ด้วยรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน ที่มีความเป็นสากล และเต็มไปด้วยการแข่งขัน
การขยายขอบข่าย ศักยภาพเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งนั่นต้องอาศัยเงินลงทุน ที่เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัว
เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิค (H&Q Asia Pacific) ประสบความสำเร็จอย่างมากมายด้านการบริหารเงินร่วมลงทุน
(venture capital) ในอเมริกาเกี่ยวกับธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีใน
แถบ silicon valley
H&Q ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนให้บริหารเงินทุนทั้งสิ้น 16 กองทุน
เป็นเงินกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการลงทุนในประเทศไทย H&Q ภายใต้การลงทุนผ่านเอช แอนด์ คิว (ประเทศไทย)
ก่อตั้งเมื่อปี 2533 เริ่มแรก ได้บริหาร Country Fund มูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
ภายใต้ชื่อกองทุน Siam Venture Fund โดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ ในไทยอย่างมาก
มาย อาทิ ส่งออกอาหารทะเล ฟอกหนัง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณา ก่อสร้าง
โรงพยาบาล สื่อสารโทรคมนาคม
"เราเข้าไปมีบทบาทอย่างสูงในการร่วมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจต่างๆ
สามารถประสบความสำเร็จมากมาย ทำให้ H&Q ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน"
ดร.ทา-ลิน ชู ประธานกรรมการ เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิคกล่าว
เหตุผลที่ H&Q เข้าไปร่วมลงทุน เกิดจากบริษัทเหล่านั้น ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้
เพราะบางโอกาสการกู้เงินอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ใช้เวลานาน และมีความเสี่ยงสูงหากธุรกิจประสบปัญหา
"ทางเลือก ที่กำลังเป็นที่สนใจของนักธุรกิจ คือ รูปแบบธุรกิจเงินร่วมลงทุน"
ดร.ทา-ลิน ชูบอก
หลังจาก H&Q ประสบความสำเร็จใน Siam Venture Fund อีก 2 ปี ถัดมาได้ก่อตั้งกองทุนระดับภูมิภาค
(Regional Fund) ขึ้นมาภายใต้ชื่อ Asia Pacific Growth Fund LP (APGF) มูลค่ากองทุน
75 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้ในช่วงต้นของกองทุน APGF จะไม่ได้มาลงทุนในไทยมากนัก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องภาษีระหว่างประเทศ และอเมริกา
(Tax Treaty) "แต่ในที่สุด เราก็มีโอกาสได้ลงทุนถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม
คือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ TAC" วีรพันธ์ พูลเกษ
กรรมการผู้จัดการ เอช แอนด์ คิว ประเทศไทยอธิบาย
ปลายปี 2539 H&Q เปิดกองทุน APGF 2 ด้วยเงินกองทุน 278 ล้านเหรียญสหรัฐ
และเริ่มลงทุนในไทยเมื่อกลางปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท แต่นั่นไม่เป็นปัญหาของบริษัทเพราะมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐ-กิจของไทย
ประกอบกับการลงทุนแบบ venture capital เป็นการลงทุนระยะยาว จึงนำเม็ดเงิน
40 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ามาลงทุน
" ที่ผ่านมาธุรกิจเงินร่วมทุนได้เข้าไปมีส่วนสนับสนุนฟื้นฟูธุรกิจภาคต่างๆ
ให้สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อย่างราบรื่น ซึ่งธุรกิจเงินร่วมทุนมีจุดเด่น
หลายประการ บริษัท ที่ดำเนินงานทางด้านนี้จะเข้าร่วมลงทุนในภาคเอกชน โดยผ่านการพิจารณา เพื่อเลือกลงทุน
คือ มีพื้นฐาน และมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต" ดร.ทา-ลิน ชูบอก
สังเกตได้จากแม้ในช่วง ที่บริษัทเหล่านั้น มีปัญหา H&Q ยังต้องแบกรับภาระเหล่านั้น
เช่น เข้าไปร่วมลงทุนในบมจ.ไทยเคนเปเปอร์ หรือ TCP ผู้ผลิต กระดาษคราฟท์รายใหญ่รายหนึ่งในประเทศ
แต่ประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวจำนวน 4,834 ล้านบาท และมีเจ้าหนี้ รวม 122
รายจนต้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตนเองต่อศาลล้มละลายกลาง โดยปัญหาดังกล่าว
H&Q จะต้องเป็นหัวหอกในการพิจารณาเนื่องจากเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ และวีรพันธ์ยังนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมั่น ที่มีต่อศักยภาพของภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทย
เนื่องจากมองเห็นอัตราการเจริญเติบโตของภูมิภาคนี้ แม้จะเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ส่งผล
ต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น ต้นปีที่ผ่านมา H&Q ได้ออกกองทุน APGF 3 ด้วยจำนวน เงิน
กองทุน 750 ล้านเหรียญสหรัฐ
"เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก"
ดร.ทา-ลิน ชูกล่าว
สำหรับในไทยกองทุนดังกล่าวได้จัดสรรเงินกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ามาลงทุนแล้ว
"เราลงทุนไปแล้วในบมจ.เอสวีไอ เซมิคอนดัคเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
หรือ SVI" วีรพันธ์กล่าว
สำหรับ SVI ปัญหาก็เหมือนกับ TCP คือ มีหนี้สิน และขาดทุนมาช้านาน "แต่เรามองเห็นโอกาสในระยะยาวในแง่ธุรกิจมีความสดใส และมีตลาดที่ใหญ่ และส่งออกได้"
วีรพันธ์บอก ซึ่งปัจจุบัน H&Q ได้เข้าไปช่วยเหลือ SVI ในการเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้รวมไปถึงการหาผู้บริหารเข้าไปช่วยทำงานด้วย
ดังนั้น หลังจาก ที่ H&Q เข้าไปร่วมลงทุนกับ TCP และ SVI จึงเกิดคำถามตามมาว่า
10 ปีกับการใช้เม็ดเงิน เกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐในไทย H&Q ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจต่อนักลงทุนแล้วหรือยัง
ดร.ทา-ลิน ชู จบปริญญาตรีคณะฟิสิกส์จาก The National Taiwan University
ปริญญาโทด้านอิเล็กทรอ นิกส์ จาก The Polytechnic Institute of Brooklyn
และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก University of California Berkeley
ในอดีตเคยทำงานกับ IBM Re-search Laboratories เป็นเวลา 12 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้จัดการอาวุโส
ของ Storage Systems and Technology ในแผนกวิจัยของ IBM
ปี 2528 ได้เข้าร่วมงานกับบริษัท Hambrecht & Quist และได้ก่อตั้งบริษัทบริหารร่วมลงทุนในเอเชีย
โดยได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เอช แอนด์ คิว เอเชีย แปซิฟิค ปัจจุบันขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัท
ด้านวีรพันธ์ จบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และปริญญาโทสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
จากมหาวิทยาลัยโคโรราโด อดีตเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยเสรีห้องเย็น
และเป็นกรรมการสมาคมผู้ผลิต และส่งออกอาหารแช่เยือกแข็งไทย
วีรพันธ์เข้าทำงานในเอช แอนด์ คิว ประเทศไทย เมื่อปี 2533 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และนายกสมาคมไทยธุรกิจเงินร่วมลงทุน
ที่ผ่านมาเขาบริหารเงินลงทุนหมุนเวียนในไทยประมาณ 3,500 ล้านบาท