6 วันในเกาหลีใต้


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน และ การเดินทางของบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแอลจี หนึ่งใน chaebols ของเกาหลีใต้ ที่ถูกสะท้อนในอีกมุมมองหนึ่ง

สัมผัสแรกเมื่อเครื่องบินแตะสู่รันเวย์ ของท่าอากาศยาน คิมโป ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ จากการไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแอลจี ที่เกาหลีใต้ ไม่ได้สร้างความรู้สึก ที่แตกต่าง ชนิดสุดขั้วเหมือนกับต่างถิ่นอย่างประเทศในแถบยุโรป ยิ่งอากาศของเกาหลีใต้ในยามนี้กำลังเข้าสู่หน้าร้อน อากาศในช่วงกลางวันไม่น้อยหน้าเมืองไทยนัก แต่ถึงจะร้อนยังไงอุณหภูมิก็ยังไม่ร้อนเท่าเมืองไทยอยู่ดี

แต่ ที่เหมือนกันมากก็คือ จราจร บนท้องถนน ประชากรของเกาหลีใต้มีอยู่ประมาณ 45 ล้านคน ในจำนวนนี้มีรถยนต์ใช้ถึง 29 ล้านคน รัฐบาลเกาหลีจึงต้องหามาตรการต่างๆ มาใช้ เพื่อบรรเทาปัญหา และหนึ่งในนั้น ก็คือ โครงการ car full โครงการ "รถเต็ม" ที่ว่านี้ ก็ เพื่อรณรงค์ให้คนเกาหลีเก็บรถไว้ ที่บ้าน ใครไปทางเดียวกันก็ให้ใช้รถร่วมกัน

รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้วิธีสร้างแรงจูงใจ โดยรถคันไหน ที่ทำตามมาตรการนี้ จะได้รับสิทธิพิเศษ ได้รับลดหย่อนภาษีรถยนต์ และเมื่อวิ่งผ่านอุโมงค์ หรือทาง ด่วน ไม่ต้องจ่ายเงินค่าผ่านทาง โดยจะมีป้ายสติกเกอร์เล็กๆ ติดไว้หน้ารถว่าเป็น รถในโครงการ car full ซึ่งอุโมงค์บางแห่ง จะไม่เก็บสตางค์ หรือมีราคาลดพิเศษ แก่รถ ที่มีคนนั่งมาเต็มคันด้วย

ชาวเกาหลีเขาก็ใช้วิธีการหา เพื่อนร่วมทาง เพื่อเข้าโครงการ car full ง่ายๆ ด้วยการติดป้ายไว้หน้ารถว่า รถคันนี้จะต้องเดินทางจากไหนไปไหน เพื่อให้คนที่ผ่านไปมา ที่มีบ้าน และสถานที่ทำงานอยู่เส้นทางเดียวกันสนใจจะร่วมนั่งมาในรถ ก็จะเขียนชื่อ ที่อยู่ เส้นทาง ที่จะขึ้น และลง เบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อเสียบไว้หน้ารถ เพื่อให้เจ้าของรถติดต่อกลับไป เมื่อได้สมาชิกครบ 4 คนแล้ว ก็ส่งรายละเอียดไปยังหน่วยงานของรัฐ ที่รับผิดชอบ เพื่อขอสติกเกอร์มาแปะไว้หน้ารถ

รวมทั้งมาตรการให้รถวิ่งสลับกัน รถทะเบียนลงท้ายด้วยเลขคู่วิ่งได้เฉพาะวันที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ และเลขคี่ ซึ่งสมัยหนึ่งรัฐบาลไทย ก็เคยคิด ที่จะนำเอา มาตรการเหล่านี้มาใช้แต่ก็ไม่ได้ผล

มาตรการที่ว่านี้ไม่ได้ระบุว่า แก้ปัญหาการจราจรได้มากน้อยแค่ไหน แต่ก็มีชาวเกาหลีจำนวนไม่น้อย ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อาจเป็นเพราะความอนุรักษนิยม ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ในชนชาติเกาหลี

โลกไร้พรมแดน ดูจะไม่ได้ผลเท่าไรสำหรับ ที่ประเทศเกาหลีใต้ เพราะรถยนต์ ที่วิ่งขวักไขว่อยู่บนท้องถนน ร้อยละ 99.5% ล้วนแต่เป็นรถ ที่ผลิตขึ้นในเกาหลีใต้ทั้งสิ้น ไล่มาตั้งแต่ยี่ห้อ ฮุนได แดวู เกีย "ตุ๊กตา" ล่ามสาว ที่แอลจีว่าจ้าง มา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทีม ผู้สื่อข่าว ถึงกับท้าว่า ให้ลองนับรถเบนซ์ ที่วิ่งบนท้องถนนว่าจะมีสักกี่คัน และก็จริงดัง ที่เธอว่าไว้ อย่าว่าแต่รถเบนซ์ รถนำเข้ายี่ห้ออื่นๆ ก็แทบจะไม่มีให้เห็น

การใช้รถยนต์ของ ที่นี่ก็ไม่แตกต่างไปจากประเทศผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย ที่จะใช้รถกันเต็มที่แค่ 5 ปี จากนั้น ก็จะขายเป็นเศษเหล็ก และกลายมาเป็นสินค้าชั้นดีส่งมาขายให้กับประเทศ ที่ 3 อย่างเซียงกงบ้านเราอีกที รถรา ที่วิ่ง บนท้องถนน ประเภทเก่าคร่ำคร่า แทบจะเป็นเศษเหล็กจึงไม่มีให้เห็น ส่วนใหญ่ เป็นรถรุ่นใหม่ ที่แม้หน้าตาจะไม่มีแบบสุดหรู หรือลูกเล่นมากมาย แต่ก็มีให้เลือกหลายรุ่น

การมีรถไม่ใช่เรื่องยากของ ที่นี่ รายได้เฉลี่ยของชนชั้นกลางในเกาหลี ที่จบปริญญาตรี จะอยู่ในระดับ 40,000 บาท บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เอง ก็มีโปรโม ชั่นประเภทดาวน์น้อยผ่อนนาน

หลายคนบอกว่า บ้านเมืองของเกาหลีใต้คล้ายกับประเทศญี่ปุ่น ตึกราม บ้านช่องจะเป็นอาคารสูง ที่เรียงรายอยู่ทั่วไป ที่เห็นชัดๆ ก็คือ อาหารการกิน ที่ ชาวญี่ปุ่นทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้ อาหารการกินหลายอย่างจึงคล้ายคลึงกับชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะข้าว สาหร่าย บะหมี่เย็น ซุปถั่วเหลือง ถั่วแดง

6 วันเต็ม ทำให้ได้รู้ว่า กิมจิอาหารประจำชาติ ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของเกาหลีใต้มีอยู่มากมายหลายสิบชนิด เผ็ดมากน้อย หวาน เค็ม ประเภทของผัก มีทั้งชนิดแบบแห้ง และแบบน้ำ ซึ่งกิมจิแบบน้ำนั้น ทั้งหน้าตา และรสชาติก็ใกล้เคียง "แกงส้ม" ของบ้านเรา

ยิ่งในช่วงนี้ด้วยแล้ว ประเทศญี่ปุ่นกำลังคลั่งไคล้อาหารเกาหลี ที่เข้าข่ายอาหาร เพื่อสุขภาพ เนื่องจากวัตถุ ดิบ ที่ใช้ทำอาหารส่วนใหญ่จะทำจากถั่วชนิดต่างๆ เมล็ดพืช ไม่ว่าจะเป็นไวน์ ทำจากข้าว หรือแม้แต่เครื่องดื่มยอดฮิตของเกาหลีเวลานี้ ที่เป็นคู่แข่งของโค้ก ก็คือ น้ำข้าวกระป๋องแช่เย็น

ถึงแม้จะมีร้านอาหารให้เห็นอยู่ดาษดื่น แต่คนเกาหลีส่วนใหญ่กลับไม่นิยมไปกินอาหารนอกบ้าน ชอบ ที่จะทำกินกันเองภายในครอบครัว เจ้าหน้าที่หนุ่ม วัย 32 ปี ชาวเกาหลีของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ เล่าให้ฟังว่าช่วงวันหยุด เขาจะลงมือทำกับข้าวกินเอง และกำลังจะไปเรียนทำอาหารอิตาลีใกล้ๆ ที่ทำงาน

หนุ่มๆ เกาหลีใต้ทุกคนเมื่ออายุครบ 19 ปี จะต้องไปเป็นทหาร 3 ปี คนไหน ที่ยังเรียน ก็ขอผ่อนผันเข้าค่ายหลังเรียนจบได้ การทำงานของคนที่นี่จะช้ากว่าคนไทย เพราะจะเริ่มต้นกัน ที่ อายุ 25 ปี

ถึงแม้กระแสโลกาภิวัตน์จะไม่สามารถกล้ำกลายเข้ามาในประเทศ แต่ผู้คนที่นี่ ก็เหมือนกับผู้ผลิตสินค้า ที่จะไปกอบโกยแสวงหาความรู้ในต่างประเทศ คนส่วนใหญ่ของ ที่นี่ หากไม่ไป เรียนภาษาในช่วงซัมเมอร์ จะบินไปเรียน ต่อต่างประเทศทันที ที่เรียนจบ

จะว่าไปแล้ว ความอนุรักษนิยมของชาวเกาหลีใต้ น่าจะมีแรงกดดันมาจากประวัติศาสตร์อันขมขื่นของชาวเกาหลี ที่เคยถูกรุกรานจากชนชาติอื่นมานานหลายศตวรรษ นับตั้งแต่การยึดครองของจีน จนเมื่อจีนอ่อนแอ ญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองแทน จนกระทั่งสงครามโลก ครั้ง ที่ 2 เสร็จสิ้นลง และทำให้ดินแดน ของเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีก จนต้องเป็นที่มาของการประชุมครั้งสุดยอดของผู้นำคิมทั้งสอง

แต่ดูเหมือนว่า จะไม่มีร่องรอยของประวัติศาสตร์ช่วงไหน ที่สร้างความปวดร้าวให้กับชาวเกาหลีได้มากเท่ากับการถูกยึดครองจากญี่ปุ่น เรื่องราวต่างๆ ที่เกาหลีได้รับจากการกระทำของญี่ปุ่น ที่ "ตุ๊กตา" ล่ามสาวชาวเกาหลี อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน ที่เคยเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ่ายทอดให้ฟังเท่า ที่โอกาส จะอำนวย สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีชาวเกาหลีอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังมีความรู้สึก ฝังใจกับการกระทำของชาวญี่ปุ่น ถึงแม้จะผ่านมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม ขณะที่บางส่วนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ก็อาจจะไม่เข้าถึงความรู้สึกนี้เหมือนกับผู้สูงอายุ ที่ร่วมในเหตุการณ์ก็ตาม

พระราชวัง Kyungbok palace คือ ร่องรอยประวัติศาสตร์ความโหดเหี้ยม ที่ยังคงถูกจารึกไว้ในใจของคนเกาหลีตราบจนทุกวันนี้ จากตำหนัก ที่มีอยู่ถึง 300 แห่ง ถูกเผาเรียบเหลือไว้เป็นอนุสรณ์อยู่เพียง 3 หลัง

การเผาพระราชวังของญี่ปุ่นในครั้งนั้น ก็ เพื่อต้องการทำลายฮวงจุ้ยของประเทศเกาหลี เพราะ ที่ตั้งของพระราชวัง นี้อยู่ในทำเล ที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุด ด้านหน้าเป็นแม่น้ำ ด้านหลังเป็นภูเขา ที่มีรูปคล้ายกับเสือ การเผาให้เหลือเพียงตำหนัก 3 หลัง ไม่เผาให้หมด เพื่อประกาศศักดาของญี่ปุ่น เพราะเมื่อมองจากทางอากาศ มายังตำหนัก ที่เหลืออยู่ 3 หลัง จะอ่านเป็นคำในภาษาจีน ที่แปลว่า ญี่ปุ่น

ชาวเกาหลีเชื่อว่า ที่ตั้งของประเทศ ตรงตามหลักฮวงจุ้ยที่ดี ด้านหน้ามีแม่น้ำ ไหลผ่านตลอด ด้านหลังโอบล้อมด้วยภูเขานับพันๆ ลูก เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครอง นอกเหนือจากการเผาสถานที่สำคัญๆ แล้ว ก็คือ การนำเอาเหล็กขนาด ใหญ่ไปเสียบปักกลางภูเขา เพื่อหวังจะทำลายฮวงจุ้ย ซึ่งรัฐบาลเกาหลีก็ไล่ตามขุด แต่ก็ยังไม่หมดจนทุกวันนี้

ถึงแม้ช่วงเวลาของฝันร้าย ที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากชนชาติ ที่เข้ามาปกครอง แต่มันกลับเป็นแรงผลักดันให้เกาหลีใต้พัฒนาตัวเองกลายมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม สร้างสรรค์เทคโนโลยีของตัวเอง เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศ ที่พัฒนาแล้ว

ปัจจุบันเกาหลีกลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แห่งหนึ่งของโลก ผลิตสินค้าส่งออกไปขาย และทำรายได้มหาศาล และกลายเป็นคู่แข่งสำคัญๆ ใน ตลาดระดับโลก

สำหรับแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ เจ้าภาพการเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงาน และทำให้ได้สัมผัสเกาหลีในแง่มุมต่างๆ จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มแชโบลของเกาหลีใต้ ที่มีรายได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รอง จากฮุนได ที่มียอดขายอันดับหนึ่ง 88,649 พันล้านวอน ซัมซุงมาเป็นอันดับ สอง มีรายได้ 67,384 พันล้านวอน แอลจี มีรายได้ 47,612 พันล้านวอน และกลุ่มเอสเค มีรายได้ 40,147 พันล้านวอน

หากนำรายได้ของสี่รายนี้มารวมกัน จะเป็นสัดส่วน 57.6% ของกลุ่ม แชโบล 30 แห่งใหญ่ของเกาหลีใต้

อันที่จริงแล้วชื่อเดิมของเครื่องใช้ไฟฟ้า แอลจี ที่รู้จักกันดีในเมืองไทย ก็คือ Goldstar ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 และเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 1988 จน กระทั่งในปี 1996 เมื่อโกลด์สตาร์ถูกรวม เข้ากับกลุ่มธุรกิจ Lucky แชโบลรายใหญ่ของเกาหลีใต้ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น LG Electronics ที่หันมาเน้นผลิตสินค้า ที่ไฮเทคมากขึ้น มีภาพลักษณ์ ที่มากขึ้น

ธุรกิจภายใน แอลจีกรุ๊ป ไม่ได้มีแค่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเท่านั้น แต่ ยังครอบคลุมไปถึงการผลิตเครื่องเสียง อุปกรณ์มัลติมีเดีย ผลิตตั้งแต่ cd-rom DVD-ROM Drive โน้ตบุ๊ค ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบธนาคารอัตโนมัติ เป็นสินค้า ที่เกี่ยวเนื่องกันแล้ว

ใครรู้บ้างว่า แอลจียังมีโรงงานผลิตสารเคมี โรงงานผลิตสายเคเบิล (LG Cable) ธุรกิจปั๊มน้ำมัน "แอลจี" ร้านค้าปลีก LG25 คู่แข่งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น รวมถึงธุรกิจไอที ที่ถูกแยก เป็น LGIC (LG Information and Communication)

แอลจี ครองส่วนแบ่งการตลาดมือถือ ที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต 59% ในประเทศจากยอดขาย 1.1 ล้านเครื่อง ซึ่งแอลจีเชื่อว่า ตลาดนี้จะโตไปได้ถึง 7 ล้านเครื่อง อันที่จริงแล้วเกาหลีใต้มีโทรศัพท์มือถือใช้งานช้ากว่าเมืองไทยหลายปี แต่เวลานี้โทรศัพท์มือถือต่อเชื่อม เข้าอินเทอร์เน็ต ที่สามารถดาวน์โหลดเพลงจากระบบ MP3 ที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง น่าเสียดายเครื่องลูกข่ายเหล่านี้ เป็นระบบซีดีเอ็มเอ ซึ่งในไทยเองระบบนี้ยังไม่แพร่หลาย คนไทยจึงไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับเครื่องลูกข่ายลักษณะนี้

แอลจีกำลังสร้างเส้นทางเดินเข้าสู่ยุค "ดิจิตอล" อย่างขะมักเขม้น เครื่อง ใช้ไฟฟ้าหลายชนิดถูกพัฒนาให้ต่อเชื่อม เข้ากับอินเทอร์เน็ต ตู้เย็นรุ่น DIOS ที่มีจอภาพ LCD และระบบ LAN ฝังอยู่ในตัวเตาไมโครเวฟ ที่ฝังโมเด็ม และภาพ LCD ไว้ในตัว ทั้งหมดนี้คือ ผลพวงของ การเป็น "Digital LG" อันเป็นเป้าหมาย หลัก สำหรับปี 2000 นั่นหมายความว่า ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต เครื่องใช้ไฟฟ้าจะถูกต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต

ความมั่นใจของพวกเขามาจากการที่เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศ ที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดรองจากประเทศฟินแลนด์ ที่เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ สัญญาณการพัฒนานี้ ยังมาจากการที่เกาหลีใต้เองมีเป้าหมาย ที่จะพลิกโฉมระบบทีวีในประเทศให้เป็นระบบดิจิตอล ภายในปี 2002 แน่นอนว่า ต้อง เป็นเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา โทรศัพท์มือถือในเกาหลี ก็ใช้ระบบซีดีเอ็มเอ ที่พัฒนามาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา

เวลานี้เกาหลีใต้จะมีประชากร 10 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นตัวเลข ที่สูงเอาการเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกัน ถึงแม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ ยังถูกยึดครองโดยกลุ่มแชโบล แต่บรรดาดอทคอมหลายแห่งในเกาหลีใต้ก็เหมือนกับประเทศในแถบเอเชีย ที่มีโอกาสลืมตาอ้าปาก เติบโตมากๆ ในเวลา นี้ โฆษณา ที่ปรากฏในโทรทัศน์จะเป็นธุรกิจดอทคอมถึง 1 ใน 3 เช่นเดียวกับตามโรงแรมระดับ 5 ดาว ไม่ว่าจะเป็นใน กรุงโซล หรือเมืองท่า เมืองตากอากาศ จะมีบริการอินเทอร์เน็ตถึงในห้องพัก รูปแบบก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่เป็นบริการ แบบอินเตอร์แอคทีฟทีวี มีคีย์บอร์ด ใช้หน้าจอทีวีแทนมอนิเตอร์ หรือเฉพาะคนที่ต้องมีเครื่องโน้ตบุ๊คเท่านั้น

และทั้งหมดนี้คือ สัญญาณ ที่ส่งไปถึงผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ ไอทีอย่างแอลจี จะต้องหันมาผลิตสินค้า และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอินเทอร์เน็ตให้ได้ครบทุกประเภทตู้เย็น และไมโคร เวฟ เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น

" เพื่อน" หรือพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการดำรงอยู่ในโลกใบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกยุค ดิจิตอล การขาด เพื่อนย่อมหมายถึงการ ตกยุค แอลจีเองก็มี " เพื่อน" ทางธุรกิจแล้วหลายราย โน้ตบุ๊ค ที่วางขายภายในประเทศ ก็เป็นผลพวง ที่เกิดขึ้นจากการร่วมลงทุนกับไอบีเอ็ม และแอลจียังมี คู่ค้า ที่สำคัญอย่างฟิลิปส์มาช่วยในเรื่องการผลิตจอภาพ แบบ TFT LCD สำหรับ การผลิตจอภาพในเครื่องโน้ตบุ๊ค พีซี รวมถึงการลงทุนร่วมกับฮิตาชิของญี่ปุ่น ในการพัฒนาระบบโซลูชั่น ในการติดตั้งระบบไอทีภายในองค์กร

"เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทในยุคดิจิตอล ต้องทำไม่ว่าจะเป็นการรวมกันระหว่างแอลจีกับคู่แข่งอย่างซัมซุง ถ้ารวมกันก็ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อนให้ประโยชน์กับบริษัททั้งสอง และเป้าหมายนี้ไม่ใช่แค่ใน ประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศ อื่นๆ ด้วย" Byung Chul Jung Chief Financial Officer บริษัทแอลจี อิเล็ก ทรอนิกส์ บอกกับผู้สื่อข่าวในงานเลี้ยงอำลาวันสุดท้ายในเกาหลีใต้

แอลจีมีโรงงานผลิตหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่งในนั้น ก็คือ โรงงานผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานผลิตเครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ ที่คณะผู้สื่อข่าวจากไทยได้เดินทางไปเยี่ยมชม ตั้งในเมือง Pusan เมือง ท่าใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกรุงโซล

เทคโนโลยีในการผลิตเหล่านี้ได้ถูกเคลื่อนย้าย ขยายไปผลิตในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งไทยเอง ก็มีโรงงาน ผลิตเครื่องซักผ้า ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม่แตกต่างกัน ซึ่งเวลานี้ก็ผลิตได้ทั้งแบบถังเดี่ยว และ 2 ถัง

แหล่ง ที่ตั้งโรงงานผลิตอีกแห่ง ที่สำคัญของแอลจี อยู่ ที่เมืองกูมิ ที่เรียกได้ว่าเป็นเมืองอุตสาหกรรมของแอลจีเลยก็ว่าได้ เพราะ ที่นี่เป็นที่ตั้งของโรงงาน ผลิตสินค้าหลายประเภท ทั้งในสายทางด้านออดิโอ มัลติมีเดีย สายเคเบิล

โรงงาน ที่ไปเยี่ยมชม เป็นโรงงาน ผลิตทีวี ทั้งแบบจอโค้ง และจอแบน ที่รวมเอาโรงงานผลิตหลอดภาพ โรงงานผลิตทีวี นับว่ามีขนาดใหญ่มาก การผลิต ส่วนใหญ่จะใช้หุ่นยนต์ถึง 80% เจ้าหน้าที่ ของแอลจี ให้เหตุผลว่า เนื่องจากการผลิตทีวี จะเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก และในบางช่วงก็ต้องใช้อุณหภูมิ ที่สูงมากกว่า 400 องศาเซลเซียส เพื่อเชื่อมระหว่างด้านหน้า และด้านหลัง ของจอ จะใช้คนเพียงแค่ 20% ส่วนใหญ่ จะเป็นการตรวจสอบคุณภาพ และในการบรรจุภัณฑ์ในบางช่วงเท่านั้น

น่าเสียดาย ที่ไม่ได้ไปเห็น โรงงาน ผลิตโทรทัศน์แบบจอแบน แบบพลาสม่า ทั้งแบบ PDP และ จอ LCD ที่กำลังมาแรง และแอลจีเอง ก็เพิ่งผลิตเครื่องต้นแบบ ทีวีจอแบน PDP ขนาด 60 นิ้ว เป็น HDTV ที่แอลจี เคลมว่าเป็นรายแรกของ โลก ที่ผลิตออกมาได้ขนาดใหญ่เท่านี้

แอลจีมีการขยายฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องไปมากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก และ ที่ตั้งสำนักงาน 54 สาขาทั่วโลก พนักงาน 50,000 คนทั่วโลก และรายได้มากกว่า 80% มาจากต่างประเทศ แอลจี มีตลาดใหญ่อยู่ในประเทศแถบยุโรป ตะวันออกกลาง และละติน อเมริกา

ตลาดในย่านเอเชียแปซิฟิก แอลจีเองก็มีสำนักงาน และโรงงานอยู่ในเกือบทุกประเทศ รวมทั้งไทย แอลจีเชื่อว่า สิ่งที่จะทำให้แข่งขันกับสินค้าของ ญี่ปุ่นได้ก็คือ ราคา และนั่นก็คือ สาเหตุที่แอลจีจะขยายฐานการผลิตไปในประเทศต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง จากค่าแรง ที่ถูกลง ให้พอจะสู้กับสินค้าญี่ปุ่น ที่ผลิตจากญี่ปุ่น ที่มีราคาแพงมากกว่า

สิ่งที่แอลจีต้องทำมากไปกว่านั้น ก็คือ สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดไปทั่วโลก แต่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทย ก็ยังเป็นโจทย์ยากสำหรับแอลจี กับการที่ต้องต่อสู้กับความเชื่อมั่นของลูกค้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ที่ยึดครองตลาดในย่านนี้มานานหลายสิบปี

เป็นสิ่งที่ Byung Chul Jung ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของแอลจีเองก็ยอมรับว่า ไม่ง่ายนักสำหรับสร้างแรงศรัทธาให้เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่จะไม่มีโอกาส เมื่อเขามองว่า ตลาด เมืองไทย มีข้อดีอยู่ ที่ผู้บริโภคเปิดรับสินค้าใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

แน่นอนว่าหนีไม่พ้นเรื่องโปรโม ชั่น และนี่เอง ที่แอลจีจึงต้องอัดฉีด ทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ชื่อของแอลจีไปทั่วโลก สร้างชื่อในการเป็นผลิตภัณฑ์มีระดับ เป็นสินค้าไฮเทค ที่ก้าวทันกับโลกดิจิตอล แอลจีใช้ งบโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย 200 ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี ไม่รวมงบต่างหากของแต่ละประเทศ อย่างเช่น ในไทย ที่แอลจีมิตรเองก็มี งบประมาณในเรื่องนี้ 150 ล้านบาท

การเชิญสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมโรงงาน ก็เป็นหนึ่งในแผนประชาสัมพันธ์ ซึ่งแอลจีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเชิญไป ยังประเทศอื่นๆ ที่แอลจีเข้าไปทำตลาด

ภาพพจน์ หรือภาพลักษณ์ เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้

ธรรมเนียมการปฏิบัติระหว่าง บริษัทยักษ์ใหญ่กับสื่อมวลชน ก็เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจ เพราะทุกๆ เย็นของแต่ละวัน จะมีพนักงาน ที่เป็นลูกจ้างขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ที่ถูกว่าจ้างมา เพื่อทำหน้าที่มาตรวจสอบข่าวของตน ที่สำนักพิมพ์ โดยคนเหล่านี้เดินทางมา ที่สำนักพิมพ์ต่างๆ ในช่วงเย็น ที่ถูกตีพิมพ์ออกมาบางส่วน เพื่อดูข้อผิดพลาด ก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เพื่อวางขายในวันรุ่งขึ้น

พนักงานจากบริษัทขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้เหล่านี้ จะต้องตรวจสอบว่า มีข่าว ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของตนหรือไม่ และถ้ามีข่าวในแง่ลบ หรือไม่ถูกต้อง ก็จะได้ขอชี้แจง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขอแก้ไขข่าวก่อนจะถูกตีพิมพ์ และวางจำหน่ายในวันรุ่งขึ้น ถ้ามีระบบนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว คงวุ่นวายดีพิลึก เพราะ นอกจากบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่จะต้อง คอยว่าจ้างคนมานั่งเฝ้ากันทุกโรงพิมพ์ โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และนักการเมืองทั้งหลาย คงจะมีแต่ข่าวทางบวกไม่มีข่าวเสียหาย หนังสือ พิมพ์เองคงต้องทำงานหนักอีกเท่าตัว เพราะต้องคอยแก้ข่าวกันจ้าละหวั่น

ย้อนกลับมา ที่แอลจี นอกเหนือจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ที่เริ่มเป็นที่รู้จักแล้วในตลาดเมืองไทย แอลจีเองเริ่มทยอยสินค้าในหมวดหมู่อื่นๆ อย่าง มัลติมีเดีย และไอที แล้วไม่ว่าจะเป็นจอมอนิเตอร์ เครื่องเล่น MP3 แต่จะเลือกวางตลาดสินค้าใด ก็ต้องประเมินจากความต้องการของตลาด

ประเด็นสำคัญของการรวมกันระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้สำหรับบริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่อย่างแอลจีกับการจะมีเกาหลีเหนือกลายเป็นตลาดใหม่ ประชากร 25 ล้านคน โดยเฉพาะแอลจีเอง มีโรงงานผลิตโทรทัศน์ในเกาหลีเหนืออยู่แล้ว แต่ไม่ว่าจะเป็น การลงทุน ที่ไหนในโลกก็ตาม ไม่ว่าจะเกาหลีเหนือ จีน หรือไทย สิ่งที่แอลจี มองก็คือ ผลลัพธ์ทางด้านธุรกิจมากที่สุด ไม่ใช่แค่แรงงานราคาถูก แต่ยังรวมถึงความมั่นคงทางการเมือง วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ

และนี่เอง ที่ผู้บริหารของแอลจีต่างก็เชื่อมั่นว่า ยังคงจะลงทุนในตลาดเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ก็เนื่องจากคุณ สมบัติของเมืองไทย ที่ยอมรับสินค้าจาก ประเทศต่างๆ ไม่มีปัญหาเรื่องการอนุรักษนิยมเหมือนกับในเกาหลีใต้ ที่ ไม่ยอมใช้สินค้าของชาติอื่น

คำยืนยันนี้ โรงงานแอลจีในไทยจะเริ่มขยายการผลิตจากทีวีจอธรรมดา เพิ่มทีวีจอแบน เข้ามาอยู่ในสายการผลิต สำหรับป้อนตลาดในประเทศ และส่งออก และมีแผนการตั้งโรงงานเครื่องปรับอากาศ จะเริ่มต้นผลิตในไทยในปีหน้า ยังรวมไปถึงเตาไมโครเวฟ จอมอนิเตอร์ ที่อยู่ในแผนระยะยาว

การคืนกำไรของแอลจี นอกเหนือจากการสนับสนุนในเรื่องการศึกษา แล้ว ศูนย์สาธิตวิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา หรือ LG SCIENCE HALL ที่ตั้งอยู่ชั้นบนของอาคารทวินทาวเวอร์ ซึ่งเป็น อาคารสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่กลางกรุงโซล

ใน LG SCIENCE HALL เป็นเรื่องของจินตนาการของแอลจี ที่มีต่อโลกในอนาคต ทั้งเรื่องของพลังงาน สภาวะแวดล้อม การแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคร้าย และทำการรักษา ชีวิตความเป็นอยู่ในยุคดิจิตอล การผลิตคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นระบบมัลติมีเดีย ห้องเรียนในบ้าน (Home Edumation) เทคโนโลยีชีวภาพ การคิดค้นหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ที่ใส่ไปในร่างกายมนุษย์

ถึงแม้ว่า เทคโนโลยีหลายอย่าง ไม่ได้แตกต่างไปจากผู้ผลิตสินค้ารายอื่น หรือบางห้องก็เป็นการนำเสนอ ในเรื่องการใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริง เครื่องเล่น ซีมูเรเตอร์ ที่เมืองไทยเองก็มีให้เห็นทั่วไป แล้วก็ตาม แต่สำหรับบริษัท ที่วางเป้าหมายสู่ยุคดิจิตอลแล้วเป็นเรื่องจำเป็น

เพราะเส้นทางดิจิตอลของแอลจี ก็เหมือนอีกหลายบริษัท ที่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น สำหรับผู้สื่อข่าวแล้ว งานนี้นอก จากจะได้เห็นบรรยากาศ โรงงานผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตสินค้าไฮเทคแล้ว ที่พลาดไม่ได้ สำหรับผู้ที่มาเยือนเกาหลี ก็หนีไม่พ้นสินค้าแบรนด์เนม อย่างกุชชี่ หรือ หลุยส์วิตตอง ชาแนล เฟอรากาโม บนถนนอิเตวอน เพราะสินค้าระดับ แบรนด์เนมโลกของ ที่นี่ยังมีให้เลือกตั้งแต่ระดับเกือบเหมือน ไปจนเหมือนมาก ประเภทเจ้าของต้นตำรับมาเห็นก็อาจแยกออกได้ยากขึ้นอยู่กับว่า จะตีสนิทกับไกด์นำทางได้มากแค่ไหน เพราะยิ่งเหมือนเท่าไร แหล่งผลิตจะอยู่ในซอกหลืบ ที่ลึกเข้าไปมากเท่านั้น

จะว่าไปแล้ว นี่ก็เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ก็อย่างที่รู้สำหรับเกาหลีใต้แล้ว กระแสโลกไร้พรมแดนไม่มีวันเยี่ยมกรายเข้าประเทศ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.