ภายหลังเปิดธุรกิจบาร์เทอร์คาร์ด ในเมืองไทยได้ 1 ปี ปรากฏว่าได้รับ ผลตอบรับจากผู้ประกอบการ
ในเมืองไทยมากถึง 400 ราย พร้อมตั้งเป้าว่าจะขยายสมาชิกได้ถึง 1,000 รายภายในปีค.ศ.2000
ในยามเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะวิกฤติ จะมีธุรกิจเพียงไม่กี่ธุรกิจเท่านั้น ที่สามารถอยู่รอดหรือเกิดใหม่ขึ้นมาได้
ธุรกิจบาร์เทอร์ หรือธุรกิจแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการโดยไม่ใช้เงินสด เป็นธุรกิจ ที่อยู่ได้ในทุกสภาวะของเศรษฐกิจ
และมีมาช้านานแล้ว เป็นธุรกิจ ที่ไม่ต้องใช้ "เงินสด" แต่ต้องมี
"สินค้า"มาแลกเปลี่ยน ซึ่งกัน และกัน
ธุรกิจบาร์เทอร์ในประเทศไทยเองก็มีมานานแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อกันระหว่างธุรกิจกับธุรกิจตามความเหมาะสม และพอใจของทั้ง
2 ฝ่าย ไม่ได้มีรูปแบบ ที่ตายตัว จนกระทั่งเมื่อเดือนพ.ศ.2541 บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด
(ประเทศไทย) ได้เปิดดำเนินการ โดย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล และบริหารการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างสมาชิกด้วยกัน
ซึ่งสมาชิกแต่ละรายจะได้รับบาร์เทอร์คาร์ด ที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายบัตรเครดิต
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการ โดยมีหน่วยวัดมูลค่าการซื้อขายเป็ย
"เทรดบาท" ซึ่งสมาชิกสามารถสะสมหรือนำไปใช้ได้ตามต้องการ การค้าในรูปแบบของการ
"แลกเปลี่ยน" ในเมืองไทย จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบ โดยใช้ระบบการค้าแลกเปลี่ยนตามแนวคิดดั้งเดิมเป็นหลักในการดำเนินงาน
ผนวกเข้ากับความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความรับผิดชอบ ความน่าเชื่อถือ รวมทั้งการรับรองผล และความพึงพอใจสูงสุด
สำหรับค่าใช้จ่าย ที่สมาชิกในประเทศไทยต้องรับผิดชอบประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมแรกเข้าในอัตรา
14,900 บาทต่อราย พร้อมทั้ง 6% ของมูลค่าการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้ง และอัตราค่าธรรมเนียมรายเดือนเดือนละ
400 บาท (เป็นเงินสด) และ 400 เทรดบาท (เป็นเครดิต) ซึ่งหากสมาชิกรายใดมียอดค้างชำระ
อัตราค่าธรรมเนียมนี้ก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยกเลิกการเป็นสมาชิก
"การเข้าเป็นสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ดมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ข้อดีคือ สามารถเก็บเงินสดไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้ ส่วนข้อเสียคือ ราคาสินค้า ที่นำมาบาร์เทอร์จะมีราคาสูงกว่าสินค้า ที่ซื้อด้วยเงินสด"
เป็นความเห็นของสมาชิกรายหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสิ่งประดิษฐ์งานฝีมือส่งออก
มียอดขายปีละประมาณ 1.5 ล้านบาท เข้าร่วมเป็นสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ดได้ ประมาณ
1 ปีเศษ ใช้บริการไปแล้วเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 เทรดบาท บริการที่ใช้ได้แก่
พิมพ์นามบัตร ตั๋วเครื่องบิน และ ที่พักโรงแรมในต่างประเทศ
ปัจจุบันบาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) มีสมาชิกประมาณ 400 ราย และมีอัตราการขยายตัวของการแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นประมาณ
10% ต่อเดือน และในปีใหม่นี้ ทางบริษัทฯ คาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกกว่า
500 ราย โดยเฉพาะสมาชิก ที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจะมีมากขึ้น
ทั้งนี้ เกรแฮม เบรน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย)
จำกัด เคยกล่าวถึงศักยภาพของธุรกิจนี้ในเมืองไทย เมื่อแรกเริ่ม ที่เปิดตัวบริษัทเมื่อ
1 ปีที่ผ่านมาว่า กรุงเทพฯ เป็นเมือง ที่มีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอยู่จำนวนมาก
ซึ่งจะเป็นฐานลูกค้าเราได้อย่างดี และบริการของบาร์เทอร์คาร์ดจะเข้าไปช่วยเพิ่มยอดขาย
เพิ่มกำไร ช่วยจัดการเรื่องสินค้าคงเหลือ และ ที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยประหยัดเงินสด
ซึ่ง "เงินสด" เป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับบริษัทเหล่านี้
นอกจากนั้น เขายังกล่าวถึงประโยชน์ของระบบการแลกเปลี่ยนสินค้านี้อีกว่า ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการแบบบาร์เทอร์
เป็นรูปแบบ ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ ที่ต้องการเพิ่มปริมาณการค้า และขยายฐานลูกค้าออกไปทั่วโลกในสหัสวรรษใหม่นี้
ขณะเดียวกันสามารถประหยัดเงินสด ช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง และเพิ่มความปลอดภัยความมั่นใจในการทำธุรกิจได้อย่างเต็มที่
โดยผ่านเครือข่ายบาร์เทอร์คาร์ด ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก อันเป็นแนวโน้มของการทำธุรกิจในระบบการค้ายุคใหม่
และด้วยวิธีดังกล่าว เขากล่าวเสริมว่า "สมาชิกของบาร์เทอร์คาร์ดจะมีโอกาสได้พบคู่ค้าใหม่ๆ
พร้อมทั้งช่วยลดการใช้เงินสดโดยไม่จำเป็นด้วยการใช้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยของบาร์เทอร์คาร์ด
และการใช้จ่ายผ่านบัตรบาร์เทอร์คาร์ดแทนเงินสด องค์กรธุรกิจทุกประเภท ทุกขนาด
จะได้รับการรับประกันว่าสามารถทำการซื้อขายได้ทั้งในระบบท้องถิ่น ระดับประเทศ
หรือแม้แต่ระหว่างประเทศได้อย่างสะดวก ไม่มีปัญหา"
"บาร์เทอร์คาร์ด" เปิดดำเนินการในประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรกเมื่อ
8 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีสาขาแฟรนไชส์ทั้งสิ้น 47 สาขา ใน 9 ประเทศ ได้แก่
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ศรีลังกา แคนาดา มาเลเซีย เลบานอน และประเทศไทย
และมีสมาชิก ที่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กกว่า 30,000
ราย รวมทั้งกิจการในเครือบริษัทชั้นนำในอเมริกา และญี่ปุ่นอีกกว่า 100,000
ราย และในแต่ละเดือนจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 500 ราย และผลการดำเนินงานในปี
2542 มีมูลค่าธุรกิจทั่วโลกกว่า 16,000 พันล้านบาท