เขาเป็นมืออาชีพด้านโฆษณาที่ได้รับเลือกขึ้นเป็นแม่ทัพที่ต้องคุมงานด้านการตลาดทั้งหมด
ให้กับกิจการโทรศัพท์มือถือที่กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง
การได้รับเลือกขึ้นมาดำรงตำแแหน่ง Executive Vice President Marketing ของทรงศักดิ์
ภายใต้โครงสร้างใหม่ของเอไอเอส ที่ดูจะเหนือความคาดหมายไม่น้อย
แต่เมื่อดูถึงประสบการณ์ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมาของเขาแล้ว ทรงศักดิ์ไม่ใช่หน้า
ใหม่สำหรับเอไอเอสแต่อย่างใด
กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เอสซี แมทช์บอกซ์ ที่ทรงศักดิ์เป็นผู้บริหารผูกขาดทำโฆษณาให้กับเอไอเอสมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของ
ธุรกิจ จนกระทั่งกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นได้เข้าซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อมาเป็นเอสซี
แมทช์ บอกซ์ เพื่อดูแลด้านโฆษณาให้กับเอไอเอสใกล้ชิดขึ้น ทรงศักดิ์ยังคงทำหน้าที่ในการบริหารบริษัทโฆษณาแห่งนี้ดังเดิม
ทรงศักดิ์ เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตย-กรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
(ลาดกระบัง) เคยเข้าอบรมโปรแกรม strate-gic marketing management program
ของ Harvard business school เป็นหนึ่งในหลักสูตร ที่ชินคอร์ปมักส่งผู้บริหารไปอบรม
ผ่านประสบการณ์ในธุรกิจโฆษณามา ตั้งแต่ปี 2525 ตำแหน่ง Art director บริษัท
COVE-ITO-PREMIER ย้ายมาทำงานในตำแหน่ง เดียวกันที่บริษัท ดีดีบี นีทแฮม
(ประเทศไทย) จำกัด 3 ปี ก่อนจะไปเป็น Creative director ที่บริษัท D,Y&R
และมาตั้งบริษัทเอสซี แมทช์ บอกซ์
ระยะเวลา 10 กว่าปี ที่อยู่ร่วมในฐานะ ผู้รับผิดชอบงานโฆษณาให้กับเอไอเอส
ทรงศักดิ์ถูกจัดเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสและ เป็นผู้หนึ่งที่มีความเข้าใจ
รับรู้ความเป็นมาของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ รับรู้จุดอ่อนจุดแข็ง ของบริการของตัวสินค้ามาเป็นอย่างดี
"การเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโฆษณา ไม่ได้หมายความถึงการเป็นคนคิด
คำพูดดีๆ แต่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ วัตถุประสงค์ รู้ถึง strategic
direction เพื่อมาใช้ในการกำหนดแผนการตลาด และสะท้อนออกมาเป็นแผนงานโฆษณา"
คำยืนยันของสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจไร้สาย บอกกับ
"ผู้จัดการ" ถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
สำหรับเอไอเอสแล้ว การปรับโครง สร้างใหม่ของเอไอเอสในครั้งนี้เป็นการเตรียม
พร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะเข้มงวดขึ้น ไม่เพียงแต่ผู้ให้บริการรายเก่าอย่างดีแทคเท่านั้น
แต่ยังมีซีพีออเรนจ์ที่จะเปิดให้บริการในช่วงปลายปี
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของโทรศัพท์ มือถือที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีใหม่ๆ
บริการข้อมูล ขนาดของฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ความจำเป็นที่เอไอเอสจะต้องเข้าถึงลูกค้าที่หลากหลาย
"เอไอเอสมีจำนวนลูกค้าเกือบ 4 ล้าน รายที่กระจายไปทั่ว เป็นความจำเป็นหน่วยงานการตลาดจะต้องมียุทธศาสตร์เป็นของตัวเอง"
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเอไอเอส ในครั้งนี้ จึงไม่ได้ส่งผลถึงการเปลี่ยนแม่ทัพ
ทางการตลาดคนใหม่เท่านั้น แต่ยังขยายผล ในเชิงโครงสร้างองค์กร ด้วยการเพิ่มหน่วยงานใหม่
ที่เปรียบเสมือนเป็นหน่วยทางการ ตลาด 5 หน่วยขึ้นมาในคราวเดียวกัน
หน่วยงาน strategic planning ที่มียรรยง อัครจินดานนท์ รับผิดชอบในการหาข้อมูล
การวิเคราะห์ วิจัยประวัติลูกค้า แนว โน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคม พฤติกรรมของผู้บริโภค
key account manager ทำหน้าที่ดูแลลูกค้าองค์กรที่จะมีรูปแบบของการใช้งาน
และความต้องการที่แตกต่างออกไป Product Management Manager ดูแลตัวสินค้าที่หลากหลายขึ้น
Existing Customer Business Planning Manager และ Channel Marketing Manager
ที่รับผิดชอบช่องทางจำหน่ายทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าการสร้างหน่วยรบทาง การตลาดเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่าการทำตลาดโทรศัพท์มือถือในเวลานี้
ไม่อาจจำกัดอยู่เพียงแค่รูปแบบเดิมได้อีกต่อไป "เราตั้งเป็นปรัชญาไว้เลยว่า
การตลาดต้องไดนามิกตลอด จะหยุดนิ่งไม่ได้"
ประสบการณ์ในการเป็นเอเยนซี่โฆษณาของทรงศักดิ์ที่ต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในแง่มุมต่างๆ
ก็เพื่อเป้าหมายเหล่านี้
"การตลาดของเอไอเอสต่อจากนี้จะต้องทำกันแบบ 360 องศา เข้าไปถึงลูกค้าทุกคนทุกกลุ่ม"
ทรงศักดิ์บอก "เพราะโลกการตลาดเป็นเรื่องของการสร้าง Brand Royalty"
นั่นหมายความว่าการมีบริการหรือสินค้าที่ดีอย่างเดียวไม่พอ เพราะในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะไม่แตกต่างกันอีกต่อไป
ยกเว้น การสร้างความภักดีที่ผู้บริโภคจะมีต่อตัวสินค้าและบริการ เป็นเงื่อนไขเดียวที่จะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น
เป็นสิ่งที่เอไอเอสจำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว