การเสพศิลป์เป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ที่ส่วนหนึ่งอาจจะกำลังถูกภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด
แต่ศิลปินก็ยังมีพลังผลักดันงานศิลปะออกมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น
งานศิลปะกำลังเดินทางเข้าไปหาผู้คนตลอดเวลา ทุกวันนี้ แกลเลอรี่ หอศิลป์
เกิดขึ้น แทบทุกหัวถนน แม้แต่ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายหนังสือ แม้แกลเลอรี่หลายแห่งปิด
ตัวไปแต่ยังมีแกลเลอรี่ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ พร้อมๆ กับผลงานที่ไม่ได้ลดน้อยลงเลย
และ ยังมีกิจกรรมต่างๆ หลากหลายมากขึ้น อย่างเช่น ที่หอศิลป์ตาดู ลักขณา
คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดู เคยเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟังว่า
"เท่าที่ตัวเองมีประสบการณ์ต้องยอมรับว่าที่หอศิลป์ตาดูนั้นมีคนมาดูงานศิลปะเพิ่มขึ้น
สิ่งหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหอศิลป์เองก็ไม่ได้แต่เพียงจัดงานนิทรรศการอย่างเดียว
แต่มีการนำ เสนอกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น มีฉายหนัง มีละครเวที
หรือออกไปจัดงานตาม ที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งพยายามหากลวิธีต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์งานให้กว้างขวางขึ้น"
วิสูตร สุทธิกุลเวทย์ ผู้จัดการหอศิลป์สเปส ก็ได้จัดโครงการศิลปะสู่สาธารณชนครั้งที่
1 ในนิทรรศการ ศิลปะ "ตัวปลอม" ขึ้น งานนี้ศิลปินตัวจริงหมดสิทธิ์
เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลอาชีพต่างๆ เช่น นักเขียน นักแสดง คนขับรถรับจ้าง
สื่อมวลชน มาร่วมกันแสดงผลงาน ซึ่งวิสูตรมั่นใจว่า การร่วมกิจกรรมกับบุคคลทั่วไป
จะมีส่วน ให้บุคคลเหล่านั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะมากยิ่งขึ้น และยังทำให้คนรอบข้างของผู้ร่วมแสดงผลงานได้เข้ามา
สัมผัสกับศิลปะ เพื่อกระจายความรู้ด้านศิลปะกว้างขวางออกไปอีก
อะเบาท์คาเฟ่" "อะเบาท์สตูดิโอ" เป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเมื่อหลายคนเห็นแล้วต้องหยุดมอง
ตั้งคำถาม แล้วพยายามค้นหาคำตอบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น
เกล้ามาศ ยิบอินซอย ได้เคยอธิบายถึงความคิดของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
พยายามหากระบวนการต่างๆ มาสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยให้เกิดขึ้น โดยกิจกรรมนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนๆ
ทั้งรูปแบบและความหมาย
การส่งเสริมในเรื่องนี้จะมีขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อศิลปะเป็นที่ยอมรับ คนมีความ
เข้าใจ และเป็นที่ชื่นชมในหมู่คนจำนวนมาก
5 ปีที่ผ่านไป กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้ จึงเป็นศิลปะร่วมสมัย
ที่เปลี่ยนไปตามสังคมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีการแบ่งบทบาทที่ตายตัว
มัน ผสมผสานปนเปไปยังเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน
ดังนั้น หลาก หลายกิจกรรมจึงได้เกิดขึ้นที่นี่ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี และแฟชั่นโชว์
ดังนั้นหลังจากปิดตัวเองไปหลายเดือน รูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นที่นี่ก็คือ
การทำ หน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยชั้นล่างที่เคยเป็นร้านอาหารจะเปลี่ยนเป็นห้องสมุด
มีหนังสือเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ต่างๆ หนังสือเกี่ยวกับงานศิลปะและ วัฒนธรรมสมัยใหม่
ไว้ให้ผู้สนใจได้เข้ามาค้นคว้าศึกษา
แต่ห้องสมุดแห่งนี้จะไม่ใช่มีเพียงหนังสือที่ทิ้งไว้ให้คนเข้ามาอ่าน แล้วเชื่อ
เรื่องทั้งหมดที่เป็นตัวหนังสือเท่านั้น แต่มีการสร้างรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ
ที่ จะกระตุ้นให้เอาข้อมูลไปใช้มากขึ้น โดยมีวิธีการหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง
เกล้ามาศได้เลือกเอาโครงการ HIP HOP AT ABOUT STUDIO ABOUT CAFE เป็นการเปิดตัวครั้งใหม่
โดยมีการจัดงานที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน
Hip Hop เป็นวัฒนธรรมดนตรีที่เริ่มจากแถบแอฟริกา ข้ามฝั่งอเมริกาโดย กลุ่มคนผิวสี
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกา จังหวะดนตรีที่เคยใช้ร้อง เพื่อปลดปล่อยแรงกดดันของชนชั้นล่างซึ่งกลายมาเป็นการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่
ผู้สนใจจะได้พบกับเสน่ห์และความสดของจังหวะ Hip Hop แล้วยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศิลปิน
และศิลปินผู้เกี่ยวข้องชมภาพยนตร์ แนว Hip Hop ได้ร่วม Rap ไปกับคืน Open
Reading Poetry อย่างสนุกสนาน
นอกจากนั้นในห้องสมุดของอะเบาท์ ยังมีโอกาสได้สนทนากับดร.สายัณห์ แดงกลม
ในเรื่องของ Graffiti+art+Hip Hop Culture มีการเสนอข้อมูลวิจัยจากกลุ่มนักศึกษาในเรื่องนี้
ร่วมสนทนาเรื่องภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับ Hip Hop
ดังนั้นแม้ว่าอะเบาท์คาเฟ่ อะเบาท์สตูดิโอจะเปลี่ยนแปลงไป แต่แก่นของ ความคิดยังเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
วัยรุ่นและเด็กเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง ที่บรรดาศิลปินพยายามจะเข้าให้ถึง
แกลเลอรี่หลายแห่งจึงได้มีบทบาทกับคนกลุ่มนี้ โดยจัดกิจกรรมเพื่อเด็กๆ มากขึ้น
ในขณะเดียวกันสถาบันการสอนศิลปะของเด็กก็ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มากมายในช่วงปีถึง
2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ปกครองคนรุ่นใหม่จะเข้าใจดีว่างานศิลปะเป็นการช่วยในการสร้างสมาธิ
และจินตนาการที่กว้างไกลของเด็กๆ
ศิลปะเด็กจะกลายเป็นเรื่องแฟชั่นของ พ่อแม่รุ่นใหม่หรือไม่ก็ตาม แต่มันก็เป็นการปลูกฝังเด็กในเรื่องงานศิลปะไปแล้ว
คนกลุ่ม นี้หากได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้อง ต่อไปเขาก็อาจจะเดินเข้าหอศิลป์
เดินเข้าแกลเลอรี่มากขึ้นเช่นกัน
เป็นที่น่าติดตามว่าในปีหน้าเราจะเห็น กิจกรรมอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอีก "ผู้จัดการ"
แนะนำให้เปิดดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิศิลป ร.9 ซึ่งนอกจากจะมีรายชื่อของแกลเลอรี่ทั้งหมดแล้ว
ยังสามารถเช็กปฏิทินงานศิลป์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาได้ด้วย