ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา อารยธรรมต่างๆ ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว อาณาจักรใหม่ได้ถูกค้นพบ และมีแรงผลักดันในการสำรวจ
คือ ธุรกิจ ผู้ที่มีความเจริญกล้าหาญ และต้องการลองสิ่งใหม่ๆ ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต
แต่อาณาจักรแห่งใหม่ ที่ว่านี้ มิได้หมายถึงอาณาจักร ที่เป็นดินแดน แต่หมายถึงระบบเศรษฐกิจใหม่ในยุคศตวรรษ ที่
21 ที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกัน และผลนั้น มีทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง
สังคม และ ธุรกิจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง
The Invisible Cotinent เป็น การมองธุรกิจในระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และ ที่จะเกิดต่อไปในอนาคต
Kenichi Ohmae ผู้แต่งหนังสือขายดีเรื่อง The Borderless World ได้ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ทางธุรกิจ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำเสนอมุมมองความคิดเกี่ยวกับหนทางการสร้างอาณาจักรทางธุรกิจอันเป็นสิ่ง ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้
(invisible continent)
ความคิด และมุมมองของ Kenichi จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้บริหาร ที่มีต่อโลก และธุรกิจของพวกเขา
หนทางการสร้างสรรค์ การทำการค้า และการแข่งขัน
อาณาจักรธุรกิจของไมโครซอฟท์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ารายได้ประชาชาติของหลายๆ
ประเทศนั้น ได้มีการถูกกล่าวถึงอยู่เนืองๆ แต่กระทั่งบัดนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแรงขับดันต่างๆ
ที่สร้างอาณาจักรนั้น ยังมิเคยได้ถูกศึกษา และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายแรงขับดันพื้นฐาน 4 สิ่งที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจยุคใหม่นี้
ซึ่งแรงขับดันต่างๆ นั้น จะก่อให้เกิดความเป็นมาตรฐานสากล อันจะถูกใช้เป็นอาวุธในการครอบ
ครองตลาดการค้า ตัวอย่างเช่น Kenichi ได้แสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษามาตรฐาน ที่ใช้อินเทอร์
เน็ต ทำให้ประเทศ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักได้เปรียบในการค้าบนอินเทอร์
เน็ต และแรงขับดันในอันดับต้น ก็คือ วิวัฒนาการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
การครอบครองอาณาจักรอันมองไม่เห็นนั้น ได้มีผลกระทบเป็นความกดดันทางการเมือง และสังคมทั่วโลก
ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วของคณะรัฐบาลอันมีผลสืบเนื่องมาจากการเสื่อมประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง
บทบาท ที่เพิ่มขึ้นขององค์กร และนักลงทุนต่างชาติ ความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นของผู้บริโภค และประชากรโลก
และอื่นๆ
ในขณะที่หลายฝ่ายได้ตระหนักว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเหล่านั้น ยังคงไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยังคงมีความเสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงผลประโยชน์หรือเอา ชนะโดยการแข่งขันในรูปแบบใหม่
ความ กดดันทางการเมือง และอื่นๆ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจ ที่แท้จริงเกี่ยวกับความเป็นไปของอาณาจักรใหม่
วิกฤติการณ์ทางการเงินในเขตเอเชียเป็นเครื่องบ่งชี้ ที่ชัดเจนให้เห็นถึงการมองโลกแบบสุดโต่งทั้งในแง่บวก และลบ
โดยมีสาเหตุเกิดจากการขาดความเข้าใจ ที่แท้จริง แม้กระทั่งบริษัท ที่มีรากฐานมั่นคงในอดีต
เช่น เจนเนอรัล อิเล็คทริก และไอบีเอ็ม ยังพบว่าตนเองพยายามทำความเข้าใจกับอาณาจักรใหม่
อันไม่สามารถมองเห็นนี้ หากพวกเขายังต้องการที่จะเติบใหญ่ในอนาคต
The Invisible Continent ได้ให้คำตอบในการผสมผสานความเก่า และความใหม่ให้ได้ผลอย่างประสบความสำเร็จ
Kenichi ได้แจกแจงกลยุทธ์ในการสร้างอาณาจักรใหม่ด้วยการทำความเข้าใจแรงผลักดันต่างๆ
อันเกิดจากระบบเศรษฐกิจใหม่
บทบาทของอาณาจักรใหม่ ธรรมเนียม และแง่มุม ที่ขัดแย้งของความเป็นจริงทางการเมืองภูมิภาค
ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญต่อการดำรงอยู่ในทศวรรษ ต่อๆ ไป รวมถึงการนำเสนอหนทางในการจัดการกับประเด็นของการผสมผสาน เพื่อ ที่ผู้ต้องตัดสินใจสามารถดำเนินการตัดสินใจ ที่นำมา ซึ่งผลสำเร็จ
Kenichi ได้รับการยกย่องอย่าง กว้างขวางว่าเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
เขาเป็นผู้แต่งหนังสือขายดีหลายเรื่อง เช่น The Mind of a Strategist, The
End of the Nation State และ The Borderless World เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
โท และเอก จาก Waseda University, Tokyo Institute of Technology และ MIT
ตามลำดับ ในอดีตเคยเป็นผู้อำนวยการบริษัท McKinsey ในญี่ปุ่นด้วย
ฐิติเมธ โภคชัย