อนุตร จาติกวิณช "คนหนุ่มไฟแรงสูง"


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

เขาได้ฉายาว่าเป็น "หนุ่มไฟแรงสูง" เนื่องจากตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในปัจจุบันล้วนแต่เกี่ยวข้องอยู่กับ พลังงานไฟฟ‰า ประกอบกับเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง พลังการทำงานยังลุกโชน พร้อมที่จะลุยเพื่อความสำเร็จได้ทุกเมื่อ

อนุตร จาติกวณิช เป็นบุตรชาย คนที่ 2 ของ ไกรศรี จาติกวณิช อดีตประธานกรรมการบริษัท ผาแดง อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ผู้เป็นน้องชายของเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ที่ยังคงอยู่ ในแวดวงของอุตสาหกรรมไฟฟ้า

พี่ชายคนเดียวของอนุตรคือ กรณ์ คนเดียวกับผู้ก่อตั้งบล.เจ เอฟ ธนาคม และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทดังกล่าว ดูเหมือนว่าการทำ งานของสองพี่น้องจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หนุ่มไฟแรงสูงคนนี้จากแผ่นดินไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้ง แต่ชั้นประถมศึกษาจนกระทั่งจบชั้นมัธยม จากนั้นย้ายไปศึกษาต่อปริญญา ตรีทางด้าน Material Science and Engineering ณ มหาวิทยาลัยลีห์ฮาย มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา และ เริ่มต้นชีวิตการทำงานครั้งแรกกับบริษัท CS First Boston (สิงคโปร์) (ในช่วงปี 2535-2537) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และบริษัท ผลิต ไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) ในโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ครอบ คลุมถึงการขายทรัพย์สินของโรงไฟฟ้า ระยองและโรงไฟฟ้าขนอมของ EGAT ให้แก่ EGCO รวมไปถึงการเจรจาการ ซื้อขายไฟฟ้า การโอนย้ายทรัพย์สิน การคิดคำนวณค่าไฟฟ้า การบริหารความเสี่ยง และการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ โดยเขาเป็นหนึ่งในทีมงานของที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว เพียงแค่งานแรกของเขาก็มีความ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าแล้วต่อ จากนั้น เขาได้โดดเข้ามาทำงานในอุต-สาหกรรมไฟฟ้าอย่างเต็มตัว หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดทางให้เอกชนเข้า ไปมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าป้อนให้แก่ EGAT แบ่งเป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอิสระ (IPP) โดยเข้า ร่วมงานกับบริษัท เหมราช จำกัด (มหาชน) ของสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เพื่อพัฒนาบริษัท พลังงานอุตสาหกรรม หรือ IP ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

อนุตรมีความสนใจในเรื่องของการทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีประสบการณ์จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแปรรูป รัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้าฯในครั้งนั้น ทำ ให้เขาได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการของบริษัท เหมราช ให้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่มีหน้าที่กำกับดูแล การดำเนิน งานของ IP นอกจากนั้น เขายังมีตำแหน่งควบ อีก 3 ตำแหน่งคือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอชเพาเวอร์ จำกัด, กรรมการผู้จัดการบริษัท บ่อวิน เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเขาเป็นผู้เข้าร่วมประมูลโครงการนี้ และได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้าฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าว รวมทั้งตำแหน่งกรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท เหมราชพัฒนา ที่ดิน จำกัด (มหาชน)

เพียงระยะเวลา 5 ปี เขามีโอกาส ได้สวมหมวกถึง 4 ใบ ในหน้าที่รับผิดชอบที่ดูเหมือนจะเกินตัว แต่ไม่เกินความสามารถ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งสำหรับคนวัยเพียง 33 อย่างเขา ซึ่ง หลายๆ คนอาจจะเพียงแค่เริ่มต้นเท่า นั้นเอง

ภารกิจเร่งด่วนของ "H-Power" ที่อนุตรรีบสะสางให้เสร็จสิ้นมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน อันดับแรกคือ เพิ่มประสิทธิภาพ และความไว้วางใจให้สูงสุดแก่บริษัทพลังงานอุตสาหกรรม หรือ Industrial Power (IP) ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิต ไฟฟ้าอยู่ที่ 120 MW โดยอนุตรได้ก่อตั้งบริษัท Operation Power Ser vices (OPS) ขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรและกลไกการทำงานของโรงไฟฟ้าให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง "เราต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้"

เรื่องที่ 2 คือ การพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าบ่อวิน ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการการหาเงินกู้ "จากสถานการณ์ เศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เราหาเงินได้ ยากมาก ซึ่งเราต้องการความสนับสนุน ของสถาบันการเงินภาครัฐในการจัดหา เงินกู้และค้ำประกันโครงการของเราใน ลักษณะ Project Finance" นั่นคือสิ่งที่เขาต้องการความร่วมมือจากภาครัฐ แต่กระนั้น เขาไม่ได้กังวลใจมากนักเกี่ยวกับการหาเงินของโครงการนี้ เนื่อง จากเขามั่นใจว่าโรงไฟฟ้าบ่อวิน เป็นโครงการที่ดีและไม่มีปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งเขาเชื่อมั่นว่าผู้ถือหุ้นของโครงการนี้ อันประกอบด้วยเหมราช และ Tractebel ที่ถือผ่าน H-Power จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อทำให้โครงการนี้สำเร็จ ซึ่งเขาคาดว่าจะหาเงินกู้ได้ครบภายในปีนี้ และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันที

เรื่องที่ 3 คือ การเข้าไปซื้อกิจการ ของโรงไฟฟ้าอื่นทั้งที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ แล้ว รวมทั้งที่กำลังใกล้จะเสร็จ "ผมเชื่อว่า ในอนาคตบรรดาบริษัทต่างๆใน อุตสาหกรรมไฟฟ้าที่อ่อนแอของไทยจะต้องมีการรวมกิจการกัน" ในขณะที่เขายืนยันความแข็งแกร่งของบริษัท H-POWER ว่ายังคงความแข็งแกร่งและความได้เปรียบไว้ได้อย่างแน่นอน และเรื่องสุดท้าย บริษัทฯได้ลงทุน ในการดำเนินการผลิตน้ำที่ปราศจาก แร่ธาตุ (Demineralized water) หรือน้ำดิบที่ใช้ในโรงงานอุต-สาหกรรม โดยก่อตั้งบริษัท Industrial Water Supply ขึ้นที่มาบตาพุด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยน้ำดิบที่ผลิตได้จะนำมาใช้เองและจำหน่าย แก่โรงงานอื่นในและนอกนิคมฯ ด้วย สำหรับมุมมองของชายหนุ่มผู้นี้ต่ออนาคตของผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเขามีความเห็นว่า ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าลดลงอย่างมาก ในขณะที่ EGAT มีโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่าง การก่อสร้าง รวมทั้งยังมีไฟฟ้าที่ EGAT ทำสัญญาซื้อขายจากโรงไฟฟ้า IPP อีก ด้วย ซึ่งหากโครงการ IPP ทุกรายเสร็จสมบูรณ์ ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าล้นเกินความต้องการไปอีก 4-5 ปีข้าง หน้า ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นในระหว่างนั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากมีโครงการ IPP บางโครงการไม่สำเร็จ หรือเศรษฐกิจอาจจะฟื้นตัวเร็ว กว่าที่คิด อาจจำเป็นที่จะต้องมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก และต้องใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเวลานานกว่าจะได้ทุนคืน ดังนั้นโอกาสการเกิดโครงการใหม่ๆ อาจจะทอด เวลายาวออกไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งอนุตรคิดว่าเป็นผลดีต่อ H-Power ในการที่จะทำให้บริษัทบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้และเท่าที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่า "บริษัทที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้ได้จะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้ จริงในอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินด้วย ส่วนบริษัทที่แห่เข้ามาทำอุตสาหกรรมนี้เพราะแฟชั่นกำลังได้รับบทเรียนว่าไม่สามารถอยู่รอดได้ ท้ายสุดต้องขายกิจการให้แก่บริษัทที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเทคนิคและการเงินมากกว่าไป"

ถนนสายนี้ของอนุตรยังอีกยาวไกล ฝันที่เขาต้องการเห็นคือ "การที่บริษัทของเขาเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้า เอกชนที่ดีที่สุดในประเทศ" เป็นหน้าที่ ของเราที่จะต้องเฝ้ามองว่า เขาจะทำสำเร็จหรือไม่... เรื่องราวการบริหารธุรกิจโรงไฟฟ้าของอนุตร จาติกวณิช เคยตีพิมพ์ใน"ผู้จัดการ" ฉบับ 187 เมษ. 2542



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.