Ford ผู้เปิดตลาด pick up 4 ประตู


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ในปี 2003 หรืออีกสองปีข้างหน้า Ford Motor บรรษัทผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ที่ก่อตั้งโดย Henry Ford แห่งนี้จะมีอายุ ครบรอบศตวรรษ ซึ่งนับเป็น 100 ปีที่เต็มไป ด้วยสีสันและเรื่องราวที่มากมายเกินกว่าจะกล่าวขานได้หมด

หากนับเนื่องตั้งแต่ Model T ซึ่งเป็น รถยนต์รุ่นแรกๆ ที่ได้รับการนำเสนอออกสู่ ตลาดมาตั้งแต่ปี 1908 จนถึงปัจจุบัน Ford Motor ได้ผลิตรถยนต์กว่า 270 ล้านคัน ตอบ สนองความต้องการของผู้คนไม่เฉพาะใน อเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักเท่านั้น หากแต่ยัง แผ่ขยายธุรกิจไปสู่ยุโรป, เอเชีย และภูมิภาค อื่นๆ ด้วย

แม้ว่าชื่อเสียงของ Ford Motor จะผูก พันอย่างแนบแน่นกับการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ pickup รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่นั่นมิได้ หมายความว่าความยิ่งใหญ่ของ Ford Motor จะจำกัดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะรถยนต์ใน รูปแบบอื่นๆ ที่ผลิตโดย Ford Motor ก็ล้วน แต่มีส่วนสร้างชื่อเสียงให้แก่ Ford Motor ไม่ น้อย ดังเช่นในกรณีของ Ford Mustang ที่ สามารถครองความนิยมมาตั้งแต่เมื่อครั้งได้ รับการเปิดตัวสู่ตลาดในปี 1964 และต่อเนื่อง สู่ทศวรรษที่ 1970 วิกฤติการณ์น้ำมันซึ่งส่งผลด้านลบ อย่างหนักต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ส่งผลให้ Ford Motor ต้องลดจำนวนพนักงานและปิดโรงงาน ประกอบรถยนต์หลายแห่งลง ขณะเดียวกัน ก็ได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่เครื่องจักรกลการ เกษตร ด้วยการซื้อกิจการของ New Holland ในปี 1986 และซื้อกิจการ Versatile ในปี 1987 ช่วงปลายของทศวรรษที่ 1980 นี้เอง ที่ Ford Motor ได้พยายามที่จะขยายตลาดใน สหรัฐอเมริกาอีกครั้งด้วยการนำเสนอรถยนต์ รุ่น Taurus และ Sable ในปี 1988 ก่อนที่ Ford Motor จะครองส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์ของ อเมริกาในสัดส่วน 21.7% ภายใน เวลา 10 ปี นอกเหนือจากรถยนต์ที่อยู่ภายใต้ เครื่องหมายการค้า Ford แล้ว Ford Motor ได้รุกเข้าสู่ตลาดรถยนต์สปอร์ตและรถยนต์หรูหรา ด้วยการซื้อกิจการของ Aston Martin ในปี 1987 ก่อนที่จะเน้นย้ำยุทธศาสตร์การ ขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่กลุ่มลูกค้าระดับ บน ด้วยการซื้อ Jaguar ในปี 1989

ทศวรรษที่ 1990 นับเป็นช่วงระยะเวลาที่ Ford Motor ให้ความสนใจในการขยาย ฐานการตลาด และโรงงานประกอบรถยนต์ เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง โดยมีจุดเน้นอยู่ที่รถยนต์นั่ง ขนาดกลางและรถบรรทุกเบา ขณะเดียวกัน Ford Motor ก็เข้าซื้อกิจการของ Volvo ในปี 1999 เพื่อขยายตลาดรถยนต์หรูหราไป ในคราวเดียวกัน ในฐานที่เป็นยุทธศาสตร์คู่ขนานเชิงรุกในระดับโลก

การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Mazda ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ สัญชาติญี่ปุ่นในช่วงปี 1996 ติดตามมาด้วย การเริ่มสายการผลิตรถยนต์ Minibus ในจีน เมื่อปี 1997 เป็น Jigsaw สำคัญที่สะท้อนถึง ยุทธศาสตร์เชิงรุกของ Ford Motor ในเอเชีย หลังจากที่ได้เข้ามาลงหลักปักฐานในประเทศ ไทยอย่างจริงจังด้วยการลงทุนเงินกว่า 20,000 ล้านบาทสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในนาม ของบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ เมื่อปี 1995

ตลอดระยะเวลา 4-5 ปี ที่ Ford Motor ได้เข้ามารุกตลาดรถยนต์ในประเทศไทยอย่าง จริงจังนั้นต้องยอมรับว่า Ford Motor สามารถ ช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดจากผู้ผลิตรถยนต์ สัญชาติญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เฉพาะสำหรับรถยนต์บรรทุกเบาขนาด 1 ตัน ซึ่ง Ford ได้กลายเป็นผู้นำในการทำตลาด รถยนต์ Pickup แบบ 4 ประตูอีกด้วย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.