พิพิธภัณฑ์วิทยา ศาสตร์ที่ South Ken- sington กรุงลอนดอน มีประวัติอันยาวนานเกือบศตวรรษครึ่ง
ตั้ง แต่ปี ค.ศ.1857 ที่เปิดทำการเป็นครั้งแรก จากนั้นได้เจริญเติบโต อย่างต่อเนื่อง
การแสดงในพิพิธภัณฑ์จะเน้นเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม
คือ เน้นเรื่อง Applied Science ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะประเทศอังกฤษเป็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรมของโลก
และเป็นต้นตำรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะว่าไปพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็มีจุดกำเนิดไม่ห่างจากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรม
และก็เจริญเติบโตควบคู่ไปกับโลกเทคโนโลยี
เป็นไปได้ที่สถานที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจแก่นักวิทยาศาสตร์
นักประดิษฐ์ และวิศวกรรุ่นต่อๆมา แต่โลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้สวยงามหมดจดเหมือนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
ผลพวงของการพัฒนาทางวัตถุที่เร็วเกินสมดุล ทำให้มนุษย์ต้องมาประหัตประหารกัน
ในระดับโลก ส่งผลให้พิพิธภัณฑ์ต้องหยุดทำการในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามสงบก็พัฒนากิจการอย่าง
ต่อเนื่อง ล่าสุดฉลองการย่างก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ ปี ค.ศ. 2000 ด้วยการเปิดส่วน
Welcome Wing ซึ่งเป็นจุดที่ผมกำลังยืนอยู่ตอนนี้
ชั้นที่ 2 (Second Floor) ของ Welcome Wing จัดแสดงเรื่องราวของโลกดิจิตอลซึ่งใช้ชื่อว่า
Digitopolis เสนอ ความรู้เกี่ยวกับการแปลงเสียงและภาพมาเป็นข้อมูลดิจิตอล
ซึ่งเนื้อหาบางเรื่องดูยุ่งยากซับซ้อน แต่ที่เด่นและมีผู้คนสนใจ มากหน่อยคือ
เรื่องราวของอินเทอร์เน็ต ผู้ชมสามารถสร้าง web page ส่วนตัวซึ่งจะไปปรากฏที่
web site ของพิพิธ ภัณฑ์ การสร้าง web page สามารถเสนอข้อมูลที่แสดงตัวตนของผู้สร้างได้หลายรูปแบบ
เช่น เสียงพูด ภาพถ่าย (ดิจิตอล) หรือลายนิ้วมือ ซึ่งในส่วนนี้ที่ "ซุ้มสร้าง
web page" จะมีเครื่องสแกนและอ่าน (Recognize) ลายนิ้วมือได้ ก็สามารถสร้างความสนุกสนานแก่ผู้เที่ยวชมพอสมควร
นอกจากนั้นก็มีเกมวิดีโอให้เล่นแต่ค่อนข้างเล่นยากและไม่สนุก จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมมีการเรียนรู้ทางอ้อมเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลและประโยชน์ในการใช้งาน
การนำเสนอค่อนข้างซับซ้อนคิดว่าจะเหมาะกับเด็ก โตหรือผู้ใหญ่
ชั้นที่ 3 (Third Floor) ของ Welcome Wing จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับจินตนาการของโลกอนาคต
ในรูปแบบของการเล่นเกมหลายๆ คนพร้อมกัน คือ มีโต๊ะซึ่งมีภาพฉายลงมาเหมือนเป็น
จอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ให้ผู้ชมเข้ามาเล่นเป็น กลุ่มแรก เห็นก็ดูสนุก แต่พอเล่นแล้วพบว่าเป็น
คอนเซ็ปต์ที่เข้าใจยากและเกมก็ไม่สนุกอย่างที่คิด เนื่องจากวิธีการนำเสนอค่อนข้างพลิกแพลงและแปลกประหลาดจนเกินไป
เห็นมีผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาเล่นเกมกันพอสมควร แต่ลงท้ายด้วยสีหน้างงๆ
กันไป ชั้นนี้เป็นชั้นสูงสุดของ Welcome Wing ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก ตามรูปทรงของการก่อสร้าง
ที่เป็นเหมือนพีระมิดในร่ม
จากชั้นที่ 3 ของ Welcome Wing มีทางเดิน เข้าสู่ชั้นที่ 3 ของ Main Building
ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องบินและเทคโนโลยีการบิน ถัดไปเป็นพื้นที่จัดเสดงความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
การบินให้เด็กๆ เรียกว่า Flight Lab ผมแวะทานของ ว่างที่ร้านใกล้ๆ กันนี้
เพื่อเป็นการพักขาและสมอง ด้วยเหตุว่ามีเวลาไม่มากในการเที่ยวชมครั้งนี้และ
ต้องเดินดู และคิดอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สถานที่ก็กว้างใหญ่และมีสิ่งต่างๆ
ให้ดูและคิดจำนวนมาก ถัด จาก Flight Lab ไปยังอีกส่วนของตึก (ยังอยู่ที่ชั้น
3) เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแพทย์ มุมแสดงกล้องถ่ายภาพ ธรณีวิทยาและสมุทรศาสตร์
ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดแสดงเป็น Display เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับหัวข้อที่กล่าวมา
มุมที่น่าสนใจอีกมุมของชั้นนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับแสง (Optics) มีการจัดแสดงภาพสามมิติ
Hologram สวยๆ หลายภาพ รวมทั้งยังมีชุดแสดงหลักการของ Hologram ทั้งชนิดแสงเลเซอร์ล้วนๆ
และชนิดใช้แสงจากหลอดไฟผสม
เดินลงบันไดสู่ชั้นที่ 2 ของตึกด้านทิศตะวันออก เป็นที่จัดแสดงความรู้เกี่ยวกับ
Nuclear Physics และ Nuclear Power ส่วนใหญ่จะเน้นที่การประยุกต์ใช้งานด้านพลังงาน
มีส่วนน้อยที่จะอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีทาง ฟิสิกส์ ถัดมาเป็นโรงงานเคมีขนาดย่อส่วน
ซึ่งแสดงประวัติ ศาสตร์พัฒนาการของอุตสาหกรรมเคมี มุมแสดงเทคโนโลยี การพิมพ์ในอดีต
จากนั้นเดินเข้าสู่ตึกกลางเป็นเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และการคำนวณ จุดเด่นที่สุดอยู่ที่เครื่องจักร
กลคำนวณ Difference Engine No.1 และ 2 ซึ่งออกแบบโดย Charles Babbage นักคณิตศาสตร์สถิติอัจฉริยะชาวอังกฤษ
เครื่องจักรกลนี้ผลิตจากการนำฟันเฟืองจำนวนมหาศาลมาทำการบวกลบเลข ในลักษณะที่สลับซับซ้อนให้สามารถคำนวณค่าของฟังก์ชั่นยากๆ
ได้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นเสมือนบรรพบุรุษ (จักรกล) ของเครื่องคอมพิว เตอร์ในปัจจุบัน
ใกล้ๆ กัน มีผลงานศิลปินที่นำไอเดียทาง คณิตศาสตร์ วิชาเรขาคณิตหลายมิติ
มาสร้างเป็นรูปต่างๆ เช่น Kline Bottle (ภาพเสมือนพื้น ผิว 4 มิติที่มีแต่
"ข้างนอก") ซ้อนๆ กันหลายๆ ชั้น พื้นที่ใหญ่โตที่เหลือของชั้นนี้มีไว้
สำหรับการจัดแสดงวิวัฒนาการ ของ Marine Engineering ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโมเดลใหญ่น้อยของเรือชนิดต่างๆ
จากเก่ามาใหม่ ผมไม่มีเวลาพอที่จะเดินให้ทั่ว
จากชั้นที่ 2 เดินลงมาชั้นที่ 1 (First Floor ซึ่งคือ ชั้นที่ 2 จากระดับพื้นดิน)
จะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของวัสดุ (ที่ใช้ในการก่อสร้างและการผลิต
ฯลฯ) การสื่อสารโทรคมนาคม อาหาร อุทกศาสตร์เครื่องยนต์ก๊าซ และเรื่องของก๊าซ
การเกษตรอุตสาหกรรม และเครื่องบอกเวลา เนื่องจากใกล้เวลาปิด (18.00 น.) ผมต้องเดินจ้ำไม่หยุด
ดูบ้างข้ามบ้าง แต่ไม่วายที่จะต้องมาหยุดดูมุมเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลา ซึ่งดูสนุกมาก
ที่มุมนี้จะมีเครื่องบอกเวลา หรือนาฬิกาชนิดต่างๆ รวมถึงปฏิทินจักรกลที่แปลกพิสดารเกินคาดคิด
จัดแสดงไว้มาก มายหลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นกลไกข้างในที่สลับซับซ้อนและที่น่าสนุกคือหลายๆ
ชิ้นยังทำงาน ได้ กว่าจะเดินถึงทางออกก็หมดเวลาพอดี เช่นเดียว กับหลายๆ สถานที่ที่เป็นแหล่งเที่ยวชมคือ
ทางออก มักจะเป็นร้านขายของที่ระลึก เพื่อให้ผู้คนที่ปลื้มจากการเที่ยวชมได้จับจ่าย
หาของที่ระลึกไปฝากใครต่อใคร หรือเอาไว้คุยอวดเมื่อมีโอกาส โชคดีที่หมดเวลา
ทำให้ผมได้ประหยัดเงินบาท
เสร็จสิ้นการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ที่ South Kensington ก็ได้รับความประทับใจอยู่ไม่น้อย
ได้เห็นและรู้สึกถึงพลังแห่งความรู้ ความอุต-สาหะและตั้งใจ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือ
นำพาชาติสู่ความยิ่งใหญ่ ผมไม่ได้ยกย่องโลกของ การพัฒนาวัตถุหรือโลกตะวันตกด้วยเหตุของ
"ความได้เปรียบ" แต่ผมมองว่าเทคโนโลยีและการ พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ขณะ เดียวกันความรู้สึกนึกคิด (จิตใจ) ที่ดีของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาไปพร้อมๆ
กันเพื่อให้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ในทางสร้างสรรค์ คราวหน้า ผมจะปิดท้ายทัวร์พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่เมืองไทยครับ
แล้วพบกัน