หลังจากพยายามต่อสู้เพื่อให้บริษัทน้ำมันที่ได้ชื่อว่าเป็นของคนไทย 100%
มาพักใหญ่ ในที่สุด โสภณ สุภาพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากฯ ปิโตรเลียม
(BPC) ก็ประกาศลาออกจาก ตำแหน่งเมื่อ 14 มิถุนายน 2542 โดยมีผลอีก 2 เดือนครึ่ง
(1 กันยายน 2542) สาเหตุที่โสภณ จำต้องลาออกครั้งนี้เกิดจากความขัดแย้งด้านแนวความคิดระหว่างเขาที่ต้องการขายหุ้นบางจากฯ
ให้กับประชาชนคนไทย ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี หลังจากบริษัทเสนอขายหุ้นออกไปให้กับประชาชนในสัดส่วน
32% ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคนไทย ที่แสดงความประสงค์ เป็นเจ้าของหุ้นบางจากฯกว่า
2.3 แสนคน (จากการสำรวจ) มากกว่าที่รัฐบาลต้องการขายถึง 3 เท่า ตัว แต่บริษัทไม่สามารถดำเนินการได้
เพราะเจออุปสรรคจากผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำที่มีอำนาจการตัดสินใจ
คือ กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ที่มีความ
เห็นแตกต่างจากโสภณว่าหุ้นบางจาก "ควรขายให้กับนักลงทุนชาติ" เพราะ ได้ราคาและจะเป็นประโยชน์ต่อบางจากฯ
ดีกว่าขายให้กับคนไทย
"ผมขอโทษแทนประชาชนคน ไทยที่ไม่สามารถผลักดันให้คนไทยเป็นเจ้าของหุ้นบางจากฯ
ได้ในเรื่องของบางจากฯ ถ้ารัฐยังตั้งใจที่จะให้ทำงานที่จะมีคุณค่าต่อประชาชน
สังคมไทย ผมไม่ได้มีปัญหาและยินดีจะร่วมมือ และช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน" โสภณ
กล่าว
อันที่จริง แม้เป็นธุรกิจที่พยายาม ทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสังคมตามแนวคิดของโสภณ
บางจากฯ ก็เป็นกิจการที่มีผลการดำเนินงานในระดับใช้ได้มาโดยตลอด กล่าวคือมียอด
ขายและกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นทุกปี มาเริ่มสะดุดเอาจริงๆ ก็ในปี 2540 ที่แม้จะมีกำไรจากการดำเนินงาน
แต่มาเจอผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน
จำนวน 6,788.45 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ตัดขาดทุนทั้งจำนวนในปีดังกล่าว ทำ
ให้ในปีนั้นมีการขาดทุนสุทธิ 3,784.50 ล้านบาท ครั้นในปี 2541 บริษัทเริ่มมียอดขายลดลง
แต่ยังคงรักษากำไรจากการดำเนินงานไว้ได้ 93 ล้านบาท จ่ายภาษี ไป 33 ล้านบาท
เหลือเป็นกำไรสุทธิใน ปี 2541 จำนวน 59.33 ล้านบาท ทว่า ยังมีการขาดทุนสะสมจำนวน
1,828.25 ล้านบาท เป็นไปได้ว่าในปี 2542 นี้ยอดขาย จะลดลงอีกตามภาวะเศรษฐกิจ
และยัง ไมรู้ว่าทิศทางการปรับตัวของบริษัท จะเดินไปในแนวทางใด เนื่องจากยังวุ่น
วายอยู่ในเรื่องที่ผู้ถือหุ้นต้องการขายหุ้นออกให้ต่างชาติ แต่ผู้บริหารต้อง
การขายให้คนไทย ซึ่งแม้จะมีการประนีประนอมระดับหนึ่งคือทางการเห็นชอบให้ขายให้คนไทยครึ่งหนึ่งก่อน
แต่ในรายละเอียด การปฏิบัติงานยังล่าช้า ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ซึ่ง
รังแต่จะก่อให้เกิดผลเสียแก่บริษัท อาจกล่าวได้ว่าการประกาศลาออกของโสภณถือว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิด
การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่บริษัทเร็วขึ้น!!
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังการลาออกครั้งนี้ก็เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างโสภณกับอำนาจรัฐ
ที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น อย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ โสภณ
กับ ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ สพช.เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่าฝ่ายหนึ่งต้องการเห็นบางจากฯ
เป็นของคนไทย ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองผลประโยชน์ตอบแทนที่ใช้เม็ดเงินจำนวนมาก
ด้วยการพยายามนำหุ้นบางจากฯ ขายให้กับนักลงทุนต่างชาติ
"รัฐบาลควรเร่งตัดสินใจว่าจะขายหุ้นบางจากฯ อย่างไร ผมขอยืนยัน ว่าบริษัทแห่งนี้ควรเป็นของคนไทย
เพราะตลอด 14 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีฐานะ มั่นคงและบริหารด้วยคนไทย" โสภณ กล่าวถึงจุดยืนของตนเอง
โสภณ เป็นชาวจังหวัดราชบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล ศึกษาต่อที่เตรียมอุดมศึกษา
และจบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าทำงานด้านน้ำมันครั้ง
แรกที่บริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศ ไทย จำกัด เมื่อปี 2512 จากฝ่ายก่อสร้างและย้ายไปฝ่ายวางแนวโรงกลั่น
สั่งสมประสบการณ์ได้ 13 ปี ลาออกไปทำงานที่การปิโตรเลียมแห่งประ-เทศไทย (ปตท.)
ตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะมาเป็นแม่ทัพบางจากฯ คือ รองผู้ว่า การ ปตท.
ปี 2538 ที่โสภณ เข้ามาในอาณา จักรบางจากฯ ตามคำบัญชาของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
อดีตนายกรัฐมนตรี เขาก็ได้นำพาบางจากฯ ให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าจะทุลัก ทุเลบ้าง แต่ก็เจริญก้าวไปข้างหน้า และ การที่พล.อ.เปรม เรียกใช้โสภณ
อย่างสม่ำเสมอทำให้โสภณกลายเป็น "เด็กป๋า" คนหนึ่ง
การเข้าทำงานในบางจากฯ นอก จากโสภณจะให้ความสำคัญกับผลกำไร สูงสุดอันเป็นจุดมุ่งหมายขององค์กรแล้ว
งานด้านสังคมเขาก็ให้ความสำคัญ ด้วย ในช่วงแรกๆ แนวความคิดของโสภณ ไม่ค่อยได้รับการตอบรับเท่าที่
ควร ซึ่งเขาก็ยอมรับว่า "เราทำงานบริษัทใหญ่ๆ อย่างบางจากฯ มีปัญหา 2 อย่าง
คือ ข้างในกับข้างนอก ปัญหา ที่ทำให้กังวลที่กดดันเรา ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต
พวกวัตถุมันกดดันไม่ได้ แต่โชคดีที่คนบางจากฯ น่ารัก แต่มีความกดดัน จากข้างนอกแต่ก็รู้เท่าทัน
เมื่อก่อนก็นำมาคิด ผลสุดท้ายก็ต้องแก้ไขและพยายามควบคุมหลังจากนั้นเราก็จะสามารถที่จะกันมันตั้งแต่แรกไม่ให้เข้ามา"
หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2542 คาดกันว่าจะไม่มี โสภณ ในภาพของนักธุรกิจอีกต่อไป
แต่จะเห็นในภาพของ นักพัฒนาชุมชนที่เขารักและเพียบพร้อมด้วยแนวความคิด