โธ่...ละครโอเปร่า "La Traviata"

โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ละครโอเปรากลายเป็นวัฒนธรรมฝรั่งที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งสูงส่งที่ยากจะสัมผัส และเข้าใจได้ทั่วไป ทั้งๆที่ เรื่องราวมิได้แตกต่างกว่า "ข้างหลังภาพ" ของศรีบูรพาเลย เพราะความเป็นสากลเกี่ยวกับอารมณ์อันขัดแย้งระหว่างโลกที่แท้จริงแห่งอารมณ์มมุษย์ กับโลกจอมปลอมของวิถีทางสังคม (great pretender) ที่จิตมุนษย์ไซร้ยากแท้หยั่งถึง

La Traviata ได้เปิดแสดงเป็นครั้งแรกที่เมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี ในปี 1853 โดยมหาอุปรากร เรี่องนี้มีความยาวสามองก์ที่ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง La dame a Cameilas ของอเล็กซองตร์ ดูมาส์ ภายใต้การกำกับดนตรีของ Giuseppe Verdi วาทยกรเอกของโลก ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1813-1901 โดยผลงานละครโอเปราชิ้นเอกที่ Verdi ฝากไว้ในแผ่นดินมีมากมาย เช่น Macbeth, Otello, Ave Maria

แต่สำหรับเรื่อง La Traviata ที่คณะโอเปรามอลโดวา (Moldova Opera House) จากสาธารณรัฐ รัสเซีย ได้จัดแสดงในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติครั้งที่ 3 (Bangkok's 3rd International Festival of Dance & Music) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าพอใช้ได้แต่ยังไม่น่าประทับใจ

เริ่มจากการตกแต่งฉากเรียบง่ายตามท้องเรื่องในร้านเหล้าในกรุงปารีส ยุคปี 1700 เสียงร้องเพลงหมู่ "Brindisi : "Libiamo" ที่ประสานกับดนตรีบรรเลงดังกระหึ่มตรึงผู้ชมทั้งไทยและเทศไว้กับที่

การแสดงออกถึงอารมณ์ด้วยเสียงร้องโซปราโน่อันแหลมสูงของมาเรียน นา ปอลคอส ที่แสดงเป็น "วิโอเล็ตตา วาเลรี" ตัวเอกหญิง ขณะที่การดำเนินเรื่องต่อไปค่อยๆ เปิดตัวเอกชาย "อัลเฟรโด" กับเสียงร้องหลายเพลง เช่น เพลง Un di Felice ตอนสารภาพรักต่อ วิโอเล็ตตา วาเลรี และเพลง De miei bollenti spiriti บรรยายความอิ่มเอมใจสมหวังในรัก

ความรื่นรมย์จากเพลง Di Provenza ที่พ่ออัลเฟรโดร้องเตือนลูกชายให้คืนกลับสู่บ้านเกิดอันแสนสุขในแคว้นโปรวองซ์อันงดงาม สร้างจินตภาพได้มากกว่าเพลงอื่น

แต่โดยรวมแล้วกระแสเสียงร้องและดนตรีในค่ำคืนนั้นมิอาจนำอารมณ์ผู้ชมให้เข้าถึง ภาวะอันโดดเดี่ยวเดียวดายและผิดหวังในรักของ หญิงผู้พ่ายแพ้ได้ด้วยข้อจำกัดของนักแสดงและ สถานที่ ซึ่งมีตัวอักษรคอมพิวเตอร์สีแดงวิ่งพากษ์ภาษาไทยคอยแยงตาผู้ชมในความมืดอย่างน่ารำคาญใจ ไม่รวมถึงการปรบมือระหว่าง การแสดงซึ่งผู้จัดขอร้องอย่างสุภาพว่าโปรดงด

ความสำเร็จเพียงประการเดียวที่เห็นได้ คือ สายสัมพันธ์ของรพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ หรือ "จิ้งหรีด" ที่สามารถดึงเอาบุคคลสำคัญของ ประเทศร่วมงานตลอดมหกรรมได้ ภายใต้การประชาสัมพันธ์อันแข็งขันของ MDK Consultants (Thailand)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.