สุวิทย์ จบการศึกษาด้านคอมพิว เตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนาภ
และเขาได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานกับบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ก้าว จากพนักงานขายไปสู่รองผู้จัดการ
ฝ่ายบัญชี และการเงิน นับเป็นก้าวแรกของการทำงานที่ค่อนข้างมั่นคง เขาปักหลัก
อยู่กับบุญรอดฯ นานถึง 17 ปีเต็ม จากนั้นเขาคิดอยากเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่
พร้อมกับได้รับคำชักชวนจาก วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานบริษัท อาหารสากล จำกัด
(มหาชน) หรือ ยูเอฟซี หนึ่งในบรรดาเพื่อนสนิทให้มาร่วมงานด้วยกัน ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่
นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ท้า ทาย จากเฟิร์มระดับบุญรอดบริวเวอรี่ ที่เพียงเอ่ยชื่อทุกคนก็รู้จัก
มาสู่บริษัท ระดับกลางที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ลักษณะการทำงานต้องเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
เมื่อเขามาอยู่ที่ยูเอฟซี ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
จะปฏิบัติงานสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ และแม้ว่าเขาจะเข้ามารับผิดชอบงานด้านการปฏิบัติการอย่างเป็น
ทางการ แต่สุวิทย์ยังมีหน้าที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือ บทบาททางด้านการตลาด
ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาของเขาอาจจะ ไม่ได้โชว์ฝีมือด้านการตลาดโดยตรง แต่เขาก็มีความชำนาญ
ทางด้านการตลาดไม่น้อยกว่าคนที่อยู่ในสายงานนี้โดยตรง เนื่องจากเขาได้เรียนรู้จากการออกไปพบปะผู้คนทุกระดับนับตั้งแต่ระดับล่าง
ระดับเดียวกัน จนไปถึงระดับสูง ทำให้เขารู้จักวิธีในการเข้าหาและรู้ถึงความต้องการของคน
เหล่านั้นเป็นอย่างดี
"ในอดีตผมทำงานอยู่ในสายกึ่งนักวิชาการ เริ่มตั้งแต่ที่บุญรอดฯ อยู่ที่ฝ่ายขายก่อนและย้ายไปอยู่บัญชี
จากนั้น ก็ไปอยู่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ และได้รับมอบหมายให้ดูแลโปรเจ็กต์พิเศษของบุญรอดฯ
ซึ่งงานส่วนใหญ่ทั้งหมดจะเป็นงานเกี่ยวกับการเซ็ตระบบ แต่พอผมมาอยู่ที่อาหารสากล
เมื่อเข้ามาวางระบบบัญชี คอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ผมก็มาจับงานด้านการขายและการตลาด
ซึ่งเป็นงานที่ผมชอบ และที่นี่ผมได้ใช้ศาสตร์ทางด้านการตลาดค่อนข้างเยอะ"
สุวิทย์เล่า
ปีนี้เป็นปีที่ 5 ของเขาที่ยูเอฟซี และระหว่างที่อยู่ที่นี่ เขาได้เกิดความคิดที่จะทำไมโครบริวเวอรี่ขึ้น
หลังจากที่กรม สรรพสามิตเปิดเสรีให้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงเบียร์เล็กได้เมื่อ
3 ปีที่แล้ว เขาและเพื่อนๆ อีก 5-6 คนจึงได้รวม ตัวกันก่อตั้งบริษัท เพชรบุรีเอนเตอร์เทนเมนท์
จำกัดและไป ขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต เพื่อทำโรงเบียร์เล็ก ชื่อว่า "เดอะเบย์"
ซึ่งในขณะนั้นก็มีอีกหลายรายที่มาขอใบอนุญาต และพวกเขาเหล่านั้นก็ได้เปิดดำเนินการล่วงหน้าไปก่อนร่วม
2 ปีแล้ว
จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่แล้ว "เดอะเบย์" ได้เปิดให้บริการในส่วนของผับแอนด์เรสเตอรองท์เป็นการชิมลาง
รอ เวลาติดตั้งหม้อต้มเบียร์ให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน และล่าสุดส่วน ของไมโครบริวเวอรี่ของเดอะเบย์ได้เปิดบริการเต็มรูปแบบแล้ว
เดอะเบย์เป็น ไมโครบริว เอนเตอร์เทนเม้นท์ สไตล์ ซานฟรานซิสโก ที่สุวิทย์และเพื่อนมีเจตนาร่วมกันให้การตก
แต่งร้านทั้งหมดออกมาในสไตล์ของอเมริกันที่สนุกสนาน เพื่อฉีกแนวจากไมโครบริวรายอื่นที่นิยมสไตล์อเมริกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนของเครื่องจักรต่างๆ และหม้อต้มเบียร์ของที่นี่ยังคงความเป็นมาตรฐานเยอรมัน
ซึ่งเป็นดินแดนผู้ผลิตเบียร์อันดับหนึ่งของโลกรวมทั้งคนปรุงเบียร์ สุวิทย์ได้เฟ้นหาลูกครึ่งอเมริกัน-เยอรมันมาจนได้
สำหรับเบียร์สดของที่นี่จะมีรสชาติสไตล์อเมริกัน ขณะเดียวกันก็มีเบียร์สำเร็จ
รูปจำหน่ายร่วมด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกอย่างตรงใจที่สุด
"ความเป็นซานฟรานฯ แต่งร้านได้ไม่มีวันจบ ซึ่งการ ลงทุนทำไมโครบริวถือเป็นการลงทุนระยะยาว
จะมาลงทุนระยะสั้นแบบผับหรือเธคทั่วไปที่เปิด 1-2 ปีแล้วเลิก ไม่ได้เพราะว่าเป็นการลงทุนค่อนข้างสูง
เราก็เลยอยากได้ธีมของร้านที่ใส่อะไรใหม่ๆ เข้าไปเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ไม่มีจุดจบ
เพื่อให้ลูกค้าไม่เบื่อในบรรยากาศของเรา" เป็นเหตุผลที่สุวิทย์อธิบายถึงการเลือกตกแต่งร้านในสไตล์ซานฟรานซิสโก
ซึ่งถือเป็นการจำลองบรรยากาศอันสนุกสนาน กิจกรรมที่หลากหลาย แสงสีที่สดใสสว่างไสว
คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทุกที่ของซานฟรานซิสโก มาไว้ที่เดอะเบย์
หลายคนอาจจะสงสัยว่า เศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้คิด อย่างไรถึงมาเปิดกิจการใหญ่โตขนาด
100 ล้านบาท ไม่สวน กระแสไปหน่อยหรือ??? สุวิทย์ได้ให้คำตอบนี้อย่างชัดเจนว่า
"นักธุรกิจที่ดี นอกจากจะต้องมีความฉลาดในการลงทุนแล้ว ผมว่า ไทม์มิ่ง
เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของคนเราได้ด้วยเช่นกัน ขณะที่เดอะเบย์คิดแผนลงทุน
ยังไม่เกิดวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ และเมื่อเกิดวิกฤติแล้วเรา ก็ชะลอการลงทุนไป
จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นวันที่เราเปิดร้าน และเราก็คิดว่าเหมาะสมแล้ว
เพราะหากเราทำตอนที่เศรษฐกิจบูม อาจจะไม่มีคนรู้จัก เดอะเบย์เท่าวันนี้ก็ได้"
สุวิทย์มีปรัชญาในการทำงานแต่ละวันของเขาคือ"ง่าย เมื่อคิด ติดเมื่อทำ
สำเร็จเมื่อพยายาม" และเคล็ดลับในการประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้นั่น
เขาบอกว่าต้องมี"ถึง" ใน 3 ประการด้วยกัน ประการแรก "ตาถึง" คือ
มองธุรกิจ อย่างทะลุปรุโปร่ง ประการที่สอง "ใจถึง" คือ กล้าตัดสินใจ
และประการสุดท้าย "มือถึง" คือ ทำจริง ทำเป็น
"ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับการทำงาน และร้านนี้ก็ถือ เป็นความฝันร่วมกันของผองเพื่อน
ที่พร้อมจะมานั่งคุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้กำลังใจและข้อคิดแก่กันเพื่อมา
เป็นข้อมูลในการบริหารธุรกิจให้สำเร็จ" สุวิทย์กล่าว
นอกจากนั้น ในฐานะที่เป็นคนหนุ่มหัวสมัยใหม่ ที่คลุกคลีอยู่ในวงการธุรกิจมากว่า
20 ปี สุวิทย์ได้ให้มุมมองและแง่คิดต่อภาวะพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยว่า
"ผมมองว่า ถ้าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล อาจจะมีคำว่า "ขาดทุน" หรือ
"ล้มละลาย" แต่ผมอยากจะให้กำลังใจกับนักธุรกิจทุกท่านว่า เราอยู่ในประ-เทศไทย
เราเป็นคนไทย ประเทศไทยไม่มีคำว่า "ล้มละลาย" ประเทศไทยขาดทุนไม่ได้
เพราะทรัพย์สินใน เมืองไทยมันนับมูลค่าไม่ได้ ฉะนั้นวันนี้ใครจะบอกว่า เมืองไทยจะเป็นอย่างไรก็ตาม
ผมไม่เชื่อ วันนี้เราต้อง พยายามอยู่ให้ได้ แล้วพรุ่งนี้จะดีเอง
เวลาที่ท้อแท้ใจ ผมจะคิดว่า วันที่กรุงศรีอยุธยาแตก 2 ครั้ง ทำไม ประเทศไทยยังอยู่รอด
ในช่วงรัชกาล ที่ 5 เป็นยุคล่าอาณานิคม ประเทศไทยก็ยังอยู่รอด และวันนี้ประเทศไทยเจอยุคของการพิสูจน์ความสามารถของคนที่จะอยู่ในวงการธุรกิจต่อไป
ทำไมประเทศไทยจะไม่ รอด ขอให้นักธุรกิจทุกคนอย่าประมาท อย่าหมดความหวัง และอย่าลงทุนที่เกินตัว
แบ่งเงินเก็บก้อน หนึ่งให้ครอบครัว และเราก็จะทำงานอย่างสบายใจเอง"
"เมื่อวานนี้มีได้ วันนี้หมดได้ พรุ่งนี้ก็มีได้" ชีวิตก็เท่านี้เอง...