บทบาทใหม่ของ L.E.K. Consulting ในไทย


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

แม้ แอล.อี.เค.คอนซัลติ้ง (L.E.K. Consulting) จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยได้ 10 ปีแล้ว แต่การทำงานก็ยังไม่เต็มที่ หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ L.E.K. จึงให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการมากขึ้น

L.E.K. บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอังกฤษก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1983 ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้คำปรึกษาแต่ละอุตสาห-กรรมกว่า 375 คน กระจายอยู่ทั้ง 12 สาขาในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิก รวม 8 ประเทศ

L.E.K. ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย ตั้งแต่ปี 1990 แต่ยังไม่มีบทบาทมากนัก โดยเข้ามายังไม่เต็มตัว จนกระทั่งปี 1998 ซึ่งประเทศไทยเริ่มเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจบริษัทจึงเริ่มทำงานแบบ full time

การที่บริษัทไม่ให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินธุรกิจในเอเชียช่วงแรกๆ โดยหันไปเน้นในแถบยุโรป และอเมริกา เหนือนั้น เนื่องจากธุรกิจที่ปรึกษาในเอเชียยังไม่ค่อยสดใสนัก แต่หลังจากเศรษฐกิจเอเชียเริ่มเติบโตสูงขึ้น L.E.K. จึงให้ความสำคัญมากขึ้น ด้วยการตั้งสำนักงานในออสเตรเลีย สิงคโปร์ และไทย ทั้งนี้เกิดจากความซับซ้อนของการทำธุรกิจ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจนต้อง พึ่งพาเหล่าบรรดาบริษัทที่ปรึกษา

"เราเริ่มเข้ามาทำธุรกิจในไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ส่วนมากลูกค้าเป็นบริษัทต่างชาติ เพื่ออยากทราบถึงกิจกรรมการควบ และผนวกกิจการ (merger&acquisitions : M&A)" ชาราด แอพเต้ (Sharad Apte) ผู้จัดการ L.E.K. Con-sulting ประจำประเทศไทยกล่าว

นอกจากนี้ยังให้บริการที่เรียกว่า การบริหารมูลค่าพื้นฐาน (value-based management หรือ VBM) ส่วนใหญ่จะให้บริการกับบริษัทลูก ที่มีบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการเข้าใจ สภาพตลาดประเทศไทยมากขึ้น โดย L.E.K. เข้าไปแนะนำในแง่กลยุทธ์การทำธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยเหลือด้านการหาคุณค่าบริษัท ที่แท้จริงด้วย

"ลูกค้าจะมีทั้งธุรกิจน้ำมัน น้ำตาล หรือธุรกิจขนส่งสินค้าข้ามชาติ ที่สนใจเข้ามาซื้อหรือครอบงำธุรกิจท้องถิ่น" ชาราดบอก ซึ่งหมายถึงการให้บริการจะครอบคลุมเฉพาะลูกค้าชาวต่างชาติเท่านั้น

หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 1998 L.E.K. เริ่มให้ความสำคัญต่อ การดำเนินธุรกิจในไทยขนาดประกาศว่าจะให้เป็นศูนย์กลางการขยายธุรกิจ หรือพูดอีกแง่หนึ่ง คือ จะให้ไทยเป็น profit center

"เรามีปัจจัยชี้ว่าไทยมีความพร้อม ที่จะเป็นศูนย์กลาง คือ ต้นทุน ที่ต่ำ เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในแถบนี้ โดยเฉพาะปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่าย"

ดังนั้น L.E.K. จึงมองวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นโอกาสทอง เพราะว่าถ้าหากไม่มีวิกฤติ "จะตามคู่แข่งลำบาก" ซึ่งบริษัทเข้ามาช่วงนี้จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหลายราย " และเมื่อ เศรษฐกิจดีขึ้นในอนาคตเราจะเติบโตไปกับลูกค้าด้วย" ชาราดบอก

ปัจจุบัน L.E.K. มีลูกค้า 5-6 ราย มีทั้งบริษัทข้ามชาติ ลูกค้าภาครัฐ รัฐ วิสาหกิจ และเอกชน ในอนาคตกำลังมอง หาลูกค้าภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด และสร้างฐานธุรกิจในระยะยาว เพราะปรัชญาของบริษัทเชื่อว่าการพัฒนาระยะยาวด้านความสัมพันธ์กับลูกค้าจากการให้คำปรึกษา ที่ไว้ใจได้ การบริการที่ดี และมีมูลค่า ที่เพิ่มสูงขึ้น

บทบาทใหม่ของ L.E.K. ในไทยจากนี้ไป คือ การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจที่ปรึกษา คือ M&A ในอดีตจะบริการลูกค้าด้านนี้ในรูปแบบทั่วๆ ไป เท่านั้น "แต่จากนี้ไปจะมีการเข้าไปตรวจ สอบ เพื่อทำ M&A เมื่อมีลูกค้าเรียกร้องเข้ามา" ชาราดกล่าว

ชาราดมองธุรกิจ M&A ในไทยว่า ในอนาคตหลายๆ ครั้ง ที่ได้เห็นราคา ของผู้ขายสูง ขณะที่ราคาผู้ซื้อต่ำเกินไป "ฉะนั้น ช่องว่า ตรงนี้จะมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องมีกิจกรรมนี้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดในธุรกิจธนาคารจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจะต้องมีการเข้ามาครอบงำกิจการ"

นอกจากนี้ยังให้บริการคำปรึกษา ด้านการบริหารมูลค่าพื้นฐานของบริษัท (VBM) การกำหนดกลยุทธ์ของบริษัท (corporate strategy) การกำหนดกลยุทธ์หน่วยธุรกิจ (business unit strategy) และการปรับปรุงองค์กร (business re-engineering)

การทำงานของ L.E.K. จะได้เข้า ไปร่วมทำงานกับบริษัทท้องถิ่น ที่กำลังมองหากลยุทธ์ในการทำงาน เพื่อให้มีทิศทาง ที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น รวมถึงเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าในการตัดสินใจการบริหารงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

"การเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจในอนาคตเรามองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในแง่ของการที่จะทำอย่างไร ที่จะให้บริษัทมีคุณค่ามากขึ้น และต่อผู้ถือหุ้น นั่นคือ สิ่งที่เราทำเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน" ชาราดกล่าว

แม้ว่า L.E.K. จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของวงการธุรกิจที่ปรึกษาในไทยมากนัก แต่จุดแข็ง ที่บริษัทเชื่อว่าจะเป็นตัวเร่งให้บริษัทเติบโต คือ ความเป็นองค์กร ที่มีขนาดเล็ก ที่มีความคล่องตัวในการทำงาน เหมาะต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจ "เราเน้นสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว"

นอกจากนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ L.E.K มองว่าธุรกิจที่ปรึกษาจะมีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยว ข้องกับธุรกิจวาณิชธนกิจ "มันเป็น hybrid ของทั้งสองอย่างมองว่าเป็นความ แข็งแกร่งของเราด้วย"

"เราเริ่มต้นธุรกิจบริการที่ปรึกษา ไปจนถึงการ create value ไม่ว่าจะเป็น venture capital หรือ investor relationship การที่เราจะมอง M&A หรือ shareholder value จึงมองว่าแนวนี้จะสามารถเปิดมุมมองได้ดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเราค่อนข้างจะระดับสูง เราจึงเป็นบริษัทที่ปรึกษา ที่มีความสามารถในเรื่องเหล่านี้ เพราะมี position เกี่ยวข้องในรูปแบบนี้"

ขณะที่บริษัทที่ปรึกษาอื่นๆ เน้นให้บริการทางการเงิน "แต่เมื่อถึงเรื่อง shareholder หรือ investor เขาจะหยุดให้บริการทันที เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีปัญหา เราจะสามารถให้ภาพตรงนี้ได้ว่ามูลค่าอยู่ตรงไหน หรือว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจ active กว่านี้ นี่คือ สิ่งที่เราถนัด" ดร.สุวิทย์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ดร.สุวิทย์ยอมรับว่า L.E.K. ไม่เชิงเป็นบริษัทธุรกิจที่ปรึกษา แบบครบวงจร " ที่ปรึกษามีจุดขายของตัวเอง ของเราเป็นกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร และผู้ถือหุ้น การรวม การยุบ การสร้างธุรกิจใหม่ รายอื่นๆ เขาจะมุ่งไปเฉพาะอุตสาหกรรม ที่ถนัด แต่เราไม่ว่าจะอยู่ธุรกิจ ไหนก็สามารถให้บริการแบบอย่างที่เราทำได้"

นอกจากความแข็งแกร่ง ที่ L.E.K. มั่นใจเหล่านี้ สิ่งที่มองข้ามไม่ ได้คือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งส่วนหนึ่ง ได้โยกย้ายมาจากบริษัทที่ปรึกษา บูซ-แอลเลน แอนด์ แฮมิลตัน (Booz-Allen & Hamilton) สาขาประเทศไทย ที่ปัจจุบันกำลังลดบทบาทการดำเนินธุรกิจในไทยลง โดยเฉพาะ ดร.สุวิทย์ อดีตก็เป็นที่ปรึกษาอาวุโส บูซ-แอลเลน

"เราไม่ได้ยกบริษัทมาตั้ง หรือนำพนักงานต่างชาติเข้ามา เรามีคนไทยมาร่วมงาน เพื่อให้เข้าใจในวัฒนธรรมไทยด้วย" ชาราดกล่าว

ชาราดเข้าร่วมทำงานกับL.E.K. เมื่อ 7 ปีที่แล้ว โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในอุตสาห- กรรมน้ำมัน และก๊าซ อสังหาริมทรัพย์ อาหาร และเครื่องดื่ม

เขาจบปริญญาตรีด้านภาษาอังกฤษ และประวัติศาสตร์จาก Oberlin College และปริญญาโทด้าน Theological Studies จาก Harvard University

ด้าน ดร.สุวิทย์ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ ไปศึกษาต่อปริญญาโท บริหารธุรกิจ ที่นิด้า และปริญญาเอก ด้านการตลาดที่ Kellogg Gra-duate School of Management Northwestern University

ก่อนจะมาทำงาน ที่ L.E.K. เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจด้านการตลาด บริษัทไทยเพรสซิเด้น ฟูดส์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ สยามซิตี้ เครดิต แอนด์ ไฟแนนซ์ และ ที่ปรึกษาอาวุโสบูซ-แอลเลน แอนด์ แฮมิลตัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.