กรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีคนนอกคนล่าสุด


นิตยสารผู้จัดการ( สิงหาคม 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

ทันทีที่ประกาศ เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในโควตาพรรคชาติพัฒนา ก็เรียกเสียงวิจารณ์ดังกึกก้องทีเดียว

เพราะเหตุว่าเขาเป็นนักธุรกิจ และเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ส.ส.

กรพจน์ อัศวินวิจิตร เป็นวุฒิสมาชิกที่หนุ่มที่สุด ปัจจุบันเขามีอายุ 44 ปี ผ่านประสบการณ์ทางธุรกิจอย่างโชกโชนคนหนึ่ง ความโชกโชนของเขาเป็นต้นธาร "ของการตีความทางการเมือง" ได้อย่างมีสีสันทีเดียว

พื้นฐานธุรกิจครอบครัวดั้ง เดิมก็คือการค้าส่งออกสินค้าข้าวและข้าวโพด (อ่านเรื่องกรพจน์ A YONG DEAL MAKER ประกอบ) และเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของตำนานความสำเร็จ และมีสีสันนั้น จนมาถึงการเริ่มต้นของธุรกิจยุคใหม่

ยุคของการเติบโตของตลาดทุนที่มีช่วงสั้นๆ เพียง 10 ปีที่ผ่านมา เหมือน "การก่อปราสาททราย" เขาก็คือคนหนึ่งรวมอยู่ด้วย

เขาเริ่มต้นด้วยการสร้างพันธมิตรธุรกิจ หลังจากประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการมีธุรกิจประกัน ชีวิตและธนาคาร ภายใต้ชื่อว่า ซีจีเอ็น

ซี (ชินเวส สารสาส) จี (กร-พจน์) เอ็น (ณรงค์ชัย อัครเศรณี)

ซีจีเอ็น แม้จะเป็นชื่อกิจการเงินทุนเกิดใหม่ในปี 2530 แต่ในช่วง ปี 2532 ในยุครัฐบาลรักษาความสงบ เรียบร้อย โดยความร่วมมือของคนหนุ่มสามคน มีความหมายมากโดย เฉพาะต่อกลุ่มจีเอฟ ซึ่งถือเป็นช่วงที่กำลังโดดเด่นต่อเนื่อง หลังจากที่ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ภายในกิจ การเอง รวมทั้งการร่วมทุนกับต่างประเทศ

ยุทธวิธีจากนั้นของพวกเขา ก็คือการเข้าถึงอำนาจรัฐ เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้มแข็งขึ้น

ชินเวส แห่งกลุ่มจีเอฟ ตอนนั้นมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีคลังในรัฐบาลสุจินดา-อานันท์ 1-สุธี สิงห์เสน่ห์ ซึ่งในช่วงหลังรัฐบาลพล.อ.เปรม จึงถูกเชิญมาเป็นประธาน บริษัทร่วมทุนในกลุ่มจีเอฟบริษัทหนึ่ง มาแล้ว

ดร.ณรงค์ชัย เข้ามาอยู่กลุ่มจีเอฟ ในฐานะผู้มีความคิดความอ่านในระดับเดียวกัน และใกล้เคียงกันกับชินเวส ดร.ณรงค์ชัย มีความสัมพันธ์ที่ดีกับดร.เสนาะ อูนากูล ว่ากันว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณหญิงมาลาทิพย์ โอสถานุเคราะห์ แม่ยายของชินเวสด้วย ดังนั้น ดร.เสนาะจึงถูกเชิญไปเป็นประธานกลุ่มพรีเมียร์ช่วงหนึ่ง

ต่อมาดร.เสนาะ ดำรงตำ-แหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐ กิจในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 1 เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง งานเศรษฐกิจ เมื่อล้มป่วยลง ดร.สุธี ก็รักษาการในตำแหน่งสำคัญนี้ต่อไป

ณรงค์ชัย ในที่สุดก็มีตำแหน่ง บริหารอย่างเต็มที่ในกลุ่มจีเอฟในฐานะประธานกรรมการบริหาร ส่วนชินเวส และกรพจน์ก็ค่อยๆ ถอยไปอยู่หลังฉาก

ส่วนกรพจน์ อัศวินวิจิตร สมาชิกวุฒิสภา มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ศุภชัย พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ทหารไทยในขณะนั้น ในฐานะเคยเป็นกรรมการคนหนึ่งในทีเอฟไลฟ์ (ปัจจุบัน พรูเดนเชี่ยลที-เอฟไลฟ์) ของเขา ยิ่งกว่านั้นประธาน ที่ปรึกษารสช.- บุญชนะ อัตถากร ก็คือประธานทีเอฟไลฟ์ในขณะนั้นด้วย ว่ากันตามทฤษฎีสายสัมพันธ์ กลุ่มคนหนุ่มทั้งสามและธุรกิจของเขา มีสายสัมพันธ์ที่ดีทั้งทหาร และรัฐ-บาลชุดนั้น ซึ่งถือเป็นฐานที่มั่นคง ต่อ เนื่องถึงผู้มีอำนาจชุดต่อๆ มาไม่ขาดสาย

จากนั้นมาอิทธิพลของกลุ่มนี้สามารถสร้างสีสันในวงการมากทีเดียว

กลุ่มจีเอฟสามารถแหวกวงล้อมเข้าชนะประมูล เพื่อบริหารบริษัท เงินทุนสินวัฒนาและเอราวัณทรัสต์ ในกิจการของโครงการ 4 เมษา ที่คาราคาซังกันมานาน ทำให้กลุ่มจีเอฟ ขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์คาราคาซังต่อมาถึงสองปี ด้วยการค้นพบว่ากิจการทั้งสองมีหนี้สินอยู่มาก ประกอบกับทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดิน ก็อยู่ในภาวะถดถอย ในที่สุดจีเอฟต้องตัดสินใจถอนตัวออกไป ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่ามีเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่า ต่อมาก็สามารถไดัรับอนุมัติตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้น โดยมีความกระตือรือร้นในการดำเนินงานมากกว่ารายอื่นๆ แต่แล้วต้องมาเผชิญเหตุการณ์ความยากลำบากของกิจการ หลักเสียก่อน

จนถึงปลายเดือนมิถุนายน 2540 กลุ่มไฟแนนซ์รุ่นแรกที่ถูกปิดกิจการ ก็มีจีเอฟอยู่ด้วย แต่พวกเขาดูเหมือนมีความหวังจนถึงนาทีสุดท้าย ของวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ในที่สุดทั้งจีเอฟและจีซีเอ็น ก็ต้องถูกปิดกิจการเป็นการถาวร

ชินเวส ต้องกลับไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่อีกครั้งหนึ่งในธุรกิจประกัน ขณะที่ณรงค์ชัยก็กำลังเผชิญปัญหาคดีความด้วยข้อหาการบริหารไม่ชอบ มาพากลในจีเอฟ 14 สิงหาคม 2541 สหธนาคาร ก็ถูกทางการยึด ลดทุนเหลือหุ้นละ 1 สตางค์ เข้าไปร่วมกลุ่มกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา ต่อมาก็กลายเป็นไทยธนาคาร กรพจน์ อัศวินวิจิตร เลยต้องพ้นตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการไปด้วย

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะต้องมีชื่อในกลุ่มลูกหนี้มีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสถานการณ์ยามนี้

กรพจน์ อัศวินวิจิตร กลับเข้าสู่ธุรกิจดั้งเดิมของเขา - ค้าข้าว ซึ่งมีกิจกรรมไม่ตื่นเต้นมากสำหรับเขาแล้ว แต่ด้วยความที่เขาสะสมสายสัมพันธ์บารมีมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเส้นทางชีวิตของเขาแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่าสิ่งเหล่านี้ ก็คือโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

ซึ่งไมรู้ว่าเป็นการตัดสินใจผิดอีกครั้งหรือไม่ ในการเข้าสู่วงการการเมืองเต็มตัวครั้งนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.