Owner-managed Old Business

โดย ฐิติเมธ โภคชัย
นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

การดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวดั้งเดิม เป็นส่วนหนึ่งของ การทำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเผชิญวิกฤติ ในการพยายามปรับตัวเข้าสู่การทำงานในโลกยุคใหม่

ธรรมชาติการทำงานของธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการเป็นผู้บริหาร (owner-managed business) ส่วนใหญ่มีรูปแบบการทำงานค่อนข้างลำบาก และไม่สามารถประนีประนอมระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความต้องการทางธุรกิจได้

ธุรกิจรูปแบบดังกล่าว เจ้าของกิจการมีอิทธิพลต่อการจัดการซึ่งมีความเป็นวัฒนธรรมแฝงอยู่ และเป็นปัญหาต่อการแยกแยะการดำเนินธุรกิจ การบริหารงานจึงขัดแย้งในด้านโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและ ครอบครัว

"เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าจะมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นและมีศักยภาพในการทำงานเป็นอย่าง มาก" เคลย์ตัน เฮบบาร์ด หุ้นส่วนผู้จัดการแกรนท์ ธอร์นตัน ประจำประเทศไทยกล่าว

แกรนท์ ธอร์นตัน เป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อบริการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจครอบครัว ที่มีปัญหาภายในและมีความขัดแย้งโดยที่ไม่มีใครชี้ให้เห็นถึงปัญหาเหล่านั้น

จากงานวิจัยของแกรนท์ ธอร์นตัน พบ ว่า ประมาณ 70% ของธุรกิจครอบครัวไม่สามารถส่งต่อธุรกิจให้รุ่นลูกได้ และประมาณ 90% ไม่สามารถส่งต่อให้รุ่นหลานได้ มีเพียง 10% ที่สามารถสืบทอดแล้วส่งต่อให้รุ่นที่ 3 ได้

สาเหตุเกิดจากการแข่งขันธุรกิจส่งผล ให้ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถแยกแยะปัญหาการดำเนินธุรกิจ ออกจากปัญหาครอบครัวได้อย่างชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเติบใหญ่ในสถานการณ์ดังกล่าว

ธุรกิจการบริหารงานโดยเจ้าของมีแนวโน้มที่จะเป็นไปโดยอิงกับคุณภาพ ความทะเยอทะยาน และทักษะความสามารถของผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นหลักสิ่งนี้นับเป็นข้อดี แต่ในขณะเดียวกันอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ "ถ้าความตั้งใจในการดำเนินงานของผู้เป็นเจ้าของกิจการ อาจจะไม่ตรงกับความต้องการในตัวธุรกิจเสมอไป ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียในการดำเนินงานได้" เฮบบาร์ดเล่า

"เราพบเห็นอยู่ทั่วไปว่าธุรกิจรูปแบบนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของคนในครอบ ครัว และเรื่องธุรกิจในครอบครัว ซึ่งมีความขัดแย้งอยู่ในตัว" แอนดริว กอดเฟรย์ ผู้อำนวย การใหญ่แกรนท์ ธอร์นตันบอก

ปัญหาของเจ้าของธุรกิจครอบครัวมีความสับสนในเรื่องการนำเอาปัญหาส่วนตัว และครอบครัวเข้ามาปะปนกับการดำเนินธุรกิจ ครอบครัวเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ขณะเดียว กันการดำเนินธุรกิจก็เป็นเรื่องวัฒนธรรมด้วย ดังนั้นการผสมผสานกันต้องมีความเหมาะสม

"เราเข้าไปช่วยให้พวกเขามองเห็นถึงปัญหาแล้วแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและกลม กลืน" กอดเฟรย์ชี้ "ความขัดแย้งในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นประเด็นหลักที่สามารถทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงานไปได้ในอนาคต"

เจ้าของธุรกิจมักจะอดใจไม่ไหวที่จะนำเงินทุนส่วนตัวไปใช้ในธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยง การพึ่งพาเงินลงทุนภายนอก ผลที่ตามมาอาจ จะทำให้ธุรกิจขาดเงินทุนจำเป็นต้องใช้ในการ รักษาความสามารถในการแข่งขันหรือเติบโต ความขัดแย้งที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ เพราะปัญหาจากการควบคุมการบริหารและการสืบทอดธุรกิจ การโอนทรัพย์สิน หรือนโยบาย การจ่ายผลตอบแทนที่ไม่ได้หารืออย่างเปิดกว้างภายในครอบครัว

ความล้มเหลวในการสื่อสาร ก็เป็นอีก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา บางครั้งความขัดแย้งยืดเยื้อนานหลายปี นั่นหมายถึงความเสีย หายยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ความคิดของเจ้าของธุรกิจครอบครัว

1. หากมีผู้ถือหุ้นนอกตระกูลเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเขาจะได้อะไรกลับไปบ้าง?

2. ผู้ถือหุ้นนอกตระกูลจะสามารถทำให้ธุรกิจครอบครัวเปลี่ยนแปลงในทิศทางไหน?

3. ทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจหามาได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีความวุ่นวายเกิดขึ้น?

4. คนนอกตระกูลบริหารงานได้ดีกว่าคนในครอบครัวหรือไม่?

5. จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจมีพาร์ตเนอร์ แล้วคนในครอบครัวมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับผู้ถือหุ้น?

6. เกิดอะไรขึ้นถ้าคนในครอบครัวเกิดการแตกแยกกัน?



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.