ธนาคารขนาดเล็กแห่งนี้ กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองไปอย่างสุดขั้ว กับการใช้ประโยชน์จากไอที
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการให้บริการอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนหน้านี้
สำหรับธนาคารเอเชียแล้ว เมื่อพูดถึงบริการ e-banking ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
คำขึ้นต้นด้วย e ของธนาคารนี้ ไม่ได้มาจากคำว่า electronic อย่างที่เข้าใจกัน
e ในความหมายของวิลาวรรณ ไม่ได้มาจากคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ แบงกิ้ง อย่างที่รับรู้กัน
แต่สำหรับเธอแล้วความหมายของมันกว้างกว่านั้น
"e ของเราคือ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่เราพูดกันมา
10 ปีที่แล้ว e ใน ความหมายของเรา คือ enable เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขีดความสามารถในการ
สร้างธุรกรรมการเงินของธนาคารกับลูกค้า ไม่ว่าจะด้วยอะไรก็ตาม จะเป็นเทคโนโลยีอะไรก็ได้
จะมีสาย หรือไม่มีสาย จะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือไม่ใช่ก็ได้" คำอธิบายของวิลาวรรณ
ความแตกต่างของการที่ธนาคารขนาดเล็กอย่างธนาคารเอเชียกลายเป็นธนาคาร ที่มีรูปโฉมทันสมัย
ใช้การตลาดเชิงรุก สร้างสรรค์บริการใหม่ๆ จำนวนมาก ไม่ได้เกิดมาจากการสะสมความมั่งคั่งในอดีต
เหมือนกับธนาคารไทยรายอื่นๆ
แต่เป็นแรงขับดัน ที่เกิดจากการที่ธนาคารขนาดเล็กแห่งนี้ ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติมาอย่างหนัก
จากปัญหาองค์กรภายใน การทำธุรกิจแบบไร้ทิศทาง อันเป็นที่มาของการตกต่ำของรายได้
ยอดขายลดลงทุกปี ดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่พอกับการปล่อยสินเชื่อ ส่วนแบ่งตลาดที่ตกลงมาเหลืออยู่เพียงแค่
2.5%
ด้วยภาวะ ที่ยากลำบากนี้เองผู้บริหารสูงสุดของธนาคารเอเชีย ภายใต้การนำของจุลกร
สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเอเชีย ตัด สินใจผ่าตัดองค์กร เพื่อแก้ปัญหา
และพลิกโฉมธุรกิจขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นที่มาของการตัด สินใจผ่าตัดองค์กร
ด้วยการยกเครื่องระบบไอทีทั้งหมด ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ขั้นตอนของการปรับทิศทางใหม่
เพื่อไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail Transformation)
ธนาคารเอเชียถูกผ่าตัดองค์กรโดยมืออาชีพ ลดต้นทุนการทำธุรกิจ ขจัดปัญหาความซ้ำ
ซ้อนในการทำงาน หาพันธมิตรข้ามชาติมาร่วม ทุน สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรใหม่
ปรับโฉม หน้าของสาขาทั้งหมดนี้ เพื่อรองรับกับการกำหนด ยุทธศาสตร์ใหม่ ที่มุ่งไปสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อย
(รีเทลแบงกิ้ง)
การมุ่งไปหากลุ่มลูกค้า ที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป ทำให้คิดค้นผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ
ของธนาคารเอเชียแตกต่างไปจากธนาคารไทยพาณิชย์ และกสิกรไทย ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารเอเชียจะมุ่งเน้นไป
ที่ความหลากหลาย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก ผลิตภัณฑ์ทางการเงินโดยตรง
ที่ธนาคารเอเชียนำออกมามากกว่า 20 ชนิด ตามเกณฑ์อายุของกลุ่มผู้บริโภค ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเกษียณ
ส่วน ที่สอง คือ การสร้างเครื่องมือใหม่ เพื่อเป็นตัวกลางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องเอทีเอ็ม
ขยายสาขาย่อย บริการอินเทอร์เน็ต ได้เท่าทันกับธนาคารอื่นๆ ทำอยู่เวลานี้
แต่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการปรับโครง
สร้างสู่การเป็นรีเทลแบงกิ้ง (Retail Transforma-tion) ของธนาคารเอเชีย ที่ถูกทำขึ้นอย่างเข้มงวด
และเป็นแบบแผน
การยกเครื่ององค์กร (re-engineering) ของธนาคารเอเชียนั้น ทำขึ้นภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของผู้บริหารระดับสูง
ระบบการทำงานถูกผ่าตัดใหม่ รวมศูนย์การทำงานภายในของ back office และกระบวนการของการให้สินเชื่อมาอยู่
ที่เดียวกัน
ระบบการทำงานของสาขา ที่เคยมีตำแหน่งงาน มีขั้นตอนการทำงาน ที่ซับซ้อน ถูกลดขนาดลง
คนเหล่านี้ถูกเปลี่ยนให้เป็นนักการตลาด เป็นตัวแทนบริการ
ระบบไอทีถูกยกเครื่องใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจใหม่ในการเป็นรีเทลแบง
กิ้ง ระบบงานของสาขาทั้งหมดถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบเอทีเอ็ม ระบบเครดิตการ์ด
และ บริการอื่นๆ นอกเหนือจากการสร้างความรวดเร็ว ในการทำงานแล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะไปใช้บริการที่สาขาไหน
หรือจุดบริการใด ใช้บริการจากอุปกรณ์ ประเภทใด ความต้องการเหล่านี้จะกลายเป็นฐานข้อมูลที่จะถูกใช้ประโยชน์ทางการตลาด
ข้อมูลจะทำให้ธนาคารเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทิศทางของการมุ่งสู่รีเทลแบงกิ้ง
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำนวนมากของธนาคารเอเชียเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากฐานข้อมูลที่ดี
ซึ่งเป็นผลมาจากการวางระบบ เครือข่าย การเชื่อมโยงระบบสาขาเข้ากับระบบ เอทีเอ็ม
และระบบเครดิตการ์ด และบริการอื่นๆ ที่ทำให้สามารถรู้ถึงพฤติกรรมการใช้บริการด้านการเงินของลูกค้า
"พอเรารู้พฤติกรรมการใช้งานของเขาเป็นอย่างไร เราเสนอสินค้าให้กลุ่มคน
พวกคนทำงาน ใหม่ๆ เขาต้องการวงเงินไปผ่อนบ้าน ซื้อรถ เพื่อสร้างครอบครัว
พออายุ 45 ปี เราก็แนะนำให้เขาออมเงิน" วิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ ผู้ช่วยกรรม
การผู้จัดการใหญ่ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศอธิบายถึงการยืดหยุ่นของระบบ ที่ถูกวางอันเป็นที่มาของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ได้ต่อเนื่อง
ทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่ลูกค้า ที่ไม่สามารถจำสินค้าของธนาคารเอเชียได้หมด พนักงานขายของธนาคารเอเชียเองก็ยังต้องคิดค้นวิธีการขาย
สร้างคู่มือแบบใหม่ เพื่อให้พนักงานสามารถนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากกว่า
20 ชนิด ของธนาคารเอเชียได้ครบถ้วน
ในอดีต ธนาคาร คือ สถานที่อันภูมิฐาน มีแบบแผนที่แน่นอนทั้งบริการ และคนทำงานเป็น
เสมือนอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ลูกค้าจะต้องเป็น ฝ่ายเดินเข้าหา เพื่อขอทำธุรกรรมการเงิน
เบิก ถอนเงิน ตามเวลา ที่ถูกกำหนดไว้แน่นอน หากพลาดต้องรอไปถึงวันถัดไป หากโชคร้ายก็อาจรอ
ไปจนวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป
แต่ทุกวันนี้ ธุรกิจธนาคารกลับต้องมองหาทักษะใหม่ๆ ที่ต้องไม่จำกัดอยู่ในกรอบกติกาแบบแผนดั้งเดิม
ธนาคารต้องทำตัวเป็นนักการตลาดที่ดี ทำการบ้านอย่างหนัก ไม่ต่างไปจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค
ที่ต้องนำเสนอบริการของตัวเอง ถึงมือผู้บริโภคให้ง่ายที่สุด และเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลง ที่ว่านี้ ก็คือ การเปิดสาขาใหม่ของธนาคารเอเชีย
ที่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ที่จะเปิดให้บริการตลอด
7 วัน ไม่มีวันหยุด และ บริการนี้จะเริ่มตั้งแต่ 9.30 น. ถึง 20.00 น. เป็นกลยุทธ์ใหม่
ที่ธนาคารเอเชียต้องเข้าถึงพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
กับการที่ จะต้องไปจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้า อย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละสัปดาห์
ภายในสาขาเหล่านี้จึงถูกตกแต่ง เพื่อสื่อถึงความสนุกสนาน มีความทันสมัย
มีความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง และยังรวมไปถึงการที่สาขาเหล่านี้จะมีเพลงประกอบ
เพื่อใช้ภายใน เพื่อสร้างบรรยากาศแตกต่างไปจากสาขาปกติ
พนักงานของธนาคารเอเชีย ที่เคยใส่สูทภูมิฐาน ทำงานตามแบบแผน ก็ต้องเปลี่ยนทั้งการ
แต่งตัว และทักษะของการเรียนรู้ กลายเป็นนัก การตลาดมือฉมัง ที่พร้อมจะนำเสนอสินค้า
และบริการไปถึงมือผู้บริโภคได้ทุกรูปแบบ
ทั้งหมดนี้ ก็ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
"เราต้องมานั่งคิดว่า คาแรกเตอร์ของลูกค้าเป็นอย่างไร ซูเปอร์ มาร์เก็ต ที่ให้ลูกค้าเข้าไป
พฤติกรรมในการใช้ของเขาต้องเข็นรถเข็นยังไง พวกนี้คือ ข้อมูลที่เราต้องศึกษา"
วิลาวรรณเล่า
ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการแข่งขันของธนาคารทุกวันนี้ ขนาดขององค์กร และจำนวนสาขา
ไม่ใช่ข้อได้เปรียบในการแข่งขันอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของอินเทอร์เน็ต
ที่เอื้อประโยชน์ให้กับลูกค้า ไม่จำเป็นต้องรอเวลา 9.30 น. หรือก่อนธนาคารปิดตอนบ่าย
3 โมงครึ่ง เดินทางไป ที่สาขาของธนาคาร เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน เบิก ถอน
โอนเงิน แลกเช็ค หรือแม้แต่การเปิดแอลซี แต่สามารถใช้บริการเหล่านี้จากตู้เอทีเอ็มใกล้บ้าน
หรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ที่ลูกค้าใช้บริการได้ ที่บ้าน
สำนักงาน แม้แต่ระหว่างเดินทางได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน
ด้วยการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็น โอกาสของธนาคารขนาดเล็ก ที่นอกจากจะเท่าเทียมกันแล้ว
ในบางครั้งการเป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน
ที่ซับซ้อนก็กลายเป็นข้อได้เปรียบกว่าธนาคารใหญ่ ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ไม่เหมาะสำหรับการแข่งขันในทศวรรษนี้
การเพิ่มขีดความสามารถให้กับตู้เอทีเอ็ม ที่เคยเป็นแค่อุปกรณ์ ที่ลูกค้าเคยใช้เบิกถอน
เงินสดเพียงอย่างเดียว กลายเป็นเอทีเอ็มเต็มรูปแบบ ที่สามารถรับฝากเงิน ถอนเงิน
ปรับยอดบัญชีสมุดเงินฝากได้ในเครื่องเดียว เป็นภารกิจ ที่จำเป็นของการทำธุรกิจรีเทลแบงกิ้ง
เพราะนี่คือ ต้นทุน ที่ถูกที่สุดของธนาคาร ที่จะใช้ทดแทนสาขา และ ที่สำคัญขีดความสามารถ
ของเอทีเอ็มนี้ ก็ทำให้ธนาคารนำเสนอบริการที่ลูกค้าต้องการไม่แตกต่างไปจากการไปสาขาย่อยๆ
เครื่องเอทีเอ็มรุ่นใหม่นี้ มีคุณสมบัติไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะใช้ชิปประมวล
ผล เพนเทียม III 500 เมกะเฮิรตซ์ หน้าจอภาพ ที่แสดงผลออกมาจึงเหมือนกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
และทำให้เครื่องเอทีเอ็มรุ่นใหม่นี้สามารถรองรับกับ web base เช่น ภาษาวาจา
นั่นหมาย ความว่า จะสามารถทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต
เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน จองตั๋วหนัง คอนเสิร์ต
สิ่งที่ธนาคารเอเชียต้องคิดต่อจากนี้ ก็คือ การที่ต้องเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคทุกหน
ทุกแห่งไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง โดยผ่านอุปกรณ์อย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(พีซี) โทรศัพท์มือถือ แม้แต่ตลับแป้ง ที่จะกลายเป็นอุปกรณ์ปลายทางอีกประเภทหนึ่ง
แนวโน้มของการเติบโตอย่างรวดเร็วของโทรศัพท์มือถือในเมืองไทย ทำให้เกือบทุกธนาคาร
เวลานี้ ต้องพัฒนาบริการของตัวเองให้เข้ากับโทรศัพท์มือถือทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใด
ขึ้นอยู่กับว่า เทคโนโลยีนั้น จะทำให้บริการธนาคาร ผ่านไปถึงมือผู้บริโภคได้
ความคาดหวังของวิลาวรรณ ไม่ใช่แค่การตอบสนองลูกค้า ที่ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถทำธุรกรรมกับธนาคารได้
โอนเงิน สอบถามกระแสเดินบัญชี ชำระค่าสินค้า เช่นเดียวกับเครื่องปาล์ม ทอป
การเป็นรีเทลแบงกิ้งอย่างธนาคารเอเชีย ยังต้องมองไปถึงการที่บริการของธนาคาร
จะต้องไปอยู่บนเครื่องอุปกรณ์พกพา ประเภทพีดีเอ (per-sonal digital appliance)
ที่อาจเป็นตลับแป้ง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มาพร้อมกับ wap เทคโนโลยี
และนี่ก็คือ เหตุผลที่ธนาคารเอเชียต้องให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน และการแลกข้อมูล ระหว่างสำนักงานสาขาจำนวนมาก
ด้วยการลงทุน เช่าคู่สายความเร็วสูง 64 เค ในการเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ที่สามารถรองรับกับการใช้ประโยชน์ได้ทั้งข้อมูลภาพ และเสียง ทั้งหมดนี้คือ
รากฐานของการสร้างความพร้อม ในการนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
"วันนี้ เราจะเล่นลูกเล่นทางการตลาดอะไรก็ได้ เพราะถนนเราสร้างไว้หมดแล้ว
เรากระโดดข้ามคนอื่นไปได้ คนอื่นกว่าจะมาเปลี่ยนเครือข่าย เปลี่ยนอุปกรณ์ต้องใช้เวลา"
วิลาวรรณบอกถึงความยืดหยุ่นของระบบ ที่วาง เธอสามารถท้าให้ฝ่ายการตลาดออกสินค้ามาเลยทุกอาทิตย์
ฝ่ายไอที ที่เธอดูแลอยู่ก็จะทำให้เขาได้ทุกอาทิตย์
การเปิดบริการเอเชีย ไซเบอร์ แบงกิ้ง เป็นช่องทางใหม่ ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของธนาคารเอเชีย ที่ต้องการตอบสนองลูกค้าได้ตลอด 24
ชั่วโมงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ที่บ้าน หรือ ที่ทำงาน รวมทั้งจากโทรศัพท์มือถือ
สิ่งที่ลูกค้าของธนาคารจะได้รับบริการ ก็คือ การโอนเงินระหว่างบัญชีภายใต้ชื่อบัญชีเดียว
กัน บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมถึงการโอนเงินชำระค่าสินค้า และบริการ
ค่าโทรศัพท์ มือถือ เพจเจอร์ ค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ต ค่าบัตรเครดิต ตลอดจนการทำรายการสรุปยอด
หรือทำรายการเคลื่อนไหวในบัญชีทุกประเภท และการระงับเช็คสั่งจ่าย
ไม่ว่ามูลค่า ที่แท้จริงของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดขึ้นในไทย จะมีการทำธุรกิจระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกัน
หรือ business to business (บีทูบี) มากกว่าการทำธุรกิจในลักษณะของ business
to consumer (บีทูซี) ก็ตาม รีเทลแบงกิ้งทำให้ธนาคารเอเชียให้น้ำหนัก บริการทั้งสองไม่แตกต่างกัน
และเป็นสิ่งที่ธนาคาร เอเชียให้ความสำคัญอย่างมาก
กระบวนการของการค้าขายในระบบอีคอม เมิร์ซ ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการนำเสนอสินค้า
การส่งของ การสั่งซื้อ การชำระเงิน แต่สำหรับธนาคารเอเชีย บทบาทเหล่านี้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน
"สิ่งที่ธนาคารจะเกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ ก็คือ
เรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงิน โอนเงิน ชำระเงินค่าสินค้า นี่คือ สิ่งที่ธนาคารต้องสร้างขีดความสามารถขึ้น
ไม่ว่าจะด้วยอุปกรณ์ใดก็ตาม เราจะไม่ทำมาร์เก็ต เพลส หรือทำเว็บ เพราะไม่ใช่
หน้าที่ของเรา"
เช่นเดียวกับส่วนของระบบซัปพลายเชน แมเนจเมนต์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของ
การทำธุรกิจในโลกของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งกระบวน การในการติดต่อระหว่างผู้ผลิตสินค้าจนถึงลูกค้า
เป็นเรื่อง ที่ธนาคารจะเข้าไปมีบทบาทได้ทั้งหมด
ธนาคารเอเชียวางบทบาทตัวเองเป็น "เกต เวย์" ที่รองรับกับธุรกรรมการเงิน
การเรียกเก็บ และชำระเงิน แก่ลูกค้า ที่ซื้อขายผ่านระบบบริการบีทูบี บริการนี้ไม่ใช่ธุรกรรมการเงิน
ที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น แต่ยังรองรับกับธุรกรรมในต่างประเทศ ซึ่งการเป็นเครือข่ายธนาคารข้ามชาติของ
เอบีเอ็น แอมโร จะมาช่วยสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ และนี่ก็คือ ข้อแตกต่างของการเป็นธนาคารลูกครึ่ง
ที่ธนาคารเอเชียมีมากกว่าธนาคารไทยอื่นๆ
ทุกวันนี้ ธนาคารเอเชียพยายามสร้างพันธมิตรธุรกิจในธุรกิจบีทูบีขึ้นมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นวินสโตร์ เมโทร ซิสเต็มส์ เดอะแวลลูซิส เต็มส์ ไทยดอทคอม ในการนำระบบเกตเวย์ของธนาคารเอเชียในการชำระเงินผ่านระบบบีทูบีของพันธมิตรเหล่านี้
ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบธุรกิจอีคอม เมิร์ซทั้งหลายเหล่านี้ ที่เป็นทั้งระบบบีทูบี
และบีทูซี ร้านค้า และห้างสรรพสินค้า จะได้ประโยชนจากความพร้อมในเรื่องเกตเวย์บริการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต
เพราะหากกระบวนการนี้ขาดช่วงไป ห่วงโซ่ของธุรกิจก็ไม่สามารถเดินไปได้
บริการบีทูซี เกตเวย์ของธนาคารเอเชีย จะรองรับธุรกรรมของการเรียกเก็บเงิน
และจ่ายเงินให้กับลูกค้า ที่ใช้บริการ ทำได้ตั้งแต่การใช้บัตร เครดิตผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต
และสำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตสามารถชำระด้วยบริการ ไดเร็กต์ เดบิต ที่จะหักจากบัญชีเงินฝาก
ที่มีกับธนาคาร
ทันที ที่ลูกค้าชำระเงินค่าสินค้า และบริการ คำสั่งเหล่านี้จะวิ่งมา ที่เว็บไซต์ของธนาคารเอเชีย
boa.co.th นั่นหมายความว่า ร้านค้าบนอินเทอร์ เน็ตเหล่านี้จะไม่เห็นกระบวนการชำระเงินของธนาคาร
ที่จะเป็นเรื่องระหว่างธนาคาร และลูกค้า ที่ชำระเงินโดยตรง
ลูกค้าทำธุรกิจบีทูซี เกือบ 10 แห่ง ที่ธนาคารเอเชียเข้าไปรับผิดชอบในเรื่องของระบบการชำระเงิน
ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ที่ขายสินค้า ชำระค่าโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ จ่ายเงินค่าจองตั๋วหนัง
ซื้อหนังสือ จ่ายค่าบริการอินเทอร์เน็ต
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะยังไม่ได้ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าในเรื่องรายได้จากการลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้า และทรานแซกชั่น ที่ยังมีอยู่จำกัด หรือแม้กระทั่งการลดต้น
ทุนของธนาคาร ที่ยังไม่ชัดเจน เพราะการลงทุน ที่คุ้มค่าจริงๆ จำเป็นที่ธนาคารต้องมีวอลุ่มมากกว่านี้
แต่พลังของอินเทอร์เน็ต ที่จะแพร่กระจายบริการออกไปอย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น
โทรทัศน์ หรือแม้แต่ตุ๊กตา ที่เป็นอุปกรณ์ปลาย ทางเป็นสิ่งที่ธนาคารเองก็ไม่อาจปฏิเสธการมาของเทคโนโลยีนี้ได้
ผลที่ได้รับจากเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตนี้ ยังนำมา ซึ่งฐานข้อมูลของลูกค้า
เป็นช่องทางเดียว ที่นอกจากจะขจัดข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ได้แล้ว
เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต ยังสร้างความใกล้ชิด ที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความต้องการของลูกค้า
ที่จะส่งผลไปถึงการวิเคราะห์สินเชื่อ ที่แม่นยำมากกว่าเก่า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
ที่ธนาคารเอเชียมองว่ามีค่ามากกว่าผลตอบรับในเรื่องรายได้ ที่เป็นรูปธรรมในเวลาอันสั้น
เพราะสิ่งที่ธนาคาร จะได้จากการค้าขายบนอีคอมเมิร์ซ ก็คือ การล่วง รู้ถึงข้อมูลการซื้อขาย
ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ที่เกิดขึ้นจริง เป็นสิ่งที่โลกธุรกิจใบเก่าไม่มี
"เมื่อก่อนธนาคารต้องดูตามตัวเลข ที่เขาให้มา แต่งตัวเลขบ้าง
แต่ถ้าค้าขายบนอีคอมเมิร์ซ เรารู้ทันที บางทีเขาไม่ต้องมาขอสินเชื่อ เราก็เสนอ
ให้เขาเอง เพราะเราจะรู้ได้เลยว่า ธุรกิจเขาเติบโต กำลังขายดี ก็น่าจะขยายโรงงาน
ซื้อเครื่องจักร" วิลาวรรณเล่า
เป็นพลังของเทคโนโลยี ที่ธนาคารปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะการเป็นรีเทลแบงกิ้ง
ที่ต้องเข้าถึง ผู้บริโภคอย่างแพร่หลายมากที่สุดในเวลานี้