ราชินีแห่งนครวอชิงตัน ดีซี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 สิริอายุรวม
84 ปี ถึงสหรัฐ อเมริกาเป็นสาธารณรัฐและไม่มีกษัตริย์ หรือราชินี แต่แคธรีน
แกรห์ม (Katharine Graham) ได้รับยกย่อง เป็น "ราชินี" อันเป็นคำยกย่องที่ไม่มี
ใครทักท้วง นากยกเทศมนตรีแห่งนคร วอชิงตัน ดีซี ถึงกับประกาศลดธงครึ่ง เสา
เพื่อไว้อาลัย "ราชินี" ผู้จากไป
ภายหลังคดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันนำซึ่งจุดจบแห่งชีวิต การเมืองของประธานาธิบดีริชาร์ด
นิกสัน แคธรีน แกรห์ม ถีบตัวขึ้นมาเป็น "ราชินี" แห่งนครวอชิงตัน
ดีซี อย่าง รวดเร็ว ไม่น่าเชื่อว่า สตรีขี้อายผู้ขาดความมั่นใจในตนเอง เมื่อ
แรกเริ่มดำรงตำแหน่งประธานบริษัทเจ้าของหนังสือพิมพ์ The Washington Post
จะกลายมาเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองใน สหรัฐอเมริกา เมื่อเธอจัดงานเลี้ยง
ไม่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ อเมริกาคนใดปฏิเสธคำเชิญของเธอ งานเลี้ยงที่เธอจัดประกอบ
ด้วยแขกรับเชิญที่เป็นผู้นำสังคมอเมริกันเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Robert
McNamara, Henry Kissinger, Colin Powell, Alan Greenspan, Bill Gates, Steve
Case และบรรดาผู้บริหาร บรรษัทยักษ์ใหญ่ทั้งปวง
แคธรีน แกรห์ม เกิดในตระกูลผู้มั่งคั่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2460 บิดาชื่อ
ยูยีน มายเออร์ (Eugene Meyer) มารดาชื่อ แอกเนส เอิร์นส์ มายเออร์ (Agnes
Ernst Meyer) บิดาเป็น นักการเงินใน Wall Street และเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะ
ผู้ว่าการ (Board of Governors) แห่ง The Federal Reserve System
เธอได้รับการศึกษาอย่างดีเยี่ยงธิดาครอบครัวผู้มั่งคั่ง ทั้งหลาย แคธรีนเข้าศึกษาใน
Vassar College ในปี 2477 หลัง จากนั้นจึงโอนไปศึกษาต่อยัง University of
Chicago จากบันทึก ความทรงจำของเธอช่วยให้เราทราบว่า แคธรีนต้องการย้ายไป
London School of Economics and Politics แต่ได้รับการทัดทานจาก บิดา แม้ท้ายที่สุด
เธอจะเลือกมหา วิทยาลัยชิคาโก แต่มิใช่เพราะเหตุว่า มหาวิทยาลัยชิคาโกมีความวิเศษทาง
วิชาการ หากแต่เป็นเพราะความหล่อเหลา และหนุ่มแน่นของ โรเบิร์ต เมย์นาร์ด
ฮัตชินส์ (Robert Maynard Hutchins) ประธาน (อธิการบดี) มหาวิทยาลัย เธอ
สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี 2481
ในยุคสมัยที่ใช้ชีวิตนักศึกษามหา วิทยาลัย แคธรีน แกรห์ม เข้าร่วมขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคมและข้องเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษา ฝ่ายซ้าย กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เธอมีความรู้สึกเอื้ออาทรต่อสังคม
และรู้จักแบ่งปันให้สังคมในเวลาต่อมา แม้จะถือกำเนิดในตระกูล ผู้มั่งคั่ง
แต่บิดามารดามิได้ให้เงินใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย หากแต่ อบรมสั่งสอนให้รู้จักค่าของเงิน
แม้แคธรีนจะถีบตัวขึ้นมาเป็น อภิมหาเศรษฐีนีในบั้นปลายแห่งชีวิต แต่เธอก็ยังระมัดระวังมิให้
มีภาพแห่งการอวดร่ำอวดรวย ในขณะที่อภิมหาเศรษฐีส่วนใหญ่ มีเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวขับขี่
แคธรีนยับยั้งชั่งใจการใช้จ่ายในเรื่องนี้
แคธรีน แกรห์ม เริ่มฝึกงานกับ The Washington Post ในตำแหน่ง Copy Girl
ในปี 2477 เวลานั้นเธอยังศึกษาอยู่ใน โรงเรียนมัธยมศึกษา Madeira School
เมื่อเธอสำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยชิคาโก เธอทำงานเป็นผู้สื่อข่าวของ
San Fran-cisco News อยู่เกือบขวบปี แล้วจึงกลับมาทำงานในกองบรรณา ธิการ
The Washington Post รวมทั้งฝ่ายจัดจำหน่ายของหนังสือ พิมพ์นั้น เธอมีประสบการณ์ในการเป็นผู้สื่อข่าว
และเข้าใจจิต วิญญาณของนักหนังสือพิมพ์อาชีพ
แคธรีน แกรห์ม แต่งงานกับฟิลิป แกรห์ม (Philip L. Graham) พนักงานศาลสูง
ในปี 2483 และมีบุตร 3 คน ธิดา 1 คน ในปี 2489 ยูยีน มายเออร์ ลงจากตำแหน่ง
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา The Washington Post และ ให้ลูกเขย คือ ฟิลิป แกรห์ม ดำรงตำแหน่งแทน
ฟิลิป แกรห์ม เป็นบุรุษที่มีอารมณ์อ่อนไหวสภาพจิตแปร ปรวนจนชีวิตสมรสเริ่มมีปัญหา
เมื่อฟิลิปพาผู้หญิงอื่นเข้ามานอน ในบ้าน สร้างความบอบช้ำทางจิตแก่แคธรีนเป็นอันมาก
อย่างไร ก็ตาม โรคประสาททำให้ฟิลิปฆ่าตัวตายในปี 2506 แคธรีน แกรห์ม ขึ้นสู่ตำแหน่งประธาน
The Washington Post โดยมิได้คาดหมาย เธอแปรสภาพจากแม่บ้านผู้มีหน้าที่ดูแลสามีและบุตรธิดา
รวมตลอด จนการจัดงานเลี้ยงมาเป็นนักธุรกิจผู้ต้องดูแลอาณาจักรของ The Washington
Post
ครอบครัวมายเออร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ The Washington Post เมื่อยูยีน มายเออร์ประมูลซื้อหนังสือพิมพ์นี้ได้ในปี
2476 ด้วยราคา 825,000 ดอลลาร์ ในขณะที่กำลังล้มละลาย เมื่อแคธรีน ดำรงตำแหน่งประธานในปี
2506 นั้น The Washington Post มีรายได้เพียงปีละ 84 ล้านดอลลาร์ เมื่อเธอออกจากตำแหน่งใน
ปี 2534 รายได้ตกปีละ 1,400 ล้านดอลลาร์ แคธรีนเปลี่ยนโฉม The Washington
Post จากหนังสือท้องถิ่นแห่งนครวอชิงตัน ดีซี มาเป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่ทรงอิทธิพลทางการเมือง
อาณาจักร ธุรกิจของเธอมิได้มีแต่ The Washington Post หากยังมี News- week
สถานีโทรทัศน์ บริการการศึกษา และธุรกิจอินเทอร์เน็ต อีกด้วย
แคธรีน แกรห์ม ไม่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ใน การบริหารธุรกิจเมื่อรับตำแหน่งประธาน
The Washington Post ในปี 2506 แต่เธอไม่ยอมปล่อยให้ฝ่ายบริหารบริษัทดำเนินการแต่
โดยลำพัง หากแต่ต้องการควบคุมและกำกับการบริหารและการพัฒนา บริษัทด้วยตนเอง
เธอเริ่มเรียนรู้การบริหารธุรกิจเมื่ออายุ 46 ปี ในขณะเดียวกับที่ต้องเลี้ยงดูบุตรธิดารวม
4 คน วอร์เรน บุฟเฟ็ตต์ (Warren Buffett) เป็นผู้คอยให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
ในอีกด้านหนึ่ง แคธรีนพึ่งพิง เบ็น แบรดลี (Ben Bradlee) เป็นขุนพลของ The
Washington Post
แคธรีนเป็นคนขี้อายและขาดความมั่นใจในตนเอง เธอมี ปัญหามิจำเพาะแต่การกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะ
แม้แต่การ กล่าวเปิดประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทหรือในที่ประชุมกอง บรรณาธิการก็มีปัญหา
เธอต้องใช้เวลาอย่างมากในการพัฒนา บุคลิกภาพและทักษะในการพูด วอร์เรน บุฟเฟ็ตต์
เล่าว่าแม้เมื่อ เธอดำรงตำแหน่งประธานบริษัทเกือบทศวรรษ การพูดใน ที่สาธารณะยังเป็นปัญหาที่เธอยังต้องเผชิญ
แม้แต่การกล่าวคำว่า Merry Christmas ยังต้องเขียนบท
ความพยายามในการสถาปนาระบบบรรษัทภิบาล (Good Corporate Governance) มีส่วนนำมาซึ่งความเจริญแก่
The Washington Post การไม่ใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือในการแสวง หาผลประโยชน์ส่วนบุคคล
ทั้งทางธุรกิจและทางการเมือง รวม ตลอดจนการให้ความเป็นอิสระแก่นักข่าวและกองบรรณาธิการนับเป็น
จุดเด่นของ The Washington Post และแคธรีน แกรห์ม ได้รับการ ยกย่องในเรื่องนี้
The Washington Post ทบทวีอิทธิพลและความน่าเชื่อถือ ทางการเมือง เมื่อตัดสินใจพิมพ์
The Pentagon Papers ในปี 2514 The Pentagon Papers เป็นเอกสารกระทรวงกลาโหมที่
แสดงข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลอเมริกันในสงครามอินโดจีน อันเป็นข้อมูลที่ประชาชนชาวอเมริกันไม่เคยได้รับรู้จากรัฐบาลของ
ตนเอง ดาเนียล เอ็ลสเบิร์ก (Daniel Ellsberg) ลักลอบนำเอกสาร เหล่านี้ออกจากกระทรวงกลาโหม
เมื่อหนังสือพิมพ์ The New York Times ตระเตรียมนำเอกสารเหล่านี้ออกตีพิมพ์รัฐบาลนิกสันขอ
อำนาจศาลยับยั้งการตีพิมพ์ The Washington Post ได้รับเอกสาร เหล่านี้เช่นเดียวกัน
กองบรรณาธิการผลักดันให้มีการตัดสินใจ เดินหน้าจัดพิมพ์ The Pentagon Papers
ทั้งๆ ที่ได้รับการ ทัดทานจากที่ปรึกษากฎหมายและคนใกล้ชิด เพราะมีความเสี่ยง
ทั้งทางการเมืองและธุรกิจ การตัดสินใจ ลุยของแคธรีนสะท้อน ให้เห็นถึงความยืนหยัดในหลักการเสรีภาพของสื่อมวลชน
The Washington Post โด่งดังจาก The Pentagon Papers ไม่พอ หากยังดังโด่งจากคดี
Watergate อีกด้วย ในปี 2515 สำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครตในตึก Watergate
นคร วอชิงตัน ดีซี ถูกบุกรุกและรื้อค้น สาธารณชนพากันเข้าใจว่าเป็น คดีโจรกรรมธรรมดา
แต่จากการเสาะหาข้อมูลของนักข่าว The Washington Post สองนาย อันได้แก่ บ็อบ
วูดเวิร์ด (Bob Woodward) และคาร์ล เบิร์นสไตน์ (Carl Bernstein) คดี โจร
กรรมนี้โยงใยไปถึงผู้เป็นใหญ่ในทำเนียบขาวและกลับกลายเป็น คดีการเมือง ประธานาธิบดีนิกสันและที่ปรึกษาใกล้ชิดเป็นผู้บงการ
การโจรกรรมเพราะต้องการดักฟังโทรศัพท์ในฐานที่มั่นของ พรรคเดโมแครต เนื่องจากกำลังย่างเข้าฤดูการเลือกตั้งประธานาธิบดี
แคธรีน แกรห์ม สั่ง ลุยผลก็คือ The Washington Post กลาย เป็นเป้าโจมตีของผู้นำพรรครีปับลิกันและบรรดาลิ่วล้อของประธานา
ธิบดีนิกสัน รวมทั้งตัวประธานาธิบดีด้วย อัยการสูงสุดถึงกับข่มขู่ ที่จะเอาแคธรีนเข้าคุก
แต่การขุดคุ้ยข้อมูลของ The Washington Post ให้ภาพความชั่วร้ายของริชาร์ด
นิกสัน และคนใกล้ชิด จนเกิด กระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีในรัฐสภา โดยที่ริชาร์ด
นิกสัน ต้องชิงลาออกในปี 2517 ก่อนรัฐสภาจะลงมติ
การตัดสินใจตีพิมพ์ The Pentagon Papers และการ รายงานข่าวคดี Watergate
สร้างชื่อเสียงแก่แคธรีน แกรห์ม เป็น อันมาก แคธรีนกลายเป็น "หญิงเหล็ก"
แห่งวงการการเมืองอเมริกัน ภาพของสตรีขี้อายผู้ไม่มีความมั่นใจในตนเองมลายหายไป
The Washington Post กลายเป็นหนังสือพิมพ์ระดับโลก
แคธรีน แกรห์ม ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร The Washington Post ในปี 2506 เธอออกจากตำแหน่ง
CEO ในปี 2534 โดยให้ โดนัลด์ แกรห์ม (Donald Grahm) บุตรชายคนโตดำรงตำแหน่ง
แทน แต่เธอยังคงเป็นประธานบริษัทจนถึงปี 2536 โดยบุตรชาย คนโตรับตำแหน่งสืบต่อจากเธอ
ในปี 2540 บันทึกความทรงจำของแคธรีน แกรห์ม ออก สู่บรรณพิภพ ในปีต่อมา
Personal History ได้รับรางวัล Pulitzer Prize โลกหนังสือได้รับรู้ความสามารถในการเขียนหนังสือของ
"ราชินี" แห่งนครวอชิงตัน ดีซี
หมายเหตุ และคำไว้อาลัย 1. ข้อมูลเกี่ยวกับ Katharine Graham ปรากฏใน The
Washington Post ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2544 ดู www.washingtonpost.com
2. รายงานข่าวของ BBC ดู "Katharine Graham : First Lady of the Post"
BBC News (July 17, 2001) ดู www.bbc.co.uk 3. บันทึกความทรงจำ ดู Katharine
Graham Personal History (New York : ALfred A.Knopf, 1997) หมายเหตุ เกี่ยวกับตารางภาคผนวก
(ข) ข้อมูลเกี่ยวกับ Nissin Food Products Co. Ltd. ในเรื่องนิชชินกับบะหมี่สำเร็จรูป
ฉบับที่แล้ว ที่ขาดตกบกพร่อง จึงขอนำตารางที่ถูกต้องมาลงแก้ไขในฉบับนี้ ขออภัยมา
ณ โอกาสนี้ด้วย
ตารางที่ถูกต้องคือ ภาคผนวก (ข) แทนตารางภาคผนวก (ก) ในหน้า 37