ไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งของศิวะพร ทรรทรานนท์ รองกรรมการปรับโครงสร้างหนี้ และ ที่ปรึกษาของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
คือ ความมุ่งมั่นในการที่จะเข้ามาสร้างหอศิลปะแห่งรัชกาล ที่ 9 ในไซเบอร์สเปซ
ด้วยเหต ุ ผลสำคัญ ที่ว่าหอศิลปะขนาดใหญ่ในเมืองไทยยังไม่เกิดขึ้น เขาต้องการให้
เว็บไซต์นี้เป็นศูนย์กลางทางด้านข้อมูลของศิลปะทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานส่วนตัว
งานศิลปะในองค์กร และแกลลอรี่ต่างๆ รวมทั้งอาจจะขอเชื่อมต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ
ที่ทำเว็บไซต์เก็บเอาไว้ ส่วนความเป็นมาอย่างอื่น "ผู้จัดการ"
ได้เสนอรายละเอียดไปแล้วในเรื่อง "หอศิลปะแห่งรัชกาล ที่ 9 " เมื่อฉบับเดือนสิงหาคม
2542
อันที่จริงแล้ว ศิวะพรตั้งเป้าไว้ว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีงานของศิลปิน
ประมาณ 70 รายที่เข้ามาอยู่ในเว็บไซต์นี้แต่ผลปรากฏว่าขณะนี้มีเพียง 40 ราย
เป็นงานของแกลลอรี่ต่างๆ ประมาณ 9 ราย และขององค์กร และบริษัทต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง
ถึงจะมีภาระของงานในตำแหน่ง ที่หนักหน่วงเพียงไร ศิวะพรยังไม่เคยทิ้งงานนี้
เพราะแม้ว่าจะไม่มีเวลาแวะเวียนมา ที่มูลนิธิ ซึ่งมี ที่ทำการชั่วคราว อยู่ ที่ชั้นล่างของอาคารสินธร
ถนนวิทยุ แต่เป็นที่รู้กันมีเวลาว่างเมื่อไหร่ ศิวะพรต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไป ที่
www.rama9art.org เพื่อติด ตามความคืบหน้าของเว็บไซต์นี้เป็นประจำทุกวัน และในแต่ละวันก็อาจจะโทรมาวิจารณ์
การจัดวางหน้า หรือให้ความเห็นในเรื่องต่างๆ เสมอ รวมทั้งเป็นกำลังหลัก ที่สำคัญ
ในการช่วยงานทางด้านประชาสัมพันธ์กับสื่อต่างประเทศ และเป็นผู้วางโครงสร้างทั้งหมด
รวมทั้งแผนงานต่างๆ
"นอกจากโทรมาให้ความเห็นแล้วท่านก็ยังเรียกให้เข้าไปพบ ที่ห้องทำงานในแบงก์ชาติเสมอๆ
เพื่อพูดคุยในงาน ที่กำลังทำ และในแต่ละวันเราก็ ต้องมีข้อมูลใหม่เข้าไปในเว็บไซต์เหมือนกัน
เพราะท่านจะคอยตรวจเช็กอยู่ตลอด" พิทักษ์พล วิสุทธิ์อัมพร ผู้จัดการหอศิลปะแห่งรัชกาล ที่
9 ซึ่งทุกวัน นี้มีงานหลัก ที่จะต้องคอยติดต่อศิลปิน และประชาสัมพันธ์งานของมูลนิธิ
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2542 นี้ หอศิลปะแห่งรัชกาล ที่ 9 จึงมีความคืบหน้าไปพอสมควร
หน้าแรกของเว็บไซต์นี้จะมีห้องสมมุติต่างๆ ให้ผู้ใช้ ได้เปิดเข้าไปดูมาก
มายเช่นเมื่อเปิดเข้าไปดู ที่พิพิธภัณฑ์หน้าแรกจะมีงานนิทรรศการต่างๆ ที่จัดขึ้น
ซึ่งทำการจัดเก็บตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 เป็นต้นมา มีภาพต่างๆ ที่จัดแสดงไว้
ซึ่งเป็นโอกาสดีของคนต่างจังหวัด ซึ่งจากเดิมจะมีโอกาสได้ดูก็ต้องเดินทางมากรุงเทพฯ
เท่านั้น ซึ่งภาพพวกนี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถเรียกกลับมาดูได้อีก นอกจากจะรู้ว่ามีงานของใครบ้างแล้ว
ยังสามารถเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละงานมีการจัดวางอย่างไร ตกแต่งสถานที่อย่างไร
หรือเปิดไป ที่ Youth Art เด็กๆ ก็จะได้เล่นเกมต่างๆ ที่มาจากประเทศอิตาลีได้อย่างสนุกสนาน
สำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลทั่วไป และแกลลอรี่ ทางมูลนิธิจะคิดค่า ออกแบบจัดทำให้หน้าละ
1,700 บาท และมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเช่า ค่าดู และ เพื่อปรับปรุงข้อมูลต่างๆ
ให้ทันสมัยตลอดเวลาอีกปีละ 1,7 00 บาท
การแสดงงานในเว็บไซต์ส่วนใหญ่แล้วศิลปินจะคัดเลือกมาลงประมาณ ไม่เกิน 20
รูปเป็นตัวอย่างเท่านั้น เมื่อรวมเนื้อหาประวัติของศิลปิน และ ข้อมูลอื่นๆ
แล้วสามารถจัดหน้าได้ตั้งแต่ 2 หน้าขึ้นไปจนถึง 10 หน้า
ส่วนองค์กรหรือบริษัทบางแห่ง ที่ทำเว็บไซต์อยู่แล้ว ทางมูลนิธิก็จะ เชื่อมโยงเข้าไปโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
หรือหากบางองค์กรต้องการให้มูล นิธิทำเว็บไซต์ให้ ก็จะบริจาคเงินส่วนหนึ่งเข้ามาให้กับทางมูลนิธิ
ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกอาจจะมีหอศิลปะก่อน แล้วถึงจะทำเว็บไซต์ แต่ เมืองไทยกลับมีเว็บไซต์ของหอศิลปะไปก่อน
แต่จะยิ่งใหญ่ และได้รับความ สนใจแค่ไหนนั้น ทีมงานของคุณศิวะพรกำลังทุ่มเทกำลัง และความสามารถ
อย่างเต็มที่