Tesco-Lotus ผู้ทรงอิทธิพลในธุรกิจค้าปลีก


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้บริโภคชาวไทยอาจเริ่มคุ้นหูคุ้นตา TESCO-Lotus เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา หลังจากผู้ประกอบการค้าปลีกจากอังกฤษ เข้าซื้อหุ้น 75% ใน Lotus Supercenter จาก กลุ่ม CP ในปี 2541 แต่สำหรับแวดวงธุรกิจ ค้าปลีกในระดับโลกแล้ว ชื่อของ TESCO ย่อม อยู่ในกลุ่มผู้นำและบรรษัทที่ทรงอิทธิพลทาง ธุรกิจมากที่สุดรายหนึ่ง

จากธุรกิจค้าใบชา ที่เริ่มในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 จวบจนถึงวันนี้ ธุรกิจ ของ TESCO ได้ก้าวหน้าและขยับขยายไปไกล กว่าจุดเริ่มต้นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง พร้อม กับการรุกเข้าไปในทุกภูมิภาคของโลก

ร้านค้าในแบบ "กองให้สูง-ขายให้ถูก" (pile it high and sell it cheap) ซึ่งผู้ก่อตั้ง TESCO ได้แบบอย่างมาจากอเมริกา ได้รับการ ปรับและประยุกต์ให้เหมาะไม่เฉพาะกับสังคม ยุโรปเท่านั้น หากแต่ในทุกหนแห่งที่ TESCO ขยายธุรกิจไปถึง รูปแบบดังกล่าวได้กลาย เป็นลักษณะเด่นจนเป็นภาพที่ชินตา

ยุทธศาสตร์ การขยายตัวของ TESCO ด้วยการเข้า ซื้อกิจการของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ตั้งแต่ในช่วง ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ยังคงเป็น กลยุทธ์การลงทุน ที่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการ ขยายเครือข่ายใน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 1990 ด้วย

มาตรการด้านราคา ซึ่งนับเป็นวิธีการ สำคัญที่ทำให้ TESCO ฟันฝ่ามรสุมท่ามกลาง การแข่งขันหนักหน่วงและภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยในช่วงทศวรรษที่ 1970 กลายเป็น บทสรุปที่ทำให้ TESCO พัฒนาสินค้าราคาต่ำ ภายใต้ Brand ของ ตัวเองและเป็น แหล่งที่มาของราย ได้กว่า 40% ของ TESCO ในปัจจุบัน

การขยายตัว อย่างรวดเร็วของ TESCO ในประเทศ ไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาจจะเกิดขึ้น จากผลของการมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็ง อย่าง CP แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ประสบการณ์ และปริมาณเงินทุนขนาดใหญ่ ของ TESCO เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญ ไม่น้อยในการแพร่อิทธิพลไปสู่ทุกภาค ส่วนของประเทศ โดยอาณาจักรค้าปลีกข้ามชาติ แห่งนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.