สหัสวรรษใหม่รอมนุษยชาติอยู่ข้างหน้า ไม่ใกล้ไม่ไกลแค่พอให้ระทึกยามนึกถึง
การดำริทบทวนประสบการณ์และความสำเร็จที่มนุษย์ได้รับมา เพื่อเตรียมความคิดสำหรับประสบการณ์ใหม่ๆ
และความสำเร็จใหม่ๆ ช่างเป็นอะไรที่เร้าใจ พร้อมกับให้ความ รู้สึกถ่อมเนื้อเจียมตัวต่อสัจธรรมว่า
มนุษย์เป็นเพียงองคุลีน้อยๆ ที่ถูกเรียงร้อยอยู่ในกระบวนอันมโหรทึกของอารยธรรมเสียจริงๆ
ขณะเดียวกัน อารยธรรมแห่งมนุษยชาติก็ช่างกระจ้อยร่อยนักภายในกระแสไม่รู้จบแห่งมิติของกาลเวลา
ด้วยว่าอารยธรรมที่ห้อม ล้อมมนุษย์นี้ เพิ่งเดินไปสู่หลักปักเวลาแห่งสหัสวรรษหมายเลขสามเท่านั้น
ภายในเส้นทางแห่งสหัสวรรษหมาย เลขสอง ซีกส่วนหนึ่งที่ใหญ่โตมากประกอบขึ้นด้วยกิจกรรมที่มุ่งสู่การ
ยกระดับวิถีชีวิตของมนุษย์ ให้มีความ สะดวกขึ้น มีความมั่งคงปลอดภัย ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตที่ยืนยาวและเป็นปกติสุข
กิจกรรมดังกล่าวครอบคลุมถึงการพัฒนาวิทยาการเพื่อประดิษฐ์คิดค้นสินค้าและระบบปฏิบัติการต่างๆ
ซึ่งต้องอาศัยพาณิชยกรรมเป็นกระบวนการเชื่อมโยงและเป็นแรงจูงใจ อีกทั้งต้องมีทุนทรัพย์ปริมาณมหาศาลเป็นตัวอัดฉีดให้กงล้อแห่งอารยธรรมเดินหน้า
กิจกรรมข้างต้นได้ผุดขึ้นในหลายพื้นที่ หลายชุมชน สั่งสมประสบ การณ์ของตัวเองขึ้นจนกลายเป็นกระแส
หลักที่ห้อมล้อมมนุษย์อยู่ในปัจจุบัน การเหลียวหลังแลมองเส้นทางแห่งสหัสวรรษหมายเลขที่สอง
จึงเป็นอาหารอร่อยสมองและท้าทายความรับรู้ พร้อมกับเปิดสายตาอย่างใหม่ต่อการมองสรรพสิ่งรายล้อมเรา
ที่เราคิดว่ารู้จักมักคุ้นเป็นอันดี
วิทยาการแห่งสหัสวรรษที่ 2
ในประวัติศาสตร์แห่งวิทยาการ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของโธมัส เอ ดิสัน ในนิวเจอร์ซีย์
ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 1876 และได้รังสรรค์สิ่งที่มีคุณูปการมหาศาลแก่มนุษย์
คือหลอด ไฟฟ้า และพัฒนาต่อไปเป็นระบบผลิตความสว่างแก่พื้นที่ขนาดใหญ่โดย
ไม่ต้องพึ่งพาดวงอาทิตย์ และย่านวอลล์สตรีทคือพื้นที่แรกที่ได้รับการจุดสว่างไสวหลังทินกรอัสดงไปแล้ว
และเมื่อการทดลองประสบความสำเร็จ งดงาม อภิโปรเจกต์แห่งการผลิตความสว่างเพื่อขาย
กลายเป็นรายการระดมทุนที่ร้อนแรงเสียยิ่งกว่าตัวหลอดไฟเสียอีก
ก่อนหน้าและภายหลังเอดิสัน โลกได้ต้อนรับนักประดิษฐ์นักคิด นักวิทยาศาสตร์อื่นอีกหลายหลาก
รายหนึ่งที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่าเอดิสัน แต่ก็ได้สร้างคุณูปการใหญ่หลวงพอๆ
กัน คือเจ้าชายเฮนรี บิดาแห่งนักเดินเรือของโปรตุเกส
ประมาณทศวรรษ 1420 เจ้าชายองค์นี้รวบรวมบรรดานักเขียนแผนที่ นักเดินเรือ
และนักต่อเรือ มาประชุมกันในป้อมแห่งหนึ่งของเมืองซาเกรซ โปรตุเกส เพื่อพัฒนาวิทยาการด้านการเดินเรือ
ผลงานในคราวนั้นคือก้าว กระโดดสำคัญที่เอื้ออวยให้นักสำรวจจากยุโรปขยายศักยภาพ
การเดินทางไกลออกไปในท้องมหาสมุทรอันกว้างขวางพิสดาร จนสามารถไปถึงแผ่นดินถิ่นอินเดีย
จีน และอเมริกา
สิ่งที่ติดตามมาคือโฉมหน้าใหม่ แก่อารยธรรมมนุษย์ ที่มีสงครามและการค้า
มีทรัพย์ศฤงคารและการลงทุน มีหยาดเหงื่อรอยยิ้มและหยดเลือดคราบน้ำตา ประกอบขึ้นเป็นรายละเอียดตกแต่งอยู่ตลอดเส้นทางของสหัสวรรษที่สองนี้
ไฟฟ้าและวิทยาการด้านการเดินทางขนส่งระยะไกลคือตัวอย่างบาง ส่วนของประดาองค์ประกอบระดับรากฐานของอารยธรรม
ไฟฟ้าคือพื้นฐานแก่การแตกแขนงออกไปเป็นสารพัดสิ่งของเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การใช้ชีวิต
เพื่อยกระดับการบริโภค กับเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อเนื่องขึ้นไป ขณะเดียวกัน
วิทยาการด้านการเดินเรือคือพื้นฐานแก่การขยายศักยภาพการ ติดต่อสื่อสารให้แก่มนุษยชาติ
พร้อมกับเป็นการเปิดสู่แหล่งทรัพยากรที่หลากหลายมากขึ้น เปิดสู่ตลาดรองรับสินค้าที่กว้างขวางขึ้นหลายเท่าตัวเกินจะคณานับ
อย่างไรก็ตาม เท่านั้นยังไม่พอเพียงที่จะขับเคลื่อนให้อารยธรรมสะสม ตัวเองไปในอัตราเร่งสูง
หากแต่ยังมีวิทยาการด้านการพิมพ์เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญ ในรอยต่อแห่งเส้นทางการสะสมความรู้และการเผยแพร่ความรู้นั้น
ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นของโจฮาน กูเตนแบร์กคือสิ่งที่ต้องเอ่ยอ้าง ถึง
โลกแห่งความรู้ก่อนทศวรรษ 1450 ได้ใช้บริการของระบบการพิมพ์ แบบสลักภาพอักษรบนแผ่นแม่พิมพ์ที่ทำด้วยไม้
แล้วฉาบน้ำหมึกก่อนจะนำไปกดบนกระดาษ วิทยาการดังกล่าวให้ความรู้สึกดี สง่างดงาม
แต่อนิจจา มันคือกระบวนการที่ใช้เวลามากและจึงมีราคาสูงซึ่งหมายถึงว่าเฉพาะผู้มีอันจะรับประทาน
ขุนนาง พระ และเจ้านายราชสำนักจึงสามารถซื้อหามาบริโภคเป็นอาหารสมองได้
ในทศวรรษ 1450 กูเตนแบร์กประดิษฐ์ระบบการพิมพ์ใหม่ขึ้นมา โดยประดิษฐ์ตัวอักษรเดี่ยวที่สามารถนำไปเรียงต่อๆ
ขึ้นเป็นคำ เป็นประโยค และกลายเป็นแม่พิมพ์สำหรับหนึ่งหน้ากระดาษ เมื่อพิมพ์หน้าหนึ่งๆ
เสร็จ หรือเมื่อภารกิจหนึ่งๆ จบสิ้นแล้ว ก็สามารถถอดแยกตัวอักษร นำไปเรียงพิมพ์ข้อความหน้าใหม่
หรือจัดทำเป็นเอกสารภารกิจใหม่ได้ จำนวนการผลิต เอกสารหนังสือจึงรวดเร็วและมีปริมาณ
ที่มากขึ้นหลายพัน หลายหมื่น หลายแสนเท่าตัว และทำให้ราคาต่อหน่วยถูกลงมาก
ดังนั้น การบริโภคความรู้จึงกระจายสู่ผู้คนกว้างขวางกว่าเดิม และจากนั้นจึงเกิดพลังสนับสนุนให้การรู้หนังสือกลายเป็นเรื่องแพร่หลายสู่วงกว้าง
เล่ากันว่ากูเตนแบร์กใช้เทคนิคของเขาตีพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลเป็นจำนวนมหาศาลกว่าที่เคยเป็นมาก่อนหน้าเขา
และแล้วผลงานของกูเตนแบร์กก็ได้เป็น หน่ออ่อนของการปฏิวัติประชาธิปไตย หนังสือกลายเป็นสินค้าราคาถูกลงเพียง
พอที่จะดึงผู้คนให้หันมาผลิตและมาซื้อหาเข้าไบเบิลเป็นของตัวเอง ในท้าย ที่สุดสามัญชนสามารถศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้โดยไม่ต้องพึ่งบุคคลในอาชีพ
พระ และได้ค้นพบว่าการขูดรีดทรัพย์ สินเงินทองโดยบุคคลในอาชีพพระนั้น มิได้มีการรองรับจากพระคัมภีร์
กระบวนการต่อต้านความฉ้อฉลของบุคคลในวงการศาสนาคริสต์จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
ในระหว่างปี 1517-1530 หนังสือ ของมาร์ติน ลูเธอร์ ว่าด้วยการประ ณามองค์กรศาสนาของคาทอลิกถูกขายออกไปมากกว่า
3 แสนเล่ม อันเป็นปริมาณที่ไม่เคยคิดฝันกันในยุคก่อนกูเตนแบร์ก และความแพร่หลาย
ของแนวคิดยกเครื่องสถาบันศาสนาในยุโรปได้นำไปสู่ศักราชแห่งการปฏิรูป ของโปรเตสแตนต์
ซึ่งแมกซ์ เวเบอร์ ชี้ว่าเป็นต้นตอที่นำไปสู่การก่อตัวของลัทธิทุนนิยมในเวลาต่อมา
ดักลาส เอส รอเบิร์ตสัน เจ้า ของผลงานวิชาการเรื่อง The Next Renaissance
ให้ประมาณการไว้ว่า วิทยาการด้านการพิมพ์ของกูเตนแบร์ก เป็นตัวโหมให้องค์ความรู้ขยายสู่ประชาชนผู้รู้หนังสือเป็นล้านเท่าตัว
นอกจากนั้น ยังเอื้ออวยให้นักวิทยา ศาสตร์สามารถตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ออกไปกว้างขวาง
อันนำไปสู่การวิพากษ์ พิสูจน์ซ้ำ ตลอดจนการยืนยันผลงานการค้นพบเหล่านั้น
ซึ่งเป็นก้าวย่างจำเป็นยิ่งสำหรับการปฏิวัติทางวิทยา ศาสตร์
นอกจากพื้นฐาน 3 ประการข้างต้น ยังมีวิทยาการอื่นอีกหลากหลายที่มีบทบาทสูงเด่นต่อการก้าวกระโดดของอารยธรรม
เช่น ในแง่ของการเดินทางและการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าคราวละมากๆ กล่าวคือรถไฟ
ซึ่งเริ่มเข้ามารับใช้มนุษย์ในต้นศตวรรษ
ที่ 19 และพลิกผันวิถีชีวิตของผู้คนอย่างขนานใหญ่ทั่วโลก ด้วยการย่นย่อการเดินทางและขนส่งข้ามจังหวัด
ข้ามประเทศ จนถึงข้ามทวีปให้สั้นลงเหลือเชื่อ จากที่ต้องใช้รถเทียมม้าเร่ร่อนนานเป็นเดือน
ก็เหลือแค่ชั่วไม่กี่วัน
ขณะที่วิทยาการด้านการประ-ดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อขยายศักยภาพของมนุษย์เดินทางรุดหน้าอย่างมากมาย
วิทยาการด้านการขยายช่วงชีวิตของมนุษย์ก็ได้รับการค้นคว้าวิจัยขึ้นมา และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินทีเดียว
หนำซ้ำ วิทยาการเหล่านี้ยังออกจะมีความเป็นอมตะ ไม่ใคร่จะมีผลงานกี่อย่างนักที่จะถูกของใหม่เข้ามาเบียดขับออกจากเวทีอารยธรรม
วิทยาการ ดังกล่าวคือ วิทยาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ชาร์ลส์ โรเซนเบิร์ก นักประวัติ ศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
เล่าถึงพัฒนาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขว่า นับจากทศวรรษ 1860 ถึงต้นศตวรรษที่
20 นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวิทยาการด้านการทำน้ำให้บริสุทธิ์ด้วยหลายวิธี ตั้งแต่การกรอง
การใส่คลอรีนฆ่าเชื้อโรค ไปถึงการฟอกด้วยอากาศ หลังจากนั้น วิถีชีวิตของผู้คนปลอดภัยจากการล้มตายเป็นเบืออันเนื่องจากโรคอหิวาต์
หรือจากเชื้อปรสิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ วิทยาการนี้ได้รับ การตอบรับอย่างอบอุ่นจากทุกชาติ
วิทยาการก้าวกระโดดที่สำคัญต่อมาคือ การค้นพบ และพัฒนายาฆ่าเชื้อประเภทแอนไทไบโอติก
ในช่วงทศวรรษ 1920-1940 ซึ่งมีคุณูปการสูง ยิ่ง ช่วยผู้ป่วยสามารถต่อต้านภาวะติดเชื้อ
รวมทั้งช่วยประคับประคองชีวิตของทหารที่ได้รับบาดเจ็บในคราวสงครามโลกครั้งที่สอง
นอกจากนั้น โรคร้ายอย่างนิวมอเนีย บิด อหิวาต์ ตลอดจนการติดเชื้อ ก็ลดหย่อนความน่ากลัวไปอักโข
โรเซนเบิร์กลงความเห็นไว้ว่า เด็กๆ ไม่ต้องเสี่ยงกับการตายก่อนวัยอันควร
ขณะที่ศัลย แพทย์ก็สามารถทำการผ่าตัดได้อย่างที่ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาบาดแผลติดเชื้อ
ที่เคยมีอานุภาพร้ายแรงในการคร่าชีวิตคนไข้เป็นว่าเล่น
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีวิทยาการ ประเภทนามธรรม แต่สามารถเอื้ออวย ให้มนุษย์มีศักยภาพในการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ซ้ำยังส่งผลเชิงพลิกผันวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างมหาศาล คือ วิทยาการด้านการบริหาร
จัดการ ซึ่งปรากฏออกมาเป็นระบบโรงงาน
การบริหารจัดการในระบบโรงงานเป็นสิ่งรังสรรค์ทางความคิด เพื่อตอบสนองบริบททางสังคมยุคสมัยที่อังกฤษกำลังเฟื่องฟูในด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย
ตัวแบบการบริหารจัดการระบบโรงงานถูกนำไปประยุกต์ในเซก
เตอร์การผลิตอื่นๆ อาทิ อาวุธ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ยิ่งเมื่อระบบสังคมแบบทุนนิยมมีบทบาทห้อมล้อมวิถีชีวิตของมนุษย์แนบแน่น
การผลิตสินค้าใหม่เพื่อกระตุ้นการบริโภคไปสู่ระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้วิทยาการด้านการบริหารจัดการโรงงานเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง และส่งผลสะท้อนกลับมาเร่งการบริโภคอย่างเข้มข้นมากขึ้น
ภายในตัวแบบการบริหารจัดการโรงงาน คนงานถูกจำแนกลงไปตามแผนก เพื่อให้รับผิดชอบเฉพาะ
บางจุดของสายการผลิตเท่านั้น กลาย เป็นมนุษย์กลไกที่ทื่อในแง่ความคิด แต่มีประสิทธิภาพ
ณ จุดที่ถูกกำหนด
ระบบการจัดการเช่นนี้ส่งผลพลิกผันธรรมชาติของงานอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่เป็นการผลิตตามฤดูกาลสอดรับกับวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม
มาเป็นการทำงานหามรุ่งหามค่ำ ซ้ำเดิมทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี อยู่ในขั้นตอนเล็กๆ
สักขั้นหนึ่งของสายการผลิตรวม
ด้านหนึ่งของผลกระทบเชิงสังคมที่เกิดจากระบบโรงงาน คือการล่มสลายของชุมชนอันนำไปสู่กระบวนการปฏิวัติสังคมภายใต้แนวคิดของลัทธิมาร์กซิสม์
เดวิด ไน นักประวัติศาสตร์เจ้าของผลงาน Electrifying America เล่าว่า เฮนรี่
ฟอร์ด ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างความสมบูรณ์แบบให้แก่ระบบคิดแบบสายการผลิตอันทันสมัย
ได้เพิ่มอัตราค่าตอบแทนเป็นสองเท่าแก่บรรดาแรงงานในโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์เมื่อปี
1914 เหตุผลของฟอร์ดมิใช่ความใจดีมีเมตตา แต่เป็นเรื่องของการสร้างแรงจูงใจคนงานมิให้ผละจากภาระอันจำเจน่าเบื่อ
อย่างไรก็ตาม นักสังคมวิทยากระแสหลักได้ลงความเห็นว่า ด้วยความที่ระบบโรงงานส่งผลพัฒนาความ
สามารถในการผลิตได้อย่างยอดเยี่ยม และด้วยความที่รัฐบาลยื่นมือเข้าไปกำหนดกฎกติกาด้านการจ่ายค่าตอบแทนแรงงาน
และการยกระดับสภาพการทำงาน ระบบการบริหารจัดการโรงงานแบบทันสมัยได้มีผลช่วยขับดันให้อัตราค่าแรงพุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
พร้อมกับมีส่วนยกมาตร ฐานชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้สะดวก ถูกสุขลักษณ์
และปลอดจากภัยคุกคามพื้นฐาน ขณะที่การผลิตคราวละมหาศาลด้วยวิทยาการบริหารโรงงาน
ก็ทำให้สินค้าสารพันมีราคาต่ำเพียงพอที่คนส่วนใหญ่ จะสามารถขวนขวายหามาบริโภคได้
ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ รถยนต์ ฯลฯ
โธมัส ฮิวจ์ นักประวัติศาสตร์ด้านวิทยาการลงความเห็นว่า ชนชั้นกลางร่ำรวยขึ้นมาด้วยระบบโรงงาน
มันคือการเปลี่ยนรูปโฉมของสังคมอย่างมโหฬารทีเดียว
ขณะที่ความคิดและแรงบัน ดาลใจเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้สำหรับการรังสรรค์วิทยาการใหม่ๆ
เพื่อขับเคลื่อนกงล้ออารยธรรม ทุนทรัพย์ก็เป็นตัวอัดฉีดความเคลื่อนไหวดังกล่าวมาตลอดสหัสวรรษที่สองนี้
โดยได้แสดงบทบาทอันโดดเด่นเสมอในด้านการสนับสนุนประดาโปรเจกต์น้อยใหญ่ของผู้กล้าคิดกล้าทำ
ให้สามารถผันแปรจากฝันและจินตนาการมาเป็นรูปธรรม
พลังขับเคลื่อนวัฏจักรแห่งอารย ธรรม
ปี 1553 เป็นวันวารที่ชุมชนมนุษย์ได้พบเห็นการออกไอพีโอที่ร้อนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของสหัสวรรษที่สองนี้
บริษัทมิสเตอรี แอนด์ คอม เพญนี แห่งนายวาณิชจอมผจญภัย ผู้นิยมจะสร้างความรุ่มรวยผ่านการเดินทางแสวงหาโชคลาภ
ได้ลุกขึ้นมาเผยดำริว่าด้วยอภิโปรเจกต์แห่งการสำรวจดินแดนใหม่ๆ และได้ออกตราสารหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนอุดหนุนการนำคาราวานเรือมุ่งสู่การไล่ล่าทรัพย์ศฤงคาร
ณ ซีกโลกตะวันออก
ปรากฏว่าตราสารหลักทรัพย์ทั้งหมดถูกคว้าหนุบหนับราวกับไล่แจกฟรี หมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็วทั้งที่การกระจายหลักทรัพย์ดังกล่าว
จำกัดวงอยู่เฉพาะหมู่นายวาณิชระดับแถวหน้าของลอนดอนเท่านั้น
ทริปดังกล่าวประสบความสำเร็จ ด้วยดี แม้ต้องฝ่าพันอุปสรรคน่าดู คาราวานเรือไปถึงรัสเซีย
และสามารถ เข้าถึงราชสำนักของอีวานจอมทรราชย์ อีกทั้งยังคว้าสนธิสัญญาสำคัญ
คือการอนุญาตให้อังกฤษมีเสรีภาพทางการค้าในดินแดนใต้อำนาจของมอสโค หนังสือสัญญาดังกล่าวถูกนำกลับไปยังลอนดอนพร้อมข่าวร่ำลือพิสดารถึงความรุ่มรวยสุดคณานับของดินแดนใหม่
งานนั้นนักลงทุนเก็บเกี่ยวผลตอบแทน ไปมหาศาล จนกลายเป็นตำนานหนุนการระดมทุนอื่นๆ
ในทำนองเดียวกันที่ตามมาภายหลัง และทำให้ตลาดการเงินเฟื่องฟูยิ่ง
นับเนื่องต่อมาอีกหลายศตวรรษ ไม่ว่าจะยุคสมัยของนายวาณิชจอมผจญภัย ผ่านไปถึงยุคของบารอนจอม
ฉ้อฉล ที่ปล้นสะดมทรัพย์สินหยาดเหงื่อแรงงานของไพร่ฟ้า จวบมาถึงยุคแห่งพ่อมดคอมพิวเตอร์
ตลาดการเงินได้อัดฉีดหล่อลื่นกงล้อแห่งพาณิชยกรรม อันเป็นหนึ่งในเสาหลักของอารยธรรม
ความสำเร็จของบริษัท มิสเตอรี แอนด์ คอมเพญนี ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักลือเลื่องในฉายาว่า
มัสโควี คอมปานี ได้เป็นตัวโหมกระพือให้บริษัทอื่นๆ ที่มีขนาดการระดมทุนใหญ่โตทบทวี
สามารถเข้าถึงนักลงทุนกระเป๋าหนักมากหน้าหลายตาขึ้น ด้วยเหตุนี้ เจ้าของโปรเจกต์จึงขยายฐานทุนได้อย่างมโหฬาร
เพราะไม่ถูกจำกัดให้ต้องพึ่งพิงเพียงเฉพาะทุนทรัพย์ ในแวดวงศาคณาญาติและเพื่อนฝูง
สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ การลงหลักปักฐานของสถาบันที่ซึ่งนักลงทุนสามารถพบปะกันเพื่อซื้อขายตราสารหลักทรัพย์
หรือก็คือตลาด หลักทรัพย์นั่นเอง "เมื่อคุณมีตลาด หลักทรัพย์ ก็เท่ากับคุณว่ามีช่องทางที่ทรงประสิทธิภาพในการระดมทุนและทำการลงทุน
เมื่อคุณมีตลาดกลางอันเป็นจุดนัดพบของทุน คุณก็รู้แล้วว่าคุณจะต้องไปที่ใด
จึงจะพบคนอื่นๆ ที่สนใจจะซื้อตราสารที่คุณต้องการขาย" นั่นคือการชี้เคล็ดลับอันอมตะสำหรับการก่อตัวของตลาดหลักทรัพย์
ที่ให้โดย รูเบน ลี ผู้อำนวยการเครืออ๊อกซ ฟอร์ด ไฟแนนซ์ กรุ๊ป ในเมืองนอร์วิช
ประเทศอังกฤษ
ดังที่ได้ระบุไว้ข้างต้นว่าความสำเร็จอย่างสูงของบริษัทมิสเตอรี แอนด์
คอมเพญนี ในปี 1553 นั้นมิใช่ประสบ การณ์ด้านธุรกรรมการเงินครั้งแรกของ มนุษย์
ก่อนหน้านั้น ได้ปรากฏธุรกรรมการเงินมาอย่างมากมาย กรณีที่ โดดเด่นมีตัวอย่าง
เช่น ตลอดทศ-วรรษ 1100 ตราสารหลักทรัพย์ของโรงทอผ้าในฝรั่งเศสถูกซื้อขายเปลี่ยนมืออย่างคึกคัก
หรือในปี 1157 ธนาคารกลางแห่งเวนิซออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม สถาบันเพื่อการซื้อขายตราสารหลักทรัพย์สามารถลงหลักปักฐานเป็นเรื่องเป็นราวก็เมื่อศตวรรษที่
16 โดยมีตลาดแอนท์เวิร์ป ของเบลเยียม เป็นเจ้าแรก ซึ่งก่อตั้งกันในปี 1531
บทบาทในตอนนั้นคือ ศูนย์ค้าหลักทรัพย์ และขนส่งสินค้ารายใหญ่ ซึ่งชุมนุมบรรดาโบรกเกอร์มา
ซื้อขายหลักทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์ หลายปีต่อมา จึงมีคู่แข่งผงาดขึ้นทาบรัศมี
ได้แก่ ตลาดฮัมบัวก์ ของเยอร-มนี ซึ่งก่อนตั้งกันในปี 1558 และกลายเป็นศูนย์กลางการค้าอีกแห่งหนึ่ง
ของยุโรป ให้หลังมาถึงปี 1619 ก็มีตลาดอัมสเตอร์ดัมแจ้งเกิดตามมา กระทั่งปลายศตวรรษที่
17 ตลาดลอนดอนกับตลาดปารีสถึงได้เปิดตัว
สำหรับตลาดนิวยอร์ก ซึ่งเวลานี้เป็นตลาดหุ้นรายใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ของปริมาณการซื้อขาย
เพิ่ง มาแจ้งเกิดอย่างเป็นทางการในปี 1792 เมื่อบรรดาพ่อค้านายวาณิชมาประชุมกันใต้ร่มเงาของต้นบัตตันวู้ด
เพื่อตกลงจัดระบบการเทรดให้เป็นที่เรียบ ร้อย แต่นั่นยังเป็นเพียงเฟสที่หนึ่งเท่านั้น
หลังจากที่มีการทำรีไฟแนนซ์หนี้ของรัฐบาลมาเป็นรูปของพันธบัตรที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้
และหลัง จากที่ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (สมัยที่ยังไม่ได้พัฒนาขึ้นเป็นเฟดเดอรัล
รีเสิร์ฟ) มาออกตราสารหลักทรัพย์ขาย แก่ประชาชน การซื้อขายหลักทรัพย์จึงถูกโหมกระพืออย่างร้อนแรงในหมู่นักลงทุน
ส่งผลให้ธุรกิจการเงินขยาย วงอย่างรวดเร็วใหญ่โต กระทั่งว่าโบรก เกอร์ 24
รายที่ระยะนั้นยังทำธุรกิจตามร้านกาแฟและโรงเตี๊ยมย่านวอลล์สตรีท หันมาตกลงเซ็นสัญญาตั้งห้องค้าหลักทรัพย์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวใน
ปี 1817
ด้านเอเชียนั้น นับว่าเป็นน้องใหม่โดยแท้ ตลาดโตเกียวตั้งขึ้นเมื่อปี 1878
ส่วนตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ มา ถือกำเนิดเมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 20 แล้ว
ขณะนี้ ตลาดทั่วโลกมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 120 แห่ง รายที่เพิ่งตั้งขึ้นในระยะใกล้นี้
ได้แก่ ตลาดของตรินิแดดแอนด์โตบาโก (1981) ตลาดมอริเทียส (1987) ตลาดมาเซโดเนีย
(1996) และตลาดคาซักสถาน (1997)
สาธารณชนวงกว้างเพิ่งได้เข้าทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์เมื่อไม่กี่ศตวรรษมานี้เอง
ก่อนหน้ายังเป็นสถาบันสงวนเฉพาะบางกลุ่มชน และเทรดแค่เพียงหลักทรัพย์ของบริษัทท้องถิ่นเท่านั้น
นอกจากนั้น ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ โฉมหน้าของตลาดก็ถือได้ว่าโดดขึ้นสู่ผืนหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์
บอกลากันทีกับการใช้กระดาษแบบฟอร์มคำสั่งซื้อขายที่เคยเกลื่อนกล่นบนพื้นพรมของห้องค้า
ความเป็นตลาดหลักทรัพย์ในโฉมใหม่ปรากฏอยู่เพียงกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ที่แสดงความเคลื่อนไหวของหุ้นในตลาดสำคัญของโลก
ส่วนการเทรดนั้นไปโลดแล่นบนจอคอมพิวเตอร์ของธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ที่กระจัด
กระจายอยู่ในแหล่งต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางภาคการเงิน บางสิ่งที่พอจะเรียก
ได้ว่าเป็นตัวเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันของบางตลาดหลักทรัพย์อันเก่าแก่ เห็นจะเป็นฆ้องทองเหลืองใบเขื่องที่จะถูกตีบอกเวลาเปิดและปิดทำการในแต่ละวัน
แม้ขนาด ขอบเขต และวิทยา การของตลาดหลักทรัพย์ได้เปลี่ยน แปลงไปอย่างใหญ่หลวง
แต่พื้นฐานของตลาดแทบจะไม่ได้ผันแปร นั่นคือการเป็นสะพานเชื่อมร้อยระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
อย่างไรก็ตาม อีกแง่มุมหนึ่งที่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงคือ ตัวสินค้าของตลาด
สำหรับตลาดหลักทรัพย์ในยุคกลางของอิตาลี สินค้าที่เทรดกันคือตราสารสำหรับแร่ธาตุ
เมล็ดพันธุ์พืช และสิ่งทอ นอกจากนั้น ตราสารอนุพันธ์ก็มีการเทรดกัน และมีการเก็งกำไรเป็นที่คึกคัก
ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของพ่อค้านายวาณิชจะยอมรับตราสารใบแทน หนี้รอการไถ่ถอน
จากนั้นธนาคารอาจขายหรือโอนตราสารดังกล่าวให้แก่สถาบันหรือบุคคลอื่นไป ตอนศตวรรษ
ที่ 15 ตราสารส่วนใหญ่เป็นตราสารประเภทใบแทนหนี้ของรัฐบาล ซึ่งออก เพื่อระดมทุนไปใช้ในการศึกสงคราม
นอกจากนั้นยังมีตราสารประเภทใบแทนหนี้ที่มีสินค้าโภคภัณฑ์รองรับ
ไม่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะพัฒนาเคลื่อนไหวอย่างไร เป้าหมายสามัญที่สุดยังคงเป็นเรื่องของการระดมทุนและการนำเงินมาลงทุน
ซึ่งจะเป็นพลังสนับสนุนการเริ่มตั้งและการขับเคลื่อนธุรกิจต่อๆ ไป ดังนั้น
ตลาดจึงเป็นตัวเร่งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้วยว่ามันทำให้สินทรัพย์เกิดสภาพคล่องขึ้นอย่างเหลือเชื่อ
และช่วยนำพาเงินมหาศาลให้ถูกผ่องถ่ายอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเบิกทางให้ธุรกิจใหม่ๆ
ได้รับโอกาสแจ้งเกิดกันไปสารพัน ในเวลาเดียวกัน ยังเปิด ช่องให้พ่อค้าหัดรวยหน้าใหม่สามารถ
กระจายการถือครองสินทรัพย์ไปสู่นักลงทุน ซึ่งเท่ากับให้ผู้มีเงินออมสามารถ
ลงทุนโดยไม่ต้องลงมาเหนื่อยในซีกส่วนแห่งการประกอบการ
ในตอนต้นๆ นั้น ตลาดหลัก ทรัพย์มีตราสารของบริษัทการค้าเข้าไปเทรดไม่กี่ราย
เจ้าที่โดดเด่นกว่าใครคือ ดัตช์ อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นเทรดดิ้งเฟิร์มรายใหญ่คับโลกยุคนั้น
และเป็นเจ้าแรกที่นำตราสารหลักทรัพย์ ออกขายในอัมสเตอร์ดัมเพื่อการระดมทุนในปี
1599 ที่มาของโครงการมีอยู่ว่า หลังจากที่ประสบความสำเร็จในศึกสงครามขับไล่ฝ่ายโปรตุเกสออกจากอินโดนีเซีย
นายวาณิชชาวดัตช์ ก็ตั้งสถานีการค้าขึ้นทั่วไปในหมู่เกาะโมลุกกะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าหมู่เกาะเครื่องเทศ
การออกตราสารระดมทุนของดัตช์ อีสต์ อินเดียก็เพื่อหาเม็ดเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหลายนั่นเอง
ท้ายที่สุด แม้แต่แม่บ้านยังพลอยกระเซ็นกระสายเข้าเกี่ยวข้องอยู่ในวงการค้าตราสารหลักทรัพย์ไปด้วย
บรรยากาศของเมืองเต็มไปด้วยการพูดคุยจดจ่อรอรับข่าวว่าเรือลำใดกลับมาบ้าง
บรรทุกเอาสินค้าล้ำค่าอันใดเพื่อ ขายทำกำไร จะเป็นเครื่องเคลือบจากราชสำนักหมิง
หรือจะเป็นครามซักย้อมผ้า หรือจะเป็นเครื่องเทศกานพลู หรือจะเป็นภาชนะเครื่องเขิน
หรือจะเป็นผ้าไหมแพรพรรณ หรือจะเป็นอัญมณีมีค่า
กิจกรรมการค้าเฟื่องฟูร้อนแรง อยู่ในท่ามกลางข่าวลือสารพัน ประเภท ว่าเรือเจ้านั้นมีอันอับปางไปแล้ว
หรือ อาจเป็นข่าวลือว่าเห็นกองเรือสินค้าเจ้านี้บ่ายหน้ากลับมา
บนความสมหวัง ความผิดหวัง ความหวาดหวั่นระทึก อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับในยุคสมัยเหล่านั้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ
20% ต่อปี ขณะที่รายได้จากอัตราดอกเบี้ยยังเคลื่อน ไหวอยู่แค่ระดับ 5-10%
เท่านั้น
ล่วงมาถึงศตวรรษที่ 18 ประ-เภทของโปรเจกต์เริ่มขยับขยายแวดวงไปเป็นเรื่องการขุดคลอง
การตัดทางด่วน เพื่อเก็บค่าผ่านทาง อีกทั้งการทำเหมือง บรรดาธนาคาร และบริษัทผู้ประกอบการล้วนใช้ช่องทางการออกตราสารหลักทรัพย์เป็นเครื่องมือระดมทุนสนับสนุนโปรเจกต์ของตน
พอถึงศตวรรษที่ 19 แวดวงการประกอบการพัฒนาใหญ่โตขึ้นไปอีก ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นเครื่องจักรทำเงินที่สร้างความเติบโตแก่การลงทุนใหม่ๆ
สุดคณานับ ซึ่งล้วนแต่ต้อง การทุนทรัพย์มหาศาลมาอุดหนุน อาทิ โปรเจกต์สร้างทางรถไฟ
โปรเจกต์ผลิต พลังงานไอน้ำ โปรเจกต์ผลิตเหล็ก ไปจนถึงโปรเจกต์ด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ
อีกมาก
ณ โมงยามที่ใครต่อใครใช้ตลาดหลักทรัพย์เป็นจุดนัดพบของความต้องการซื้อและขายตราสารหลักทรัพย์
จะไม่เคยขาดพวกที่มุ่งเข้าไปทำกำไรจากช่องโหว่ของตลาด นั่นคือ การเล่นเกมเก็งกำไรมากกว่าจะประ-กอบการลงทุน
สิ่งที่พ่วงเข้าไปด้วยชุดใหญ่คือ สารพัดกโลบายและเทคนิค ซึ่งอยู่บนวิธีคิดที่แทบจะไม่แตกต่างกับยุคสมัยปัจจุบันนี้
นรกขุมการพนัน
เส้นทางแห่งสหัสวรรษที่สองไม่เคยราบรื่นนุ่มเท้าเลย บ่อยเหลือเกิน ที่ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นผู้ช่วยเหลือระดมเงินทุนให้แก่กิจการฉ้อฉลที่แสนจะกลวงและว่างเปล่า
อย่างเช่นพวกบริษัทซึ่งคุยโตโอ้อวดว่าสามารถพัฒนาเครื่องจักรที่จะเดินเครื่องกันไปเรื่อยๆ
ตราบชั่วกัลปาวสาน งานนิพนธ์ ชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ที่อัมสเตอร์ดัม เสนอ ตัวเป็นมัคคุเทศก์พาชมตลาดหลัก
ทรัพย์แห่ง "นรกขุมการพนัน" ของแท้
"ต้องฉวยเอาดอกผลทุกอย่างไว้โดยไม่แสดงความสงสารอาลัยกำไรที่หลุดพาย เหตุเพราะปลาไหลย่อมอาจจะหลบหนีไปได้ก่อนที่ท่านจะทันคาดคิด"
โจเซฟ เดอ ลา เวก้า เจ้า ของผลงาน Confusion de Con fusiones กล่าวเตือนไว้ตั้งแต่เมื่อปี
1688
"ผู้คนในตลาดเหล่านี้ช่างโง่เซอะ เต็มไปด้วยความไม่มั่นคง ความบ้าคลั่ง
ความยโส และความโฉดเขลา พวกเขาจะซื้อโดยไม่รู้ถึงเหตุจูงใจ พวกเขาจะขายโดยปราศจากเหตุผล"
ถ้อยคำเหล่านี้เขียนขึ้นมาภายหลังกรณีการบ้าคลั่งดอกทิวลิป อันเป็นกรณีการไล่ราคาหลักทรัพย์จนฟูฟ่องดั่งฟองสบู่
ก่อนจะแตกโพละเป็นการประเดิม ก่อนจะมีอีกหลายระลอก ที่กระหน่ำใส่ตลาดหลักทรัพย์ในยุโรป
และต่อมาก็ในทวีปอเมริกา และเอเชีย
ถึงแม้ตราสารหลักทรัพย์ธุรกิจค้าดอกทิวลิปจะไม่ได้มีการจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
แต่เทรดเดอร์ก็ได้อาศัยกลไกของตลาดไปใช้ในการซื้อและขายหัวดอกทิวลิปพันธุ์แปลก
ๆ เมื่อถึงปี 1636 ด้วยดีมานด์ที่พุ่งสูงลิ่ว ราคาของหัวทิวลิปหายากบางพันธุ์ทะยานขึ้นสัปดาห์ละหนึ่งเท่าตัว
หรือกระทั่งเป็นรายวันก็มี สถานการณ์ราคา ทะยานทะลุฟ้าจนผู้คนซื้อกันเต็มทั้งหัวไม่ไหว
ต้องแบ่งขายหัวหนึ่งเป็นหลายๆ หุ้น แล้วขยายความบ้าคลั่งเป็นขนาดที่ว่าแต่ละหัวอาจจะซื้อขายกันด้วยสินค้าสูงค่าอื่นๆ
จำนวนมาก ตั้งแต่บ้านพร้อมที่ดินแล้วแถมม้าพร้อมรถอีกต่างหาก
แรงจูงใจนั้นย่อมมิใช่ความหลงใหลในความงามของพฤกษ์พันธุ์ แต่เป็นเรื่องเก็งกำไรล้วนๆ
บนระบบความคิดว่า ซื้อเพื่อนำไปขายต่อแพงขึ้นไม่รู้กี่เท่าตัว ครั้นแล้วระบบความคิดแบบนี้ไม่อาจยั่งยืนได้นาน
ในตอน ต้นปี 1637 แมงเม่าบางรายเริ่มเห็นลาง หายนะ และถอนตัวออกจากตลาด เผลอเดี๋ยวเดียวก็กลายเป็นชนวนปะทุให้แมงเม่าอื่นๆ
ขวัญผวา พากันอพยพ เงินหนีตายออกมาจากวงการด้วยการ ดั้มพ์ราคา รีบขายตัดขาดทุน
สุดท้าย คือวิกฤตความมั่นใจในสถาบันการลงทุนโดยรวม และตลาดหลักทรัพย์ก็ล้มครืน
ในทำนองเดียวกัน ยังมีตำนาน เซาธ์ ซี บับเบิลแห่งทศวรรษ 1720 เป็นอีกหนึ่งมรณานุสติ
ที่พาเอาผู้คนเรือนพันล้มละลายไปในอาการปุบปับ ในเริ่มแรก บริษัทเซาธ์ ซี
ได้รับสัมปทานผูกขาดการค้า กับภูมิภาคอเมริกาใต้และหมู่เกาะแปซิฟิก นับจากเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม
ปี 1720 ตราสารหลักทรัพย์ของบริษัทรายนี้ถูกเทรดเปลี่ยนมือเป็นว่าเล่น ไล่ราคากันจนพุ่งขึ้นมากกว่า
10 เท่าตัว ในท้ายที่สุด ปรากฏว่าการประกอบการของบริษัทพังพาบ และละลายเม็ดเงินของนักลงทุนสลายเป็นอากาศธาตุ
ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นเม็ดเงินของพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรีด้วย
การเก็งกำไรในตลาดเป็นเรื่องสามัญเก่าแก่ ราวกับเป็นสูตรสำเร็จเคียงข้างตลาดหลักทรัพย์เสมอ
ทั้งนี้ จังหวะเวลาเข้า-ออกการถือครองหลักทรัพย์ ตลอดจนความแม่นยำของข้อมูลในยุคนั้น
เป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญต่อการเก็งกำไรไม่แพ้รูปการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในศตวรรษที่ 18 ของอังกฤษ เซอร์แฮร์รี่ เฟอร์เนส จอมเก็งกำไรหลักทรัพย์ตัวเอ้ของยุค
ซึ่งเล่าลือกันว่ามีแหล่งข่าวลึกเสียยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ ถึงกับได้รับการตกรางวัลเป็นแหวนเพชรเม็ดเขื่องในคราวหนึ่ง
เนื่องจากกระซิบเพ็ดทูลข้อมูลเด็ดและความเคลื่อนไหววงในสุดๆ แก่พระมหากษัตริย์และราชสำนัก
นอกจากนั้น นักลงทุนยังพยายามใช้วิทยาการเพื่อการสื่อสารระยะไกล ของยุคสมัยมาเสาะหาข้อมูลให้รวดเร็วกว่าคนอื่น
ได้แก่ การใช้พิราบสื่อสารฝูงมหึมา ไปจนถึงการใช้ระบบสัญลักษณ์บอกใบ้ข่าวให้ทราบกันเฉพาะพวกตน
เช่น ได้ทราบว่าคาราวานขุดทองจากจีนบ่ายหน้ากลับสู่ท่าเรือพร้อมความสำเร็จ
โดยใช้สัญลักษณ์บางอย่างที่สังเกตได้แต่ไกล
ความร้อนรนอยากจะเข้าถึงแหล่งข้อมูล ในหลายครั้งได้พาไปสู่กระบวนการสร้างสถานการณ์
การปั้นข่าว และการชักใยให้ไปในทิศทางของราคาที่ต้องการ เรื่องราวอื้อฉาวเหล่านี้ปรากฏอยู่ในบันทึกปี
1719 ของโจนา ธาน สวิฟต์ ซึ่งเป็นนักเขียนและนักลงทุนแถวหน้าคนหนึ่ง เนื้อหาในบันทึกเต็มไปด้วยการประนาณพวกเทรด
เดอร์ที่เอาแต่เต้าข่าวเป็นว่าเล่า
"โหมข่าวลวง กระซิบข่าวเต้าที่หามูลความจริงไม่ได้ ใช้ทุกรูปแบบเพื่อขู่เขย่าขวัญนักลงทุน
ไปจนถึงเพื่อจุดกระแสให้เข้าไล่ตามไม่รู้จบไม่รู้สิ้น"
การเต้าข่าวไร้ยางอายปรากฏเสมอ ครั้งหนึ่งที่กลายเป็นตำนานอัปยศคือ ในเดือนกุมภาพันธ์
ปี 1814 ชายผู้หนึ่งอ้างว่าตนเป็นนายทหารองค รักษ์ประจำกองทัพที่ได้ปะทะกับนโปเลียน
และอ้างว่ากองทัพอังกฤษได้เชือด จอมทัพฝรั่งเศสร่างสั้นผู้นี้ พร้อมกับพาเอาปารีสล่มสลายเป็นที่เรียบร้อย
แล้ว ข่าวดังกล่าวถูกลือสะพัดตั้งแต่เมืองท่าไปยังลอนดอน รายการบอกต่อโหมข่าวเป็นการเอิกเกริก
ทำเอาราคาหุ้นพุ่งกระฉูด ขณะที่เจ้ากรมข่าว ลือและพวกจัดการเทขายหุ้นทำกำไรไปกว่า
15% กว่าที่จะมีเฉลยตามมาว่าข่าวลวงทั้งเพ
ในด้านของการหมุนหนี้เอามา
เก็งกำไรในตลาดก็เป็นอีกหนึ่งมหกรรม ความหายนะที่เกิดขึ้นและเจ๊งกันไปมหาศาลตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน
ใน คราวตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กล่มสลายรอบใหญ่ปี 1929 ต้นเหตุสำคัญส่วนหนึ่งคือพวกนักเก็งกำไรกู้เงินมาลงทุนในตลาดซึ่งกำลังอยู่ในช่วงบูมสุดขีด
โดยมองโลกเป็นสีชมพูว่าผลตอบแทนการลงทุนจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ระยะแรกอะไรต่ออะไรยังดูจะเป็นไปตามทฤษฎี
แต่แล้วราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นไปไม่รู้กี่เท่าตัว จนไม่มีใครกล้าเข้าต่อยอด ดังนั้น
เมื่อหมอกควันฝันหวานโรยตัว ใครต่อใครที่ออกไม่ทันก็รีบตาลีตาเหลือกดั้มพ์ราคาตัดขาดทุน
และพาให้ระบบทั้งมวลล่มสลายตามไปด้วย
กรณีของหุ้นเรดิโอ คอร์ป ออฟ อเมริกา เป็นตัวอย่างที่ถูกอ้างอิงถึงบ่อยครั้งที่สุดกรณีหนึ่ง
จากราคาหุ้นละ 85 ดอลลาร์ในปี 1928 ทะยานขึ้นเป็น 420 ดอลลาร์ในปี 1929 ทั้งๆ
ที่หุ้นตัวนี้ไม่มีการจ่ายปันผล เมื่อแรงซื้อแห้งเหือดไปหมดสิ้น ราคาก็ดิ่งนรก
ลงท้ายเจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้แก่นักลงทุนพลอย พังพาบล้มละลายไปกับพวกนักเก็งกำไร
แม้จะมีการใช้เล่ห์เพทุบายเข้าไล่ราคาหรือทุบราคา แม้จะมีรายการหุ้นเฟ้อจนกระทั่งภาวะฟองสบู่แตกโพละ
แม้จะมีการบาดเจ็บล้มละลายยกแผงในหมู่นักลงทุน อีกทั้งแม้ระบบเศรษฐกิจ จะเสียหายร้ายแรงเพียงใด
แต่เหล่านั้นไม่อาจสกัดกั้นการขยายตัวของตลาดได้ "สิ่งที่ตามมาหลังจากที่การเก็ง
กำไรทุบทำลายตลาด กลับกลายเป็นว่าโครงสร้างของตลาด และกฎระเบียบ ควบคุม ได้รับการพัฒนาให้ใหญ่โตขึ้น
รัดกุมมากขึ้น และทวีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเรื่อยๆ" เชอเรลต์ โครเซ ผู้จัดการหอจดหมายเหตุของตลาดอัมสเตอร์
ดัมเล่าไว้อย่างนั้น
ด้วยความที่ตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งแห่งการระดมทุนและการลงทุนที่ทรงพลัง
ไม่ว่าจะถูกหายนะถั่งโถมเข้าทุบตีอย่างไร บทบาทตรงนี้ของตลาดก็เป็นอะไรที่ไม่อาจมองข้ามได้
และมีแต่จะเดินหน้าขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ รูปธรรมที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการขยายตัวของปริมาณหุ้นที่โดดเข้าร่วมกระบวนซื้อขายโดยไม่มีการขาดระยะ
จากปริมาณหุ้นที่ถูกซื้อขายเปลี่ยนมือในระดับเฉลี่ยวันละเพียง 1,500 หุ้นเมื่อปี
1861 ได้ทวีขึ้นเป็นวันละหนึ่งล้านหุ้นในปี 1886
ในศตวรรษที่ 20 เมื่อปริมาณหุ้นที่ถูกซื้อขายเปลี่ยนมือในแต่ละวันแต่ละตลาดชั้นนำของโลก
ได้ทวีจำนวน เข้าหลักหลายร้อยล้านหุ้น วิทยาการคอมพิวเตอร์อันซับซ้อนก็ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับตรงนี้
เพื่อให้ระบบซื้อขายเคลื่อนไหลได้อย่างเปี่ยมประสิทธิ ภาพ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ข้ามประเทศ
และข้ามทวีปผ่านอาณาจักรแห่งไซเบอร์สเปซได้นำพาให้นักลงทุนสามารถพบปะกันโดยตรง
บริษัทที่ต้องการระดมทุนโดยการออกหุ้นตลอดจนตราสารหนี้ ก็สามารถเชื่อมต่อไปหานักลงทุนอย่างสะดวกดายรวดเร็ว
สหัสวรรษที่ 3 รอก้าวกระโดดใหม่
หนทางข้างหน้าสำหรับแหล่งการระดมทุนและแหล่งดำเนินกิจกรรม การลงทุน ย่อมหนีไม่พ้นมือวิทยาการของคอมพิวเตอร์กับระบบการสื่อสารผ่านไซเบอร์สเปซ
แต่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ วิถีการควบคุมกฎกติกามารยาทตลอดจนอาชญากรรมของบรรดาธุรกรรมบนตลาดหลักทรัพย์แห่งไซเบอร์สเปซ
อาทิว่า เมื่อนักลงทุนจากแอฟริกาใต้สั่งเทรดหลักทรัพย์ในนิวยอร์กผ่านอินเตอร์เน็ต
ฝ่ายผู้คุมกฎจะมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมได้กว้างขวางเพียงใดที่จะป้องกันการใช้กลโกง
การใช้ข่าวลวง และการปั่นราคาต่างๆ
หนึ่งสหัสวรรษที่กำลังจะกลายเป็นอดีตนี้ อาจจะติดยี่ห้อได้ว่า มันคือสหัสวรรษแห่งการแปลงสู่สังคมอุตสาหกรรมที่มีตลาดการเงินเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ
แต่สหัสวรรษข้างหน้า จะมีโครงเรื่องหลักเป็นอะไรได้หนอ ศาสตราจารย์รอเบิร์ตสัน
เจ้าของผลงาน The Next Renaissance มองภาพคร่าวๆ ว่าคงหนีไม่พ้นที่คอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสารผ่านไซเบอร์
สเปซคือองค์ประกอบหลักของยุคสมัยหน้า
รอเบิร์ตสันคำนวณว่า ความแพร่หลายของคอมพิวเตอร์ และเครือ ข่ายการสื่อสารดังกล่าวจะทำให้การสะสม
และเผยแพร่องค์ความรู้มีอัตราการพัฒนาและการแพร่กระจายทวีขึ้นเป็นล้านๆ เท่า
เมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ใช้กัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
มันจะเป็นก้าวกระโดดสำคัญยิ่งที่จะรังสรรค์ความก้าวหน้าสูงสุดแก่องค์ความรู้
การประดิษฐ์ การค้นพบนวัตกรรรมต่างๆ ไปจนถึงการปฏิวัติอย่างขนานใหญ่
มันจะก้าวไปสู่ระดับใหม่ของเส้นทางแห่งอารยธรรมทีเดียว รอเบิร์ต สันฟันธงไว้อย่างนั้น