หลังจากนิตยสารผู้จัดการฉบับนี้ออกวางแผงผมเองก็ยังไม่มั่นใจว่า เหตุการณ์โจมตีอัฟกานิสถาน
จะสงบลงแล้วหรือยัง และบิน ลาดิน จะถูกรัฐบาลอเมริกันจัดการได้หรือไม่ แต่ดังที่ยืนยันไปในฉบับที่แล้วว่า
ปัญหาการก่อการร้าย ไม่น่าจะยุติลงไป รัฐบาล ของทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกันและอังกฤษ
คงไม่มีทางที่จะนอนหลับฝันดี นอกเสียจากรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงจะได้รับการแก้ไข
แทนที่จะมาคุยกันเรื่องหนักๆ เกี่ยวกับสงคราม คราวนี้เราลองมาคุยกันเรื่องเบาๆ
เกี่ยวกับความขัดแย้งเช่นกัน แต่เป็นความขัดแย้งในระดับที่ไม่รุนแรงเป็นความขัดแย้งระหว่างคนธรรมดาซึ่งอาจจะเป็นภาพ
เล็กที่สะท้อนให้เห็นภาพความขัดแย้งที่ใหญ่ขึ้น ดังที่เราเห็นกันจนชินตาในปัจจุบัน
ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น หากเรามองว่ามันเป็นเพียงการทะเลาะกันของคนสอง
คนที่ตกลงกันไม่ได้ในเรื่องๆ หนึ่งเราก็จะพบต่อไปว่า ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ง่ายๆ
นั้น ทั้งสองฝ่ายกลับ ไม่มีใครยอมใคร แต่ในความเป็นจริงแล้วความขัดแย้ง แต่ละเรื่องมีรากฐานและสะท้อนถึงระบบความสัมพันธ์เดิมที่มีอยู่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมาวิเคราะห์ว่า
ระบบความสัมพันธ์แต่ดั่งเดิมนั้นเป็นอย่างไร แต่ในความสัมพันธ์นั้นมีเรื่องสามเรื่องที่เราควรทำ
ความเข้าใจ คือ
ประการแรกความสัมพันธ์ระหว่างคนสอง คนจะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น หากมีการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมของใครคนใดคนหนึ่ง (หรือทั้งสอง คน) ตัวอย่างที่มักจะรู้จักกันดี
คือ การที่พ่อบ้าน เกษียณจากงานแล้วมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มี เรื่องหงุดหงิดใจกับแม่บ้าน
ทั้งๆ ที่ก่อนเกษียณ ไม่เคยมีปัญหาเหล่านี้ หรือในแง่กลับกันการเปลี่ยน แปลงในคนใดคนหนึ่งอาจจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิม
(คนๆนั้น อาจจะไม่ตั้งใจเปลี่ยน) เช่น การที่สามีบ่นว่าภรรยาตัวเองว่าจุกจิกและคอยจ้องจับผิด
ใน ขณะที่ภรรยาอาจจะบอกว่า ตนเองทำอย่างนี้เพราะสามีกลับบ้านผิดเวลาบ่อย
และเคยจับได้ว่าสามีคบกับผู้หญิงอื่น นั่นคือ ในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกัน
เราต้องยอมรับว่าทั้งสองฝ่ายล้วนเป็นสาเหตุของปัญหา การโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ก็คือการปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แก้ปัญหาแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งแน่นอนว่า
ปัญหานั้นย่อมไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม
ประการที่สอง ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของความ สมดุล ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่ราบเรียบ
หวานชื่น หรือเต็มไปด้วยความขัดแย้งล้วนแต่มีสมดุลของมันทั้ง สิ้น สมดุลนั้นบอกกับเราว่า
หากเกิดการเปลี่ยนแปลง บางอย่างของคนหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมส่งผล ทำลายสมดุลที่มีอยู่เดิม
และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดย อัตโนมัติของอีกฝ่ายหนึ่งคือ ความพยายามแข็งขืน
การเปลี่ยนแปลงนั้น เพื่อให้สมดุลในความสัมพันธ์ยัง คงดำเนินต่อไป นั่นคือการแก้ไขปัญหาในความสัมพันธ์
ของคนสองคนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากอีกฝ่าย หนึ่ง เพื่อว่าเมื่อฝ่ายหนึ่งเปลี่ยน
อีกฝ่ายหนึ่งก็จะเปลี่ยน ด้วย เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงของทั้งสองฝ่ายสอดรับซึ่ง
กันและกันทำให้สมดุลใหม่ในความสัมพันธ์เกิดขึ้น ตัวอย่างที่คลาสสิกคือ ภรรยาอาจจะบอกว่า
ตราบใด ที่สามีไม่เลิกกลับบ้านดึก และมีความรับผิดชอบใน ครอบครัวมากขึ้น
เธอก็คงจะต้องบ่นต่อไป ในขณะที่ สามีอาจจะตอบว่า เขาไม่รู้จะกลับบ้านมาเพื่อฟัง
คำบ่นของภรรยาทำไม เขาจะกลับบ้านเร็วขึ้นและ เลิกเที่ยวกลางคืน หากภรรยาเลิกบ่น
หากเราเข้าใจและยอมรับในสองประการแรก ก็จะนำมาสู่ข้อเท็จจริงประการที่สามคือ
การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีการเจรจาทำความตกลงที่จะเปลี่ยนแปลง
การทำความตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เรื่องของการแบ่งชิ้นเค๊กก้อนเก่าที่มีอยู่เดิม
อย่างที่นักการเมืองชอบใช้ว่าใครจะได้ชิ้น เล็ก ใครจะได้ชิ้นใหญ่ตามอำนาจและความสามารถที่
จะต่อรอง แต่ในแง่ของความสัมพันธ์นั้นการเจรจาตก ลงกันอาจจะหมายถึงการทำเค๊กก้อนใหม่ขึ้นมาร่วมกัน
แล้วจัดสรรใหม่ ไม่ใช่ใครจะได้มากกว่าใคร หรือใครเสียเปรียบใคร แต่เป็นเสมือนการทำงานร่วมกัน
การพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อตกลงกันในการ เปลี่ยนแปลงเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น
อาจแบ่งขั้นตอน ออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ
ประการแรกเรียนรู้ว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร ในระบบของความสัมพันธ์นั้น ไม่ใช่คิดเฉพาะความต้องการของเราฝ่ายเดียว
แต่ต้องคิดด้วยว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องการ อะไร หรืออย่างไรหากคิดจำเพาะเจาะจงแต่ความต้องการของเราฝ่ายเดียว
ข้อตกลงที่เป็นจริงและเป็นไปได้ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้น หลักง่ายๆ ที่จะเข้าใจความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง
คือ การคิด การถาม และการรู้จักฟัง
ประการที่สอง หาจุดที่ร่วมกัน การหาจุด ร่วมทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องมานั่งเถียงกัน
ในสิ่งที่เห็นตรงกันอยู่แล้ว และยังทำให้เกิดความ รู้สึกตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่เห็นร่วมกัน
ประการที่สาม การตกลงในประเด็นแวด ล้อมที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องจำเป็น บ่อยครั้งที่เรามัก
จะพบว่า การตกลงกันในเรื่องหนึ่งมักจะไม่เพียง พอ เพราะมันมักจะมีเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้น ในการตกลงกันแก้ไขปัญหาเรื่องหนึ่ง เราอาจจะ ต้องเพิ่มการแก้ปัญหาเรื่องอื่นเข้าไปด้วย
ประการสุดท้าย พยายามหาจุดที่จะต่อรอง กัน นั่นคือหาดูว่าเรื่องใดที่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับอีก
ฝ่ายหนึ่ง แล้วหากคุณยอมเขาในเรื่องนั้น เขาก็อาจ จะยอมคุณในเรื่องที่มีความสำคัญกับคุณ
แต่ไม่ สำคัญสำหรับเขา เพราะไม่บ่อยนักที่คนเราจะให้ ความสำคัญเท่าๆ กันกับเรื่องเดียวกัน
การยอมใน เรื่องที่ไม่สำคัญสำหรับเรา เท่ากับเปิดโอกาสให้ การเจรจาดำเนินต่อไป
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ ต้องอาศัยความอดทนและการยอมรับความแตกต่าง
ของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งความเข้าใจว่าทั้งสองฝ่าย ล้วนมีส่วนในปัญหาที่เกิดขึ้น
การเจาะจงว่าความผิด อยู่ที่ฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว และพยายามแก้ปัญหา ที่ฝ่ายนั้น
ย่อมทำให้ทางออกของปัญหาไม่มีทาง เกิดขึ้นเป็นจริง