ความเครียด (2)

โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

ฉบับที่แล้ว เราคุยกันถึงความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งในบ้านเราที่ทำให้การจัดการความเครียดมักจะไม่ค่อยได้ผล นั่นคือ เราไม่ค่อยจะยอมรับกันว่าในบางครั้งบางเรื่องราว เรากำลังเครียด ทั้งนี้เนื่องจากคนกังวลว่าการยอมรับอาจจะหมายถึง การเสีย "ฟอร์ม" เสียหน้า ถูกมองว่าไม่มีความอดทน หรือ ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (ประโยคประเภทว่า ทำไมคนอื่นยังทนได้) รวมไปถึงความกังวลว่าจะถูกมองว่าเป็นคนป่วยโรคจิต บางคนอาจกังวลว่าการยอมรับนั้นหมายถึง และเท่ากับการถูกไม่ยอมจากคนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชา ซึ่งหมายความว่า ความก้าวหน้าทางการงานจะไม่เกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะพยักหน้าเห็นตามไปกับผมขณะที่อ่านว่าเป็นเรื่องที่สมควรกังวลจริงๆ ความกังวลดังกล่าวอาจจะให้ผลดีในแง่คนรอบข้างยังยอมรับ งานการยังคงไปได้ดี ไม่ถูกมองจากคนรอบข้างในแง่ลบ แต่คำถามที่ตามมาคือ ทุกอย่างดีอย่างที่เราคิดจริงหรือ และหากมันดีจริงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการปกปิดความเครียดนี้มันคุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกิดจากการไม่ยอมรับว่าความเครียดเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคนคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเครียดนั้นไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขอย่างไม่มีประสิทธิภาพพอ ปัญหาที่เกิดจากความเครียดไม่ได้มีเพียง "ความรู้สึกเครียด หรืออาการทางกาย" เพียงเท่านั้น (ดังที่กล่าวไว้ในฉบับที่แล้ว) แต่สิ่งที่เรามักจะมองข้ามไปว่าปัญหาเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเครียด คือ ปัญหาการใช้เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนด้วยกัน ทั้งระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

ลองนึกถึงสถานบริการกลางคืน ตั้งแต่ผับไปจนถึงคาเฟ่ ทำไมสถานบริการเหล่านี้ถึงสามารถทำธุรกิจได้ตั้งแต่ยุคธุรกิจเฟื่องฟูเป็นฟองสบู่ มาจนถึงยุคธุรกิจซบเซาในปัจจุบัน ทำไมเศรษฐกิจดีคนเที่ยว เศรษฐกิจไม่ดีคนก็เที่ยว เพียงแต่ความบ่อยน้อยลง และทิปไม่หนักเท่าแต่ก่อน ทำไมเศรษฐกิจแย่สินค้าขายไม่ค่อยออก แต่เบียร์กลับขายดี (หรือที่จริงขายไม่ดี แต่บริษัทเบียร์กำลัง "บลั๊ฟ" บริษัทคู่แข่ง) ปรากฏการณ์เหล่านี้น่าจะเป็นภาพสะท้อนว่า ชีวิตคนวัยทำงานต้องการ "เวลานอก" จากความเครียดที่เขาประสบในชีวิตประจำวัน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางแย่ลงเมื่อมีความเครียด เข้ามาแทรก ลองสังเกตวันที่เจ้านายอารมณ์ไม่ดีจากเรื่องงาน สิ่งที่ตามมาคือบรรดาลูกน้องทั้งหลายมักจะเกิดความเครียดตามมา และพยายามลดความเครียดของเจ้านายโดยการทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เจ้านายอารมณ์ดีขึ้น โดยบางครั้งไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ทำโดยหวังว่าจะลดความเครียดของเจ้านาย (เพื่อว่าเจ้านายจะได้ไม่มาลงที่ตัวเอง หรือตัวเองอาจจะก้าวหน้า เพราะเจ้านายมองว่าเป็นลูกน้องที่รู้ใจ)

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ถูกกระทบจากความเครียด เช่นกรณีที่ มท.1 เกิดอาการ นอตหลุดด่านักข่าว หรือนายกถือ "มีดโกน" ขึ้นมาไล่กรีดนักข่าวว่ารับจ้างเขียนข่าว เหตุการณ์ เหล่านี้เรามักจะปล่อยผ่านไปไม่ให้ความสำคัญ โดยมองแต่เพียงว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายหลังมีพฤติการณ์ยั่วยุจนอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ไหว แต่ที่จริงแล้วเรากำลังดูเบาปัญหา คนที่เคยควบคุมตัวเองได้ดีแล้วเกิดอาการหลุดขึ้นมา นั่นคือสัญญาณบ่งถึงความเครียดในตัวคนนั้น

ค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นเหล่านี้เราจ่ายไปโดยไม่ทราบว่ามันมีความเกี่ยวพันกับปัญหาความเครียด การจัดการกับปัญหาความเครียดนั้นประการแรกจึงต้องยอมรับว่าตัวเราเองเครียด

ต่อจากนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับถัดมา คือ สาเหตุหรือที่มาของความเครียด เมื่อเข้าใจจุดนี้เราจึงจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบ่งว่าเกิดความไม่สอดคล้อง ไม่สมดุลยกันระหว่าง ตัวกระตุ้น สิ่งเร้า หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับความสามารถในการจัดการที่เรามีอยู่เดิม และเราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างสภาวะสมดุลยกลับคืนมา

นั่นคือความเครียดเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงระหว่างปัจจัยนอกตัวเรา และปัจจัยในตัวเรา การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้นของปัจจัยภายนอก และ/หรือการลดลงของปัจจัยภายในตัวเรา ล้วนแต่ทำให้สมดุลยในการจัดการความเครียดที่มีอยู่เดิมเสียไป ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ในส่วนของปัจจัยภายนอกอาจแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เช่น การได้งานเพิ่มขึ้น การรับงานที่ขาดความถนัด ปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด (กรณีนี้บางครั้งเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลลัพธ์จากความเครียด) การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในบางครั้งปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่บังเอิญมีหลายปัจจัยเข้ามาพร้อมกัน ทำให้บุคลนั้นไม่สามารถจัดการกับมันได้เหมือนแต่ก่อน ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวเสริมให้เราทนความเครียดได้น้อยลง หรือจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีเท่าแต่ก่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น คนที่เคยมีเพื่อนร่วมก๊วน ไปไหนไปกัน มีปัญหาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข แต่พอเพื่อนมีครอบครัว หรือไม่มีเวลา ทำให้เวลามีปัญหาไม่รู้จะพึ่ง หรือขอคำปรึกษาจากใคร

ปัญหาในส่วนแรกเป็นปัจจัยภายนอกที่เรากำหนด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนักแต่ ปัจจัยที่เราสามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงได้ง่ายกว่า คือ ปัจจัยในตัวของเราเองทั้งในแง่ของวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น (จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก) และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ความเครียดจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมให้เรา สามารถทนกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก หรือ ทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับปัญหาไม่ได้ ในส่วนนี้เรามักจะละเลยไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งๆ ที่ตรงส่วนนี้เป็นด่านแรกที่จะสกัดกั้นความเครียดไม่ให้เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็รุนแรงน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น จุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนสองคนที่ผจญกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทำไมคนหนึ่งจึงจัดการไม่ได้ ขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เกิดปัญหาความเครียดขึ้น หรือความรุนแรงของปัญหาน้อยกว่า

การจัดการปัจจัยภายในตัวเรานั้นคล้ายกับสภาพเขื่อน สภาพจิตใจที่ไม่แข็งแกร่ง หรือขาดการเตรียมความพร้อมก็เหมือนเขื่อนที่ไม่แข็งแรง ความเครียดที่มีอยู่แล้วในตัว เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่มีอยู่สูงจนเกือบจะล้นเขื่อน ถ้ามีความเครียดเพิ่มเติมเข้ามาอีกเพียงเล็กน้อย จิตใจสภาพดังกล่าวก็ไม่สามารถจัดการปล่อยให้ความเครียดแสดงออกมา หรือเกิดอาการ หลุดž ถ้าเป็นเขื่อน เขื่อนนี้ก็อาจจะพัง หรือปล่อยให้น้ำไหลทะลักออกมา

การให้ความสนใจกับปัจจัยภายในตัวเราจึงน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ และมีความเป็นไปได้ในการจัดการ การเตรียมตัวแต่แรกจึงเป็นเสมือนการป้องกัน หรือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเครียด เพื่อให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดปัญหาน้อยที่สุด

ความเครียด (2)

ฉบับที่แล้ว เราคุยกันถึงความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งในบ้านเราที่ทำให้การจัดการความเครียดมักจะไม่ค่อยได้ผล นั่นคือ เราไม่ค่อยจะยอมรับกันว่าในบางครั้งบางเรื่องราว เรากำลังเครียด ทั้งนี้เนื่องจากคนกังวลว่าการยอมรับอาจจะหมายถึง การเสีย "ฟอร์ม" เสียหน้า ถูกมองว่าไม่มีความอดทน หรือ ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (ประโยคประเภทว่า ทำไมคนอื่นยังทนได้) รวมไปถึงความกังวลว่าจะถูกมองว่าเป็นคนป่วยโรคจิต บางคนอาจกังวลว่าการยอมรับนั้นหมายถึง และเท่ากับการถูกไม่ยอมจากคนรอบข้าง และผู้บังคับบัญชา ซึ่งหมายความว่า ความก้าวหน้าทางการงานจะไม่เกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะพยักหน้าเห็นตามไปกับผมขณะที่อ่านว่าเป็นเรื่องที่สมควรกังวลจริงๆ ความกังวลดังกล่าวอาจจะให้ผลดีในแง่คนรอบข้างยังยอมรับ งานการยังคงไปได้ดี ไม่ถูกมองจากคนรอบข้างในแง่ลบ แต่คำถามที่ตามมาคือ ทุกอย่างดีอย่างที่เราคิดจริงหรือ และหากมันดีจริงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการปกปิดความเครียดนี้มันคุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกิดจากการไม่ยอมรับว่าความเครียดเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคนคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเครียดนั้นไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขอย่างไม่มีประสิทธิภาพพอ ปัญหาที่เกิดจากความเครียดไม่ได้มีเพียง "ความรู้สึกเครียด หรืออาการทางกาย" เพียงเท่านั้น (ดังที่กล่าวไว้ในฉบับที่แล้ว) แต่สิ่งที่เรามักจะมองข้ามไปว่าปัญหาเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเครียด คือ ปัญหาการใช้เหล้า บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนด้วยกัน ทั้งระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

ลองนึกถึงสถานบริการกลางคืน ตั้งแต่ผับไปจนถึงคาเฟ่ ทำไมสถานบริการเหล่านี้ถึงสามารถทำธุรกิจได้ตั้งแต่ยุคธุรกิจเฟื่องฟูเป็นฟองสบู่ มาจนถึงยุคธุรกิจซบเซาในปัจจุบัน ทำไมเศรษฐกิจดีคนเที่ยว เศรษฐกิจไม่ดีคนก็เที่ยว เพียงแต่ความบ่อยน้อยลง และทิปไม่หนักเท่าแต่ก่อน ทำไมเศรษฐกิจแย่สินค้าขายไม่ค่อยออก แต่เบียร์กลับขายดี (หรือที่จริงขายไม่ดี แต่บริษัทเบียร์กำลัง "บลั๊ฟ" บริษัทคู่แข่ง) ปรากฏการณ์เหล่านี้น่าจะเป็นภาพสะท้อนว่า ชีวิตคนวัยทำงานต้องการ "เวลานอก" จากความเครียดที่เขาประสบในชีวิตประจำวัน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางแย่ลงเมื่อมีความเครียด เข้ามาแทรก ลองสังเกตวันที่เจ้านายอารมณ์ไม่ดีจากเรื่องงาน สิ่งที่ตามมาคือบรรดาลูกน้องทั้งหลายมักจะเกิดความเครียดตามมา และพยายามลดความเครียดของเจ้านายโดยการทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เจ้านายอารมณ์ดีขึ้น โดยบางครั้งไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ทำโดยหวังว่าจะลดความเครียดของเจ้านาย (เพื่อว่าเจ้านายจะได้ไม่มาลงที่ตัวเอง หรือตัวเองอาจจะก้าวหน้า เพราะเจ้านายมองว่าเป็นลูกน้องที่รู้ใจ)

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ถูกกระทบจากความเครียด เช่นกรณีที่ มท.1 เกิดอาการ นอตหลุดด่านักข่าว หรือนายกถือ "มีดโกน" ขึ้นมาไล่กรีดนักข่าวว่ารับจ้างเขียนข่าว เหตุการณ์ เหล่านี้เรามักจะปล่อยผ่านไปไม่ให้ความสำคัญ โดยมองแต่เพียงว่าปัญหาเกิดจากฝ่ายหลังมีพฤติการณ์ยั่วยุจนอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ไหว แต่ที่จริงแล้วเรากำลังดูเบาปัญหา คนที่เคยควบคุมตัวเองได้ดีแล้วเกิดอาการหลุดขึ้นมา นั่นคือสัญญาณบ่งถึงความเครียดในตัวคนนั้น

ค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นเหล่านี้เราจ่ายไปโดยไม่ทราบว่ามันมีความเกี่ยวพันกับปัญหาความเครียด การจัดการกับปัญหาความเครียดนั้นประการแรกจึงต้องยอมรับว่าตัวเราเองเครียด

ต่อจากนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับถัดมา คือ สาเหตุหรือที่มาของความเครียด เมื่อเข้าใจจุดนี้เราจึงจะสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบ่งว่าเกิดความไม่สอดคล้อง ไม่สมดุลยกันระหว่าง ตัวกระตุ้น สิ่งเร้า หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับความสามารถในการจัดการที่เรามีอยู่เดิม และเราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างสภาวะสมดุลยกลับคืนมา

นั่นคือความเครียดเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงระหว่างปัจจัยนอกตัวเรา และปัจจัยในตัวเรา การเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้นของปัจจัยภายนอก และ/หรือการลดลงของปัจจัยภายในตัวเรา ล้วนแต่ทำให้สมดุลยในการจัดการความเครียดที่มีอยู่เดิมเสียไป ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ในส่วนของปัจจัยภายนอกอาจแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เช่น การได้งานเพิ่มขึ้น การรับงานที่ขาดความถนัด ปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด (กรณีนี้บางครั้งเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลลัพธ์จากความเครียด) การตกงาน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในบางครั้งปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่บังเอิญมีหลายปัจจัยเข้ามาพร้อมกัน ทำให้บุคลนั้นไม่สามารถจัดการกับมันได้เหมือนแต่ก่อน ความเครียดจึงเกิดขึ้น

ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวเสริมให้เราทนความเครียดได้น้อยลง หรือจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีเท่าแต่ก่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น คนที่เคยมีเพื่อนร่วมก๊วน ไปไหนไปกัน มีปัญหาช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข แต่พอเพื่อนมีครอบครัว หรือไม่มีเวลา ทำให้เวลามีปัญหาไม่รู้จะพึ่ง หรือขอคำปรึกษาจากใคร

ปัญหาในส่วนแรกเป็นปัจจัยภายนอกที่เรากำหนด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนักแต่ ปัจจัยที่เราสามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงได้ง่ายกว่า คือ ปัจจัยในตัวของเราเองทั้งในแง่ของวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น (จากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก) และการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ความเครียดจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมให้เราสามารถ ทนกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก หรือ ทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับปัญหาไม่ได้ ในส่วนนี้เรามักจะละเลยไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งๆ ที่ตรงส่วนนี้เป็นด่านแรกที่จะสกัดกั้นความเครียดไม่ให้เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็รุนแรงน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น จุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนสองคนที่ผจญกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน ทำไมคนหนึ่งจึงจัดการไม่ได้ ขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เกิดปัญหาความเครียดขึ้น หรือความรุนแรงของปัญหาน้อยกว่า

การจัดการปัจจัยภายในตัวเรานั้นคล้ายกับสภาพเขื่อน สภาพจิตใจที่ไม่แข็งแกร่ง หรือขาดการเตรียมความพร้อมก็เหมือนเขื่อนที่ไม่แข็งแรง ความเครียดที่มีอยู่แล้วในตัว เปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่มีอยู่สูงจนเกือบจะล้นเขื่อน ถ้ามีความเครียดเพิ่มเติมเข้ามาอีกเพียงเล็กน้อย จิตใจสภาพดังกล่าวก็ไม่สามารถจัดการปล่อยให้ความเครียดแสดงออกมา หรือเกิดอาการ หลุด ถ้าเป็นเขื่อน เขื่อนนี้ก็อาจจะพัง หรือปล่อยให้น้ำไหลทะลักออกมา

การให้ความสนใจกับปัจจัยภายในตัวเราจึงน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ และมีความเป็นไปได้ในการจัดการ การเตรียมตัวแต่แรกจึงเป็นเสมือนการป้องกัน หรือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเครียด เพื่อให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดปัญหาน้อยที่สุด



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.