หากเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จะคิดถึงการยกเลิกอะไรก่อนระหว่างค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย
ค่าผ่อนรถยนต์ หรือ บัตรเครดิต
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็น ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของผู้บริโภค
หลังจากบัตรพลาสติกได้รับการยอมรับว่าเป็นเพื่อนพึ่งพายามยาก
ความคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไปและผู้บริโภคหันมาใช้เงินสด ขณะที่เจ้าของบัตรเครดิตต้องได้รับผลกระทบกับภาระหนี้เสียและหาทางป้องกันความเสียหายในอนาคต
เป็นอันว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ธุรกิจบัตรเครดิตต้องหดตัวตามสภาพเศรษฐ-กิจ
แม้แต่ไดเนอร์สคลับ เจ้าของแบรนด์บัตรพลาสติกในระดับ Charge Card ยังต้องปรับกลยุทธ์ตามหลังจากที่
ตัวเลขการเติบโตของบัตรเครดิตเริ่มปรากฏให้เห็นว่าหดตัวลงอย่างชัดเจน
ช่วงประมาณปี 2538-2539 ไดเนอร์สคลับมีลูกค้าในประเทศไทยประมาณ 1 แสน ใบ
แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาลดลงเหลือเพียง 40,000 ใบเท่านั้น แต่หลังจากได้ปรับกลยุทธ์
ให้ aggressive มากขึ้นภายใต้โปรแกรม absolute power ทำให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจนมีส่วน
แบ่งการตลาด 4-5%
"วิกฤติเศรษฐกิจมีการยกเลิกบัตรเครดิตกันมาก ยกเว้นบัตรเครดิตประเภท
charge card ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก" ยัน จินจาลายร์ (Jan Tjintjelaar)
ผู้จัดการทั่วไปไดเนอร์สคลับ (ประเทศไทย) บอก
เหตุผลที่ไดเนอร์สคลับไม่ค่อยมีปัญหาเหมือนกับบัตรเครดิตทั่วๆ ไป เนื่อง
จากลูกค้าเป็นกลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างสูง อย่าง ไรก็ตามปัญหาที่ไดเนอร์สคลับประสบในปัจจุบัน
คือ ตลาดมีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการเกิดขึ้นของบัตรเครดิตที่ไม่ได้ออกโดยธนาคาร
(non bank)
ขณะเดียวกันบัตรอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นผู้เล่นระดับเดียวกับไดเนอร์สคลับ
ตัด สินใจเข้าหาลูกค้าที่มีฐานะระดับกลางมากขึ้น "เรายืนยันว่า จะเล่นตลาดบนอยู่แม้จะเป็นตลาดที่มีข้อจำกัด"
ยันชี้ "พวกเราทำตลาดด้วยการหาพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ เข้ามา"
นอกจากนี้ข้อจำกัดยังเป็นเรื่องเครือข่ายร้านค้าที่รับบัตรไดเนอร์สคลับ
ซึ่งพวกเขามักจะเลือกร้านค้าค่อนข้างละเอียดว่าลูกค้าจะต้องไปใช้บริการ ด้วยความเป็นห่วง
ภาพลักษณ์ของตัวเองว่าเป็นร้านแห่งความหรูหรา ฟู่ฟ่า และสินค้าค่อนข้างมียี่ห้อ
"ไม่อยากให้ทุกร้านรับบัตรไดเนอร์ส คลับ เพราะมองว่าไม่ exclusive"
ยันบอก
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าไดเนอร์สคลับไม่หนักใจกับปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยปัจจุบันเริ่มมีทัศนคติด้านการจ่ายเงิน
แบบเหมาจ่ายทั้งก้อนมากขึ้นนี่คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และหลังเกิด วิกฤติผู้บริโภคมีคุณภาพดีขึ้นและเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้นประมาณ
15-20% โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย
บัตรไดเนอร์สคลับเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1950 จากธุรกิจกรุงนิวยอร์ก แฟรงค์
แมคนามาร่า ถือเป็นบัตรเครดิตใบแรกของโลก และเขาใช้เวลาเพียง 30 ปีในการสร้างไดเนอร์สคลับให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
และใน ปี 1981 กลายเป็นส่วนหนึ่งของซิตี้กรุ๊ป
ไดเนอร์สคลับเข้ามาทำธุรกิจในไทยเมื่อปี 1969 โดยยุคแรกต้องใช้ความพยายาม
อย่างหนักเพื่อเปลี่ยนแนวคิดและค่านิยมของ คนไทยในวิถีทางการใช้เงินให้ยอมรับบัตรเครดิต
ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จและกลายเป็นบัตรเครดิตสำหรับชนชั้นสูง
ปัจจุบันไดเนอร์สคลับมีลูกค้าถือบัตร ทั่วโลก 7.5 ล้านใบ คิดเป็นส่วนแบ่ง
2% ของ ตลาดรวม และมีรายได้ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐ