MAKRO-BIG C กำไรเพิ่ม


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ท่ามกลางความคิด ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ นั้น ดัชนี ที่ชี้วัดกำลังซื้อของคนไทยอีกประการหนึ่ง น่าจะอยู่ ที่ตัวเลขยอดการจำหน่ายสินค้าของร้านค้าต่างๆ ซึ่งในช่วง ที่ผ่านมา แม้จะมีกระแส ที่ระบุว่าผู้ประกอบการหลายรายต่างประสบภาวะถดถอยเพราะการแข่งขัน ที่รุนแรง และเศรษฐกิจ ฝืดเคือ งก็ตาม

อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส ที่ 2 ที่ผ่านมา Marko ซึ่งถือ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกได้เปิดเผยตัวเลขผลประกอบการรอบครึ่งปี 2543 โดยมีรายได้รวมกว่า 17,989.79 ล้านบาท และส่งผลให้มีผลกำไรสุทธิมากถึง 477.54 ล้านบาท เทียบกับในปี 2542 ที่มีเพียง 173.4 ล้านบาทหรือเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 175%

อาร์โนลด์ โทบัค กรรมการผู้จัดการ สยามแม็คโคร เชื่อว่ายอดการจำหน่าย และกำไร ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลมาจากการขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขา ที่ 18 บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก

ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการที่ Big C ซูเปอร์เซ็นเตอร์ นำเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ระบุว่ามียอดการจำหน่ายในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2543 มาก ถึง 12,069.89 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 444.19 ล้านบาท

สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผลประกอบการของทั้งสองบริษัทเพิ่มมากขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสินค้าอุปโภค และบริโภค เป็นสิ่งที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้จ่ายอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่สัดส่วนของสินค้าประเภท Food และ Non-food เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยสินค้าประเภท Non-food ซึ่งเป็นสินค้า ที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคมีแนวโน้ม ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นจับจ่ายเฉพาะสินค้า ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่า ที่จะเสียเงินกับสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ขณะที่การเลือกซื้อสินค้าในดิสเคาท์สโตร์ หรือซูเปอร์สโตร์ แทนการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้ากำลังเป็นรูปแบบพฤติกรรม ที่เติบโตขึ้น ดังจะเห็นได้จากยอดการจำหน่ายของ Robinson ที่มียอดการจำหน่ายเพียง 3,286.36 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่ายอดจำหน่ายของ Big C และ Makro ถึง 4-6 เท่าตามลำดับ

นอกจากนี้ Robinson ยังมีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ภายใต้ภาวะ ที่ต้องฟื้นฟูกิจการรวมกันมากถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการของ Robinson อยู่ในภาวะขาดทุนถึง 4,694.26 ล้านบาทอีกด้วย

สถานการณ์ ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าจึงดูเหมือนว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ดำเนินกิจการด้าน ซูเปอร์สโตร์ และดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งแม้จะอยู่ในภาวะ ที่ต้องแข่งขันอย่างรุนแรง แต่ต่างก็อยู่ในภาวะ win-win ด้วยกัน จะมีก็เพียงผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวเท่านั้น ที่เป็นเหยื่อของปรากฏการณ์นี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.