นโยบายถ่ายเทคน+know-how

โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ สุธี ชยะสุนทร
นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2547)



กลับสู่หน้าหลัก

"การ share ความรู้ระหว่างกลุ่มธุรกิจ หรือระหว่างประเทศ ทำได้ไม่ยากหากสนใจอะไรก็เข้าไปดู แล้ว email ขอรายละเอียดจากเจ้าของ project โดยตรง" Roy Gunara กรรมการผู้จัดการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระบอก

โดยจะเข้าไปเลือก best practice และเปรียบเทียบดูว่าอันไหนมีความเหมาะสมกับตลาด อย่างเช่นสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็น best practice จะเป็นของญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ในเรื่องของการขยาย kiosk เวลาที่ใช้ในการอนุมัติ รวมทั้งขั้นตอนการทำงาน

ถือเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์

ที่ผ่านมา GECF (Thailand) มี best practice หลายอย่างที่มีคนขอไปใช้ อย่างเช่นเรื่องของ CRM ที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ถือว่าในระดับภูมิภาค GECF (Thaialnd) มีบทบาทสำคัญ

สำนักงานภูมิภาคอยู่ในกรุงเทพฯ มีศูนย์ฝึกอบรมอยู่ที่นี่มีคนไทยไปเป็น president GE Consumer Finance ที่ฮ่องกง นอกจากนี้ตลาดยังเติบโตได้อีกมาก

นอกจากนี้การถ่ายเทคนยังเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ อย่างเช่นในกรณีของ Roy Gunara ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนที่เข้ามาร่วมงานกับ GECF (Thailand) ตั้งแต่ปี 2544

Roy มีพื้นฐานการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Drexel University สหรัฐอเมริกา และ MBA จาก University of Illinois ก่อนที่จะร่วมงานกับ GECF Indonesia ในปี 2542 ในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านสินเชื่อและความเสี่ยง

ในปี 2544 ซึ่งเป็นปีที่ฐานลูกค้าของ GECF ในไทยเริ่มมีการขยายตัวอย่างมาก Roy จึงได้รับข้อเสนอจากริด้า วิระกุสุมาห์ ประธาน GECF Thailand ในขณะนั้นให้เข้ามาดูแลระบบบริหารความเสี่ยงให้กับ product ที่มีอยู่ทั้งหมด

ก่อนที่จะขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระ แทนผู้บริหารคนเดิมที่ย้ายไปประจำที่ฮ่องกง


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.