Khrushchev s Shoe


นิตยสารผู้จัดการ( สิงหาคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

รองเท้าของครุสชอฟเป็นประเด็นข่าวฮือฮามาแล้ว เมื่อ ครั้งที่อดีตประธานาธิบดีแห่งอดีตสหภาพโซเวียตเกิดไม่พอใจผู้ฟังที่ไม่สนใจ ต่อสิ่งที่เขากล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติ จึงถอดรองเท้าแล้วคว้ามาทุบโต๊ะดังปังอย่างกราดเกรี้ยว การกระทำของครุสชอฟบรรลุเป้าหมายคือเรียกความสนใจของผู้ฟังได้ดังใจ แต่ก็เป็นความสนใจระคนความโกรธแค้น

ตัวอย่างที่ยกมานี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และการที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระบางอย่างนั้น เราอาจทำให้บรรลุผลสำเร็จหรือทำลายลงไปสิ้นด้วยการพยายามดึงผู้ฟังให้สนใจ รอย อันเดอร์ฮิล ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารมวลชน ผู้เขียน Khrushev.s Shoe กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหารที่กำลังนำนักลงทุนเยี่ยมชมโรงงาน หรือเป็นผู้นำอบรมพนักงานเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ตัวใหม่ หรือกำลังนั่งร่วมโต๊ะสังสันทน์กับเพื่อนฝูง คุณควรเคารพสติปัญญาของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือน กำลังเดินทางไปยังดินแดนอันน่าหลงใหลและลืมไม่ลง"

นี่คือเป้าหมายของผู้ที่ต้องการเป็นนักการสื่อสารที่ยิ่งใหญ่ ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กลั่นเอาประสบการณ์ของนักการสื่อสารชั้นนำมานำเสนออย่างน่าสนใจ

ผู้ ฟั ง มี ใ จ เ ปิ ด รั บ สิ่ ง ที่ คุ ณ พู ด อ ยู่ ห รื อ ไ ม่ ?

การจะชักชวนผู้ฟังให้สนใจรับฟัง ขั้นแรก ต้องทำให้ผู้ฟัง "เปิดใจรับ" ข้อมูลข่าวสารใหม่เสียก่อน การจัดวิธีการนำเสนอ หรือ presentation จึงต้องทำให้น่าสนใจตั้งแต่ขั้นเริ่มออกเดินทาง ไม่ใช่รอให้ถึงจุดหมายปลายทางเสียก่อน บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่างเห็นตรงกันว่า "การผสมผสานระหว่างการให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับการกระตุ้นด้วยสิ่งท้าทาย จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้สติปัญญาในการระดมความคิด"

คุณอาจทำให้ผู้ฟังเปิดใจรับข้อมูลที่นำเสนอโดยการท้าทายให้คิดหรือกระทำการบางอย่าง วิธีการนี้ต้องใช้การสร้างโอกาสที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ฟังสามารถเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ที่ "ไกลเกินกว่าสิ่งที่พวกเขารู้ๆ กันอยู่" นอกจากนั้นคุณจะต้องให้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการระดมความคิดที่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้" ขณะเดียวกัน ต้องคอยสังเกตระดับความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและคอยปรับลดแรงกดดันนั้นลง เพื่อให้ผู้ฟังยอมมีส่วนเข้าร่วมและเชื่อใจคุณ

วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง ก า ร ท ำ p r e s e n t a t i o n

ไม่มีวิธีสำเร็จรูปใดๆ ในการทำ presentation ที่ยอดเยี่ยม ทุกครั้งคุณต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แต่ควรระลึกด้วยว่าจะต้องปรับสิ่งที่จะนำเสนอนั้นให้เข้ากันได้กับกลุ่มผู้ฟัง เตรียมตัวอย่างดี มุ่งมั่น และพัฒนาความคิดของคุณเพื่อดึงเอาความคิดอ่านจากภายในให้สะท้อนออกมาเป็นรูปธรรม ทดสอบวิธีการของคุณกับตัวอย่างผู้ฟังสักคนที่จะไม่ส่งผลกระทบต่องานโดยรวม ทั้งนี้ การนำเสนอแนวความคิดจะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน และมีการสำรวจสืบค้นอย่างชาญฉลาด และวัตถุประสงค์ของคุณอาจจัดอยู่ในข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

๏ ดึงผู้ฟังให้เกิดความสนใจ

คุณต้องเป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ที่สามารถสำรวจสภาพการณ์โดยรอบได้อย่างชัดเจน ต้องใส่ใจกับความต้องการ พื้นฐานของผู้ฟัง ความกังวลเรื่องความปลอดภัย ความต้องการ มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ฟังมีความสนใจต่อเนื่อง มองหาพันธมิตรโดยสบตาผู้ฟังเพื่อให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกัน

๏ รักษาระดับการให้ความสนใจ

ความสนใจคือตัวกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันที่จะรวบรวมความคิดและผูกสัมพันธ์ต่อกัน ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดความสนใจมีอาทิ ความสำคัญ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะ อารมณ์ขัน ปัญหา ความชัดแจ้ง ความเจ็บปวด และความหลากหลาย เป็นต้น

๏ สร้างความประทับใจ

การสื่อสารที่มุ่งให้ข้อมูลหรือเน้นในเชิงการศึกษาจะเป็น สิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างการให้ความบันเทิงสนุกสนานกับการโน้มน้าวชักจูงอย่างมีสิ่งเคลือบแฝง การเล่าเรื่องจะเข้ามามีส่วนช่วยเมื่อคุณต้องแยกแยะจัดหมวดหมู่หรือต้องใช้อารมณ์ความรู้สึก เพื่อเข้าถึงผู้ฟัง

๏ สร้างความเชื่อมั่น

การใช้วิธีการนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงความรู้สึกและเกิดความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม "ในฐานะของผู้โน้มน้าวชักจูง คุณเป็นผู้กระตุ้นผู้ฟังให้เกิดปัญหาในใจขึ้น และต้องไม่หยุดบทบาทเพียงแค่นี้ คุณต้องนำทางการแก้ปัญหาด้วย" ชี้ให้ผู้ฟังเห็นว่าคุณเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวและมีทางออกให้เขา

๏ กำหนดแนวทางการกระทำ หากต้องการให้ผู้ฟังมี ปฏิกิริยาหรือกระทำการบางอย่าง คุณอาจต้องมีกลวิธีชักชวน "บางครั้งการใช้คำพูดไม่กี่คำอาจกระตุ้นให้ผู้ฟังทำอะไรที่คุณไม่คาดคิดได้" หากต้องการให้ผู้ฟังสนองตอบ คุณต้องแน่ใจว่าผู้ฟังเข้าใจสิ่งกระตุ้นอย่างถ่องแท้ และอย่าลืมว่าคำพูดเก๋ๆ ที่ฟังจับใจใช้ได้ผลดีมาก

อ า ร ม ณ์ ขั น ภ า พ ป ร ะ ก อ บ แ ล ะ ก า ร อ้ า ง อิ ง

หนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับภาวะธรรมชาติของมนุษย์ และวิธีการอันหลากหลายที่จะใช้ในการสื่อสาร อีกทั้ง มีภาพประกอบที่ชี้ให้เห็นว่าภาพร่างง่ายๆ อาจทำให้คำแนะนำหรือการยกคำอ้างอิงต่างๆ เป็นที่เข้าใจได้ง่ายและดูน่าสนุก หนังสือเขียนอย่างมีอารมณ์ขัน ด้วยลีลาแบบภาษาพูด และ แทรกคำพูดของนักการสื่อสารดังๆ ในอดีต จึงเหมาะสำหรับนักการสื่อสารหน้าใหม่ที่ต้องการคำแนะนำเพื่อสร้างความอุ่นใจก่อนขึ้นเวทีจริง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.