยมีรวม
90,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,330,000 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็นหนี้ภาครัฐ 18,000
ล้านเหรียญฯ และหนี้ภาคเอกชน 72,000 ล้านเหรียญฯ (แบ่งเป็นหนี้บริษัท 30
พันล้านเหรียญฯ และหนี้ของธนาคารพาณิชย์อีก 40 พันล้านเหรียญฯ)
ในส่วนของหนี้เอกชนนั้นแยกเป็น :
- หนี้ตั๋วแลกเงินหรือ B/E 5,000 ล้านเหรียญฯ
- หนี้การค้า 7,000 ล้านเหรียญฯ
- หนี้ที่บริษัทไทยออกตราสารในต่างประเทศ หรือ ECD 11,000 ล้านเหรียญฯ
- ที่เหลือเป็นการกู้ร่วมหรือ syndicate และการกู้เป็นรายบริษัทผ่านกิจการวิเทศธนกิจหรือ
BIBF ทั้ง ไทยและต่างประเทศรวม 48,000 ล้านเหรียญฯ โดยแบ่ง เป็น BIBF ธนาคารไทย
12,000 ล้านเหรียญฯ, เป็น BIBF สาขาธนาคารต่างประเทศ 20,000 ล้านเหรียญฯ
และกู้จากต่างประเทศโดยตรง 16,000 ล้านเหรียญฯ
ในจำนวนทั้งหมดนี้ มี 16,000 ล้านเหรียญฯ ที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 14 เดือนข้างหน้านี้
หรือเฉลี่ยต้องชำระหนี้เดือนละ 1,200-1,300 ล้านเหรียญฯ ซึ่งหมายความว่าในสิ้นปีต้องชำระหนี้
2,400-2,500 ล้านเหรียญฯ
ทั้งนี้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ จาก IMF จำนวน 17,200
ล้านเหรียญฯ งวดแรกที่เบิกเข้ามาในปี 2540 ประมาณ 8,000-9,000 ล้านเหรียญฯ
ต่อมาเมื่อ ดร.โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฎฐ์ เป็น รมว.กระทรวงการคลังในรัฐบาลชุดก่อน
ได้เจรจากับ IMF ขอขยายเพดานการกู้เงินของรัฐ จาก 1,500 ล้านเหรียญฯ เป็น
5,000 ล้านเหรียญฯ
ในการเจรจากับเจ้าหนี้นั้น สมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างประเทศจะเป็นผู้จัดการ
โดยมีรัฐบาลช่วยดูแลเงินกู้ของไทยทั้งหมด จะครบกำหนดชำระในปี 2541 มากที่สุด
ขณะที่ปี 2542-2543 จะครบ กำหนดชำระปีละ 7,000 ล้านเหรียญฯ
เจ้าหนี้เงินกู้ต่างประเทศของไทยเป็นธนาคาร ญี่ปุ่น 50% ยุโรป 20% และธนาคารในภูมิภาคเอเชีย
เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง อีกประมาณ 20% ส่วนสหรัฐฯ แคนาดาอีก 10%