บ่ายแก่ๆ บริเวณห้องสตูดิโอ 2 ของโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันที่ 26
พฤษภาคม 2542 คลาคล่ำไปด้วยบรรดาสื่อมวลชน และผู้บริหารของสถานีโทรทัศน์
หลายคนอาจไม่คิดว่า นี่เป็นงาน พบปะสื่อมวลชนครั้งแรกของพลโทสมพงษ์ ใหม่วิจิตร
ผู้อำนวยการโทร- ทัศน์ช่อง 5 คนล่าสุด แต่อาจคิดว่าเป็นงานเลี้ยงเปิดตัวละครเรื่องใหม่ของช่อง
5 เพราะนอกจากเวทีที่ตกแต่งอย่างดี แม้ว่าฉากข้างหลังเวที ดูย้อนยุคไปบ้างก็ตาม
ยังมีวงออเคส- ตร้าขนาดย่อม ประเภทเครื่องดนตรี 3 ชิ้น พร้อมกับกล้องถ่ายโทรทัศน์
งานนี้ไม่เพียงผู้บริหารของช่อง 5 ซึ่งล้วนแต่เป็นนายทหารจะไม่สวมเครื่องแบบ
หลังจากผู้สื่อข่าวมากันพร้อมหน้าพร้อมตา พลโทสมพงษ์หันไปคว้าไวโอลินขึ้นมาสีเพลงพระราชนิพนธ์
คลอเคล้าด้วยเสียงนักร้อง ที่ไม่ใช่อื่นไกลแต่เป็นบรรดาพิธีกร 5 คนของช่อง
5 อย่าง ทวินันท์ คงคราญ, รัตน์มณี มณีรัตน,์ จิตจันทร์ญา เพิ่มภัทร และ
กันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา ที่ต้องผันมาเป็นนักร้องชั่วคราว ก่อนจะสลับคั่นด้วยการตอบคำถามของนักข่าวบนเวที
"ท่านอยากให้บรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ทุกอย่างที่จัดขึ้นท่านเป็นคนคิดเอง
และก็มีคณะกรรมการจัดการไปทำ" นี่คือคำชี้แจงจากผู้บริหาร และทีมงานทั้งหลายถึงที่มาของงานที่ทำให้ผู้สื่อข่าวได้สัมผัสกับความแปลกใหม่
พลโทสมพงษ์ เป็นชาวพระประ แดง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2483 จบ จปร.12รุ่นเดียวกับพลเอกสุรยุทธ์
จุลานนท์ จากนั้นก็บินไปเรียนต่อทหาร สื่อสารที่สหรัฐฯ หลักสูตรเกี่ยวกับการ
ส่งคลื่นวิทยุคือ Radio Wave Pro-pagation และหลักสูตร Radio System Officer
เรียนจบกลับมาทำงานเป็นผู้บังคับหมวดปฏิบัติการ อยู่กองพันทหารสื่อสาร และมาเป็นรองผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการสื่อ
สารสนาม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้อำนวยการช่อง 5 มักจะผ่านการทำงานหน่วยนี้มาก่อน
ยกเว้น พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการคนก่อน
พลโทสมพงษ์ เล่าว่า ใจจริงแล้ว ใฝ่ฝันจะเป็นครูมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ พอเรียนจบมัธยมปลายไปสอบชิงทุนเรียน
ที่วิทยาลัยครูได้เป็นที่ 6 ของจังหวัด
"พอดีช่วงนั้นเพื่อนๆ ชวนให้ไปสอบโรงเรียนเตรียมทหาร ก็ลองสอบดู พอ่สอบได้แล้วก็เก็บเงียบไว้
จนครูที่โรงเรียนมาบอกพ่อแม่ ก็อยากให้ลูกชายเป็นทหาร" พลโทสมพงษ์เล่าถึงชีวิตที่ต้องพลิกผันมาเป็นทหารแม้จะเบนเข็มไปเรียนเตรียมทหารแต่ใจก็ยังอยากเป็นครู
จึงแอบไปสอบเป็นคร พ.ม. และก็สอบได้ 3 วิชารวดในปีเดียวกัน และพลโทสมพงษ์ก็ได้เป็นครูสมใจ
เมื่อได้มาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอยู่หลายปี
พลโทสมพงษ์เคยผ่านงานด้านข่าว เป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองข่าวกองทัพ ภาค ที่
1 อยู่ 2 ปี ก่อนจะมาเป็นหัวหน้า แผนกกรมยุทธการทหารบก และกลับมาเป็นรองเสนาธิการโรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า 3 ปี และเป็นหัวหน้า กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ส่วนการศึกษา
ในช่วงหลังตั้งแต่ปี 2532 ย้ายมาทำงานที่กระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ
หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระ-ทรวงกลาโหม
ยุคที่ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง ก่อน จะย้ายมาเป็นผู้อำนวยการช่อง
5 ที่พลเอกสุรยุทธ์เป็นผู้เสนอชื่อ
บุคลิกทั่วไปของพลโทสมพงษ์ เป็นคนนุ่มนวล ยิ่งมาเน้นสร้างความเป็นกันเองในแบบของการสีไวโอลินให้ผู้สื่อข่าวฟัง
ก็ยิ่งเห็นถึงความแตก ต่างกับบุคลิกที่เอาจริงเอาจังของ พลเอกแป้งอย่างเห็นได้ชัด
พลโทสมพงษ์เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟัง ว่า หัดสีไวโอลินมาตั้งแต่มัธยม 2 เพราะได้ไวโอลินเป็นรางวัลจากพ่อ
เป็นของเชโกสโลวะเกีย จากนั้นก็เริ่มต้นหัดเล่นด้วยตัวเอง และมาได้ไวโอลิน
ตัวที่ 2 จากภรรยาในวันเกิด ยี่ห้อฮอมเนอร์ และตัวที่ 3 เป็นของเพื่อนร่วมงานซื้อมาให้จากเยอรมนี
แต่จำยี่ห้อไม่ได้
เพื่อนฝูงสนิทๆ ที่เรียนกันมาตั้งแต่โรงเรียนเตรียมทหารก็เลยคุ้นกับเสียงไวโอลินของพลโทสมพงษ์มาพอ
สมควร เพราะฝีมือออกโชว์ได้
"ว่างๆ เวลางานเครียดๆ ผมก็หยิบไวโอลีนมาสี ก็รู้สึกผ่อนคลายไปเยอะ" พลโทสมพงษ์เผยเคล็ดลับ
พอตอบคำถามผู้สื่อข่าวเสร็จสรรพกินเวลาพักใหญ่ พลโทสมพงษ์ ก็ขึ้นเวทีสีไวโอลินขึ้นบรรเลงอีกครั้ง
คราวนี้ชวนนักข่าวไปร่วมร้องเพลงด้วย แถมยังสร้างความประทับใจให้ผู้สื่อข่าว
ด้วยพยายามจำชื่อเล่นของผู้สื่อข่าวค่าย ต่างๆ ตามด้วยการเล่าเรื่องราวของตัว
เองและครอบครัวให้ฟังอย่างเปิดเผยจนเมื่อนักข่าวเริ่มทยอยกลับ พลโท สมพงษ์หันไปถามผู้สื่อข่าวที่ยังเหลืออยู่
ว่า "ผมทำมากไปมั้ย"
จะว่าไปแล้วงานนี้ก็ต้องถือว่า คุ้มค่า เพราะภาพพลโทสมพงษ์ยืน สีไวโอลินปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ
ทำให้ข่าวพาดหัวเกี่ยวกับมาตรการเชือดเทเลไฟว์ ดูบรรเทาความเข้มข้นลงไปมาก
ช่อง 5 ในยามนี้ตกอยู่ในที่นั่งลำบากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะปัญหาการตกต่ำของรายได้
เมื่อมาเจอกับการเอาเงินไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ จนเกิดมีคำถามถึงความโปร่งใสในการตั้งบริษัท
โฮลดิ้ง และยังมาเจอกับมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ จะต้องนำคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่
ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของทหารไม่สู้ดีนักในสายตาประชาชนทั่วไป จากการ เซ็นต่อสัญญาให้ช่อง
7 จากการที่ออก มาแสดงความหวงแหนคลื่นวิทยุ และ โทรทัศน์จนออกหน้า
ระยะเวลา 1 ปี บนเก้าอี้ผู้อำนวย การช่อง 5 ของพลโทสมพงษ์จึงต้อง มุ่งแก้ปัญหารายได้
เท่ากับว่าหลายโครงการที่ทำไปก่อนหน้านี้ต้องถูกทบ ทวนรวมทั้งการกู้ภาพลักษณ์ของทหาร
ในสายตาคนทั่วไปมากกว่าที่จะมาพูดถึงเรื่องดิจิตอลทีวี หรือโรงงานผลิต ดีวีดี
หรือการครอบครองคลื่นวิทยุไว้ในมือทั้งหมด
เพราะเมื่อฉายาผู้อำนวยการช่อง 5 ได้เปลี่ยนจาก "ทหารดิจิตอล" มาเป็นทหารนักสีไวโอลินไปแล้ว
ทุกอย่าง ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป