ธีรพจน์ วัชราภัย ถือเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย
บริษัทน้ำมันสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาแล้ว 109
ปี
แม้ว่าโดยภาพภายนอก การแต่งตั้งคนไทยขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว เสมือนเป็นการประกาศนโยบายในการให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่น
แต่สำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทน้ำมันแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง
ย่อมทราบดีว่าการตัดสินใจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่แฝงอยู่
คนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ
กิติยากร โดยอยู่ในตำแหน่งระหว่าง ปี 2527-2537
ในช่วงนั้น รอยัลดัทช์เชลล์กำลังมีแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย คือ
การขอเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก
ขณะนั้นในประเทศไทย มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่เพียง 3 แห่งคือโรงกลั่นไทยออยล์
และเอสโซ่ ที่ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และโรงกลั่น น้ำมันบางจาก ในกรุงเทพฯ
การลงทุนตั้งโรงกลั่นช่วงนั้น ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่มีเพียงรอยัลดัทช์เชลล์เพียงแห่งเดียวที่ต้องการลงทุน
ยังมีบริษัทคาลเท็กซ์ จากอเมริกา ก็แสดงความจำนงต้องการเข้ามาตั้งโรงกลั่นในไทยเช่นกัน
คนในวงการธุรกิจน้ำมันคงจำกันได้ว่าในช่วงปี 2534-2535 ข่าว การวิ่งเต้นเพื่อขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันของยักษ์ใหญ่ทั้ง
2 แห่ง เป็นข่าวที่มีสีสันขึ้นหน้า 1 ทางหน้าหนังสือพิมพ์แทบ ทุกวัน โดยเชลล์ใช้ประธานคนไทยคนแรก
คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ เป็นคนเดินเกม ขณะที่ฝ่ายคาลเท็กซ์ก็ได้มอบหมายให้สุขวิช
รังสิตพล ซึ่งได้รับมอบตำแหน่งสูงสุดในบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ประเทศไทย เป็น
คนทำหน้าที่เดียวกัน
และในที่สุดบริษัทน้ำมันทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการอนุมัติให้สร้างโรงกลั่นได้ในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของธุรกิจน้ำมันขณะนี้ ได้เปลี่ยนไปจากเมื่อ 10
ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก เห็นได้จากโรงกลั่นที่แข่งกันจัดตั้งทั้ง 2 แห่ง ถึงที่สุดก็ไม่สามารถยืนอยู่ด้วยตนเองได้
ต้องจับมือเป็น พันธมิตรช่วยประคองธุรกิจให้กันและกันอยู่ในขณะนี้
ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันนี้ ถูกแรงบีบหลายด้าน โดยเฉพาะการ เข้ามาของโคโนโค
เจ้าของปั๊มเจ็ท ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถดึง ส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากเข้าไปได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
ขณะที่พฤติกรรมของคนไทย ในการเข้าไปใช้บริการในสถานี บริการน้ำมัน ก็เปลี่ยนไปจากการเติมน้ำมันเพียงอย่างเดียว
กลายเป็นการเข้าไปจับจ่ายสินค้า และบริการประเภทอื่นด้วย
ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องกระโจนลงไปแข่งขันในตลาดค้าปลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การแต่งตั้งธีรพจน์ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจ ค้าปลีก ขึ้นมาเป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย
ซึ่งเป็นคนไทย คนที่ 2 ที่ได้ตำแหน่งนี้ แสดงให้เห็นว่า รอยัลดัทช์เชลล์
บริษัทแม่มี นโยบายที่จะรุกในเรื่องค้าปลีกอย่างจริงจังมากขึ้น
โดยมีงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในปีแรกที่ธีรพจน์เข้ามารับตำแหน่งถึง
500 ล้านบาท
การแข่งขันด้านค้าปลีกของบริษัทน้ำมัน หลังจากนี้ไปน่าจะมีความเข้มข้นมากขึ้น
เธีรพจน์ วัชราภัยมื่อเชลล์ต้องโดดลงมาแข่ง ในธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัว
ธีรพจน์ วัชราภัย ถือเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย
บริษัทน้ำมันสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาแล้ว 109
ปี
แม้ว่าโดยภาพภายนอก การแต่งตั้งคนไทยขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว เสมือนเป็นการประกาศนโยบายในการให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่น
แต่สำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทน้ำมันแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง
ย่อมทราบดีว่าการตัดสินใจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่แฝงอยู่
คนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ
กิติยากร โดยอยู่ในตำแหน่งระหว่าง ปี 2527-2537
ในช่วงนั้น รอยัลดัทช์เชลล์กำลังมีแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย คือ
การขอเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก
ขณะนั้นในประเทศไทย มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่เพียง 3 แห่งคือโรงกลั่นไทยออยล์
และเอสโซ่ ที่ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และโรงกลั่น น้ำมันบางจาก ในกรุงเทพฯ
การลงทุนตั้งโรงกลั่นช่วงนั้น ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่มีเพียงรอยัลดัทช์เชลล์เพียงแห่งเดียวที่ต้องการลงทุน
ยังมีบริษัทคาลเท็กซ์ จากอเมริกา ก็แสดงความจำนงต้องการเข้ามาตั้งโรงกลั่นในไทยเช่นกัน
คนในวงการธุรกิจน้ำมันคงจำกันได้ว่าในช่วงปี 2534-2535 ข่าว การวิ่งเต้นเพื่อขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันของยักษ์ใหญ่ทั้ง
2 แห่ง เป็นข่าวที่มีสีสันขึ้นหน้า 1 ทางหน้าหนังสือพิมพ์แทบ ทุกวัน โดยเชลล์ใช้ประธานคนไทยคนแรก
คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ เป็นคนเดินเกม ขณะที่ฝ่ายคาลเท็กซ์ก็ได้มอบหมายให้สุขวิช
รังสิตพล ซึ่งได้รับมอบตำแหน่งสูงสุดในบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ประเทศไทย เป็น
คนทำหน้าที่เดียวกัน
และในที่สุดบริษัทน้ำมันทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการอนุมัติให้สร้างโรงกลั่นได้ในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของธุรกิจน้ำมันขณะนี้ ได้เปลี่ยนไปจากเมื่อ 10
ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก เห็นได้จากโรงกลั่นที่แข่งกันจัดตั้งทั้ง 2 แห่ง ถึงที่สุดก็ไม่สามารถยืนอยู่ด้วยตนเองได้
ต้องจับมือเป็น พันธมิตรช่วยประคองธุรกิจให้กันและกันอยู่ในขณะนี้
ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันนี้ ถูกแรงบีบหลายด้าน โดยเฉพาะการ เข้ามาของโคโนโค
เจ้าของปั๊มเจ็ท ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถดึง ส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากเข้าไปได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
ขณะที่พฤติกรรมของคนไทย ในการเข้าไปใช้บริการในสถานี บริการน้ำมัน ก็เปลี่ยนไปจากการเติมน้ำมันเพียงอย่างเดียว
กลายเป็นการเข้าไปจับจ่ายสินค้า และบริการประเภทอื่นด้วย
ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องกระโจนลงไปแข่งขันในตลาดค้าปลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การแต่งตั้งธีรพจน์ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจ ค้าปลีก ขึ้นมาเป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย
ซึ่งเป็นคนไทย คนที่ 2 ที่ได้ตำแหน่งนี้ แสดงให้เห็นว่า รอยัลดัทช์เชลล์
บริษัทแม่มี นโยบายที่จะรุกในเรื่องค้าปลีกอย่างจริงจังมากขึ้น
โดยมีงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในปีแรกที่ธีรพจน์เข้ามารับตำแหน่งถึง
500 ล้านบาท
การแข่งขันด้านค้าปลีกของบริษัทน้ำมัน หลังจากนี้ไปน่าจะมีความเข้มข้นมากขึ้น