ตฤณ ตัณฑเศรษฐี มืออาชีพไอเอสพี

โดย ฐิติเมธ โภคชัย
นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารไม่มากนักที่เติบโตมากับสายงาน ด้านวิจัยและพัฒนา และสามารถสร้างความสำเร็จในธุรกิจที่ได้ชื่อว่ามีการแข่งขันที่มากที่สุดธุรกิจหนึ่ง ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตฤณ ตัณฑเศรษฐี จะกลายเป็นผู้บริหารคนแรกในธุรกิจ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ที่นำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย

แม้ว่า การเข้าตลาดหุ้นของไอเน็ตครั้งนี้จะมีแรงหนุนส่งจากรัฐบาลอยู่มากก็ ตาม แต่ผลประกอบการที่เติบโตขึ้นต่อเนื่องของไอเน็ต ก็น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไอเน็ตถูกเลือกสำหรับงานนี้

ตฤณ เป็นศิษย์เก่าคณะวิศวกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญา โท สาขาบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ รุ่นเดียวกับกิตติรัตน์ ณ ระนอง

เริ่มงานครั้งแรกกับบริษัทไมโครเนติก ทำงานเป็นนักวิจัยและพัฒนาระบบคอมพิว เตอร์ ทำอยู่ 8 ปี จึงย้ายไปทำงานที่บริษัทดิจิตอล อีคิวเมนท์ ประเทศไทย จำกัด ซึ่งปัจจุบันได้ถูกบริษัทคอมแพคซื้อกิจการไป แล้ว

ช่วงที่ย้ายมาทำงานที่บริษัทดิจิตอล เขารับหน้าที่เป็นผู้พัฒนาระบบออกแบบซอฟต์แวร์ ตฤณบอกว่า หน้าที่เขาเหมือนกับหมอดูที่ต้องคาดการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยี ใหม่ ๆ

การร่วมงานกับดิจิตอลในช่วงนั้น ก็นับเป็นการบ่มเพาะความรู้ในเรื่องอินเทอร์เน็ตให้กับเขาอย่างต่อเนื่อง เขาต้องทำงานร่วมกับนักวิจัยต่างชาติอื่นๆ ซึ่งเป็นการทำงานอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของดิจิตอลที่เชื่อมโยงสำนักงานต่างๆ ทั่วโลก และอินเทอร์เน็ตในเวลานั้นยังเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเมืองไทย

ระหว่างนั้นเอง ตฤณ ต้องใช้เวลาว่าง ไปเป็นอาสาสมัครทำงานที่เนคเทค ช่วยเหลือ ดูแลเรื่องงานวิจัยพัฒนา และดูแลด้านเครือข่ายให้กับเนคเทค รวมถึงทางด้านอินเทอร์เน็ตด้วย

หลังจากอยู่ที่ดิจิตอล 4 ปี ตฤณย้ายกลับไปทำงานที่ไมโครเนติกอีกพักใหญ่ ก่อน จะตัดสินใจมาร่วมงานกับบริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ซึ่งเปิดดำเนินการมาได้เพียงปีเดียว และยังมีฐานะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ที่ใช้ชื่อศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย

ช่วงแรกเขาปฏิเสธ จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตได้รับยกเว้นการบริหารงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบราชการ

ดังนั้นแม้ว่าการทำงานในช่วงแรกต้องถือว่าเป็นช่วงที่ยากลำบาก เนื่องจาก ไอเอสพีเป็นธุรกิจใหม่ แต่การทำงานที่มีความคล่องตัว ไม่ต้องอยู่ภายใต้กติกาของภาครัฐ การตัดสินใจต่างๆ ก็ทำได้รวดเร็ว เป็นเรื่องจำเป็นของธุรกิจไอเอสพี และถือว่า มีส่วนสำคัญนอกเหนือไปจากการบริหาร

ไอเน็ต เป็นไอเอสพีที่ลงทุนทั้งในด้าน ของเครือข่ายต่างจังหวัด การลงทุนวงจรเช่าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายให้รอง รับทั้งลูกค้าส่วนที่เป็นองค์กรธุรกิจ และรายย่อย รวมทั้งการทำกิจกรรมการตลาดต่อ เนื่อง ทั้งในเรื่องของราคาและการออกบริการ รูปแบบใหม่ๆ ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ

ตฤณเชื่อว่า ความสำเร็จของไอเน็ตมาจากการทำงานหนัก และการร่วมมือของพนักงาน "เราไม่ได้มีสิทธิพิเศษใดๆ" โดยเฉพาะในแง่ของต้นทุนค่าเช่าวงจรที่ต้องเสียค่าเช่าให้กับการสื่อสารฯ เท่ากับรายอื่นๆ

รวมถึงการสร้างเครื่องมือที่สามารถวัดแและประเมินผลการดำเนินงานตลอดเวลา ว่ามีลูกค้า ยอดขายเท่าไร คุณภาพของ การบริการควรจะเป็นเช่นไร สามารถคาดการณ์การลงทุนได้ล่วงหน้า

"เป็นการเอาวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีมาช่วยพัฒนา เป็นประเด็นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ"

ถึงแม้จะไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจ และทำงานวิจัยและพัฒนามา โดยตลอดแต่อาชีพการงานของพ่อประกิต ตัณฑ เศรษฐี ประธานกรรมการบริษัทเสริมสุข จำกัด ก็เป็นแบบอย่างและทำให้เขาเรียนรู้ และปรับตัวเข้าเรื่องราวของธุรกิจได้ดีพอควร

แม้ว่าตฤณไม่ชอบออกงานสังคม แต่ คุ้นเคยกับการทำงานในช่วงเวลากลางคืน ซึ่ง มีความหมายสำหรับเขาที่จะใช้ไปกับการวิเคราะห์ธุรกิจ ดูแลเครือข่ายเพื่อที่จะเตรียม งานได้ก่อน สอดคล้องกับธุรกิจให้บริการอย่างไอเน็ต ที่ต้องเดินหน้าตลอด 24 ชั่วโมง

แม้ว่า เงินทุนจำนวน 270 ล้านบาท ที่ระดมได้จากตลาดหุ้น จะถูกนำมาใช้ในการ ขยายกิจการทั้ง 5 ส่วน คือ ไอดีซี การขยาย เครือข่ายสาขา บริการรับชำระค่าบริการผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับอาคารสำนักงาน และบริการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต

แต่ก็ต้องถือว่าเป็นจุดท้าทายในอีกครั้งหนึ่ง ที่ตฤณเองจำเป็นต้องเรียนรู้การประสานระหว่างผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ลูกค้า และกิจกรรมด้านสังคม ที่เขาเน้นย้ำมาตลอด

หรืออย่างน้อยเวลานี้ ตฤณเองก็เริ่มเรียนรู้กับการที่จะต้องพูดถึงตัวเลขผลประ กอบการ "ผมคงต้องพูดเรื่องผลประโยชน์ มากขึ้น"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.