คลื่นยักษ์เศรษฐกิจได้พัดกวาด เอาบรรดาสถาบันการเงินเล็กใหญ่ล้มหายตายจากไปจำนวนมากคง
ไว้แต่สถาบันการเงินที่มีความ แข็ง แกร่งมั่นคงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความแข็งแกร่งในด้านโครงสร้างเงินทุน
ซึ่งหมายถึงการดึงต่างชาติเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการเงินไทยมากขึ้น นั่นเอง!!!
ปลายปี 2540 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) ประกาศแยกธุรกิจหลักทรัพย์กับธุรกิจเงินทุนออกจากกัน
แต่หลังจากนั้นไม่ทันข้ามปี ธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นบริษัทแม่ก็ซื้อหุ้นกลับคืนทั้งหมด
ทำให้บล.และบง.ภัทรธนกิจหมดความเป็นมหาชน และต่อมาธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศขายหุ้นจำนวน
51% ของบล.ภัทรธนกิจให้แก่บริษัท เมอร์ริลลินช์ เป็นที่มาของการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างธุรกิจและการทำงานของชาวภัทรฯ
ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม 2542 เริ่มตั้งแต่การมี
CEO 2 คน คือมร.ไมเคิล อันซ์เวิร์ทส ตัวแทนจากเมอร์ริลลินช์ และวีรวัฒน์
ชุติเชษฐพงศ์ ตัวแทนฝ่ายไทย นอกจากนั้นโครงสร้างการทำงานยังมีลักษณะที่เข้มงวดชนิดที่วีรวัฒน์เรียกว่าเป็น
"Unique Structure" กล่าวคือ จากเดิมที่ภัทรธนกิจเคยเป็นองค์กรที่มีการ บริหารงานแบบครอบครัว
ได้เปลี่ยนเป็นการบริหารงานแบบมืออาชีพที่เป็น ระบบมากขึ้น โดยมีการแบ่งโครงสร้าง
ของธุรกิจออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วย สายงานค้าหลักทรัพย์และค้าตราสารหนี้
สายงานบริหารกองทุน สายงานวาณิชธนกิจ สายงานจัดการลงทุน สายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนส่วนบุคคล
สายงานวิจัยและวางแผน และสายงานสนับสนุน โดยเจ้าหน้าที่ของแต่ละสายงานจะขึ้นตรงต่อ
Global Head และต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติการไปยัง 2 ส่วนด้วยกันคือ Product
Manager และ Regional Manager ซึ่งระบบ นี้เรียกว่า "Dual Matrix Reporting"
เป็นระบบที่มีการควบคุมดูแลอย่างรัด กุมตามมาตรฐานเดียวกับหน่วยบริษัท ภิบาล
หรือ Corporate Governance ที่ใช้กับเมอร์ริลลินช์ที่นิวยอร์ก โดยนำมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ
"การถือหุ้นมากถึง 51% ก็มีความหมายมากอย่างนี้แหละ ซึ่งหากถือเพียง 49%
ผมคิดว่า การควบคุมดูแลคงไม่มากถึงขนาดนี้ ดังนั้นเมื่อถือ 51% ย่อมหมายความว่า
ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นคือชื่อเสียงของ เมอร์ริลลินช์" เป็นความเห็นของวีรวัฒน์
CEO ฝั่งไทย
"ทำไมต้องเป็นเมอร์ริลลินช์" เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ วีรวัฒน์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการตอบคำถามนี้ว่า
"เหตุผลที่เราร่วมธุรกิจกับเมอร์ริลลินช์เพราะ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราเริ่มคิดว่า
เราต้องสร้างตัวเองให้สามารถแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคตให้ได้ ซึ่งเราเห็นว่าไม่มีทาง
เป็นไปได้เลย หากเรายังทำธุรกิจโดยลำพัง เหมือนที่เราเคยทำเมื่อ 4-5 ปีก่อน
และจากกลุ่มลูกค้าที่มีลักษณะที่ซับซ้อนและมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งลูกค้ามีโอกาสที่จะเจรจาได้
ทั้งบริษัทในท้องถิ่นเองหรือบริษัทในต่างประเทศ เนื่องจากมีอัตราค่าธรรม
เนียมที่ไม่ห่างกันมากนัก ดังนั้น ทำไมเราไม่สร้างตัวเราให้มีความเป็นสากลทัดเทียมบริษัทในต่างชาติ
และนี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องไล่ตามให้ทันคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกด้วยตัวเราเอง
แต่คงต้องใช้เวลาเป็น 100 ปีกว่าจะสำเร็จ ในขณะที่เมอร์ริลลินช์มีอายุมา
150 ปีแล้ว นั่นคือ สาเหตุที่เราเริ่มมององค์กรระดับโลกที่อยากเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย
ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษา ธุรกิจในระดับสากลไว้ ซึ่งเราเห็นว่า เมอร์ริลลินช์มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน
ยิ่งกว่านั้นยังมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากองค์กรอื่น เราจึงเริ่มต้นการเจรจากับเขา"
จากความพร้อมของเมอร์ริล ลินช์ภัทรในวันนี้ คู่ต่อสู้ที่สำคัญของเขาจึงไม่ใช่แค่โบรกเกอร์ในท้องถิ่นเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างเช่น โกลด์แมนแซค, มอร์แกน สแตนเลย์,
เอบีเอ็นแอมโร, ซาโลมอนอีกด้วย
"เป้าหมายที่เราต้องการไปให้ถึงคือ การเป็นบริษัทหลักทรัพย์อันดับ 1 หรือ
2 ของประเทศในเรื่องของคุณ ภาพและมูลค่าส่วนแบ่งตลาด ซึ่งเราต้องปรับปรุงคุณภาพของเราก่อน
เพราะเราเชื่อว่า เมื่อคุณภาพดีแล้ว ส่วนแบ่งทางการตลาดจะตามมา" CEO คนไทยกล่าว
ล่าสุด เมอร์ริลลินช์ภัทรได้รับการจัดอันดับโบรกเกอร์ให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ดีเด่น
จากนิตยสาร Euromoney ด้วยเหตุผลของการเข้ามาถือหุ้นของเมอร์ริลลินช์ จนทำให้เมอร์ริลลินช์ภัทรกลาย
เป็นบริษัทหลักทรัพย์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ในด้านความสามารถทำกำไรได้อย่างงดงาม
เมื่อตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
สำหรับบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละสายงานเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันนั้น
วีรวัฒน์ ชี้แจงว่า สายงานค้าหลักทรัพย์และค้าตราสารหนี้ แบ่งเป็นฝ่าย Equity
Capital Market (ECM) เน้นเรื่องการทำ IPO, Equity Placement และการเพิ่มทุน,
ฝ่ายค้าหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งปัจจุบันเมอร์ริลลินช์ภัทรมีส่วนแบ่งตลาดด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ที่
5-6% และมีเป้าหมายที่ 10% ในปีนี้ และ ฝ่าย Debt Capital Market หรือตลาดหนี้ที่จะเน้นในเรื่องกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการต่างๆ
ทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนสายงานวาณิชธนกิจ หรือที่เรียกว่า Corporate Finance จะเน้นที่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่ปรึกษาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาในการทำ M&A
สายงาน International Private Client Group (IPCG) ให้ บริการด้านการเป็นที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนส่วนบุคคล
ซึ่งดูเหมือนจะมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของสายงานบริหารกองทุน (Asset
Management) ที่แบ่งเป็นการบริหารกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) และการบริหารกอง
ทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ซึ่งวีรวัตน์ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในเรื่องการบริหารกองทุนส่วนบุคคลว่า
"จากโปรดักส์ที่ออกมาสู่ตลาด มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่มีเงินอาจจะรู้สึกลำบากในการตัดสินใจลงทุน
และจะพิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุนอย่างไร เราจึงทำหน้าที่เป็นเสมือนหนึ่งเจ้า
ของเม็ดเงิน ดังนั้นเราต้องมีการคิดอย่างรอบคอบมากที่สุดว่า เราจะสามารถรับความเสี่ยงได้เท่าไร
และสามารถทำกำไรสูงสุดได้เท่าไร" ซึ่งที่ผ่านมากองทุนส่วนบุคคลของเมอร์ริล
ลินช์มีอัตราผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ
"ลูกค้าของเราพอใจการดำเนิน งานของเรามาก เพราะพวกเขาได้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอัตราความเสี่ยงในสินทรัพย์
ที่ลงทุนไป แม้ในบางช่วงที่ตลาดตก แต่มูลค่าเงินลงทุนเรากลับไม่ลดลง และเมื่อตลาดดีดตัวกลับ
เราก็ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ตามปกติ
แต่เป็นเพราะผู้จัดการกองทุนของเรามีความสามารถมากพอที่จะทำได้นั่นเอง เพราะว่าเรารู้จักตลาดดีพอ
และสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนของตลาดได้อย่างดี ซึ่งคนที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีแบ็คอัพที่แข็งแรงในเรื่องของงานวิจัยและการวิเคราะห์หลักทรัพย์
นอกจากนั้น เรายังอนุญาตให้ผู้จัดการกองทุนของเรา สามารถทำการซื้อขายได้ตามลำพังกับโบรกเกอร์รายอื่น
ไม่จำกัดว่าจะต้องซื้อขายผ่านเมอร์ริลลินช์ภัทรเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้เพื่อให้เขาได้ประสบการณ์ในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร
และโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะเป็นเพียงหนึ่งในโบรกเกอร์ไม่กี่รายที่อนุญาตให้ผู้จัดการกองทุนทำอย่างนี้ได้"
วีรวัฒน์เล่าอย่างภูมิใจ
ปัจจุบันเมอร์ริลลินช์ภัทรมีมูลค่ากองทุนส่วนบุคคลประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท
และมีกองทุนที่ บริหารให้กบข.อีกประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งทางการ
ตลาดทั้งหมดประมาณ 26% ซึ่งถือว่ามากที่สุดในปัจจุบัน
มร.อันซเวิร์ทสกล่าวว่า "ตลาด กองทุนส่วนบุคคลมีอนาคตที่ดีมาก เพราะว่าคนมักไม่ค่อยรู้วิธีบริหารเงินอย่างชาญฉลาด
ดังนั้นจึงให้ผู้เชี่ยว ชาญมาบริหารให้ ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง และเราก็มีระบบข้อมูลข่าวสารให้กับผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่นักลงทุน โดยอนุญาตให้เขาเลือกระดับความเสี่ยงเอง ไม่ต้องผลักดันให้เขารับความเสี่ยงที่เขาไม่ต้องการ
ซึ่งเขาจะพอใจในผลตอบแทนที่เขาได้รับ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ผลตอบแทนสูงสุดมักจะขึ้นอยู่กับระดับความ
เสี่ยงที่สูงสุด ซึ่งเราไม่สนับสนุนให้บริหารกองทุนบนความเสี่ยง แต่สนับ
สนุนให้บริหารเม็ดเงินลงทุนที่สามารถ ตรวจสอบได้ เนื่องจากนักลงทุนผู้เป็นเจ้าของเงิน
ไม่ต้องการที่จะสูญเสียเงินของเขาไป ดังนั้นเราต้องพยายามรักษาไว้ให้เขา"
นอกจากนั้นยังมีสายงานที่สำคัญอีกสายงานหนึ่งคือ สายงาน Corporate Strategy
& Research Group หรือสายงานวิจัยและวางแผนที่มีการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ในเชิงลึกได้อย่างทั่วถึง
จากนักวิเคราะห์ที่มีอยู่ทั่วโลกกว่า 6,000 คน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจทั้งหมด
"หน่วยงานที่กล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า เรามีการจัดโครงสร้างธุรกิจใหม่อย่างไร
และในฐานะที่เราเป็นบริษัทท้องถิ่นนั้นเรา มีการรวมส่วนงานทุกอย่างเข้าด้วยกัน
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การทำงานทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานของเมอร์ริลลินช์ทั่วโลก"
วีรวัฒน์ชี้แจง พร้อมทั้งกล่าวถึงนโยบายหลักของเมอร์ริลลินช์ภัทรในวันนี้คือ
"รักษาจุดแข็งในตลาดท้องถิ่นเอาไว้ คือ ความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าและความชำนาญในตลาดในประเทศ
และพัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถนำจุดแข็งของเมอร์ริลลินช์ในระดับโลกในแง่ของความแข็งแกร่ง
ทางด้านเงินทุน ความสามารถในการเข้าถึงตลาดโลก และฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้ได้
ด้วยการพยายามสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด จากความชำนาญทั้งหมดที่มีอยู่"
ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าวที่เพิ่งออกสู่ตลาดคือ การทำหุ้นกู้ LSPV ให้แก่กลุ่มแสงโสมสำหรับ
ดีลนี้วีรวัฒน์คิดว่า เป็นทางเลือกใหม่สำหรับบริษัทต่างๆในการระดมทุนช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ
เนื่อง จากตลาดในช่วงที่ผ่านมาทำให้ระบบเครดิตขาดช่วงไป และการจะระดมทุนหากไม่มีทรัพย์สินมาค้ำประกันแล้ว
(Asset Backed) เป็นเรื่องที่ยากมากแต่เมอร์ริลลินช์ก็ฉกโอกาสทองในช่วงนี้สร้างสรรค์โครงสร้างใหม่ของ
การระดมทุนออกมาได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกบริษัทจะสามารถระดมทุนภายใต้โครงสร้างนี้ได้ทั้งหมด
นอกจากนั้น ยังมีหุ้นกู้ STAR ของเลห์แมนบราเดอร์ซึ่งนำเอาสินเชื่อบ้านที่ซื้อจาก
FRA มาเป็นทรัพย์สินค้ำประกัน
"ผมหวังว่าในอนาคตจะมีโปรดักส์แบบหุ้นกู้ของ STAR นี้ออกมาอีกมาก เพราะตลาดตราสารเช่าซื้อ
(Morgages Backed Market) มีแนวโน้มที่ดีมากในเมืองไทย และมีประโยชน์ในแง่ของการลดต้นทุนการเช่าซื้อได้มาก
และยังช่วยให้บริษัทสามารถซื้อขายตราสารเช่าซื้อได้อย่าง คล่องตัวด้วย ซึ่งเมื่อก่อนการเช่าซื้อจะมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
แต่เมื่อเกิดตราสารประเภทนี้ขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็คงที่ ซึ่งช่วยให้คนสามารถกำ-หนดได้ว่า
จะมีพอร์ตเช่าซื้อที่อัตรา เท่าไร เมื่อดอกเบี้ยขึ้น" มร.อันซ
เวิร์ทสกล่าว นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Stock Borrowing and Lending ที่เมอร์ริลลินช์พยายามผลักดันให้เกิดธุรกรรมนี้อยู่ในเมืองไทย
สำหรับรายได้หลักของเมอร์ริล ลินช์ในปัจจุบันมาจาก 5 สายงานหลัก ด้วยกันคือ
การบริหารกองทุนส่วนบุคคล, การค้าหลักทรัพย์, วาณิช-ธนกิจ, ตลาดหนี้ และการบริหารกองทุน
โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของภัทรจะเป็นคนที่มีเงินมาก ซึ่งหมายความว่า เมอร์ริลลินช์ภัทรมีแหล่งที่มาของรายได้ที่หลากหลายมากกว่าโบรกเกอร์
รายอื่นที่หวังพึ่งพิงรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์
จากนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น
อนาคตของธุรกิจหลักทรัพย์ในเมืองไทยในมุมมองของวีรวัฒน์นั้นจะมีผู้เล่นแบ่งออกเป็น
3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ องค์กรที่มีการร่วมทุนแบบเมอร์ริลลินช์ภัทรที่สามารถทำธุรกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งเขาคิดว่า ในอนาคตจะมีตามมาอีกมาก กลุ่มที่ 2 เรียกว่า Local Operator
คือ มีการดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบเหมือนเมื่อครั้งที่บงล. ภัทรธนกิจเคยทำในอดีต
โดยมีความ สัมพันธ์กับอินเวสเมนต์แบงกิ้งหรือ โบรกเกอร์ต่างชาติ ได้แก่ ธนชาติ
เกียรตินาคิน เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็จะสามารถอยู่รอดได้
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่ม Retail Group คือเน้นธุรกิจแบบ Retail อย่างเดียวมี
Single Product เท่า นั้นซึ่งพวกนี้จะไม่สามารถลงทุนในเรื่องของรีเสิร์ชได้
เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก และพวกนี้จะอิงอยู่กับฐานลูกค้ารายย่อยในประเทศเท่านั้น
ทั้งหมดนี้คือ กลุ่มโบรกเกอร์ 3 กลุ่มที่จะปรากฏตัวขึ้นนับต่อจากนี้ไป
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจไทย ในช่วงครึ่งปีหลัง มร.อันซเวิร์ทสได้เป็นผู้แสดงความเห็นว่า
"เป็นที่เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัว ซึ่งเราหวังว่าการฟื้นตัวนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ดังนั้นเราคิดว่า ช่วงครึ่งปีหลังภาวะตลาดน่าจะดี
ดัชนีน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 600 และเรายังมองเห็นการขยายตัวของกิจการต่างๆ
ที่เริ่มเข้ามาระดมทุนจากตลาดเพิ่มมากขึ้น การซื้อขายตราสารหนี้ก็แอกทีฟมากขึ้น
นับเป็นสัญญาณที่ดี"
สำหรับความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับประเทศไทยในมุมมองของมร.อันซเวิร์ทสคือ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดชะงัก เพราะหากมีการหยุดชะงักอีกครั้ง
นั่นหมาย ถึง กระบวนการปรับโครงสร้างกิจการ การรวมกิจการ จะได้ผลในลักษณะกลวงๆ
มากกว่าที่จะมั่นคงแข็งแกร่งกว่าเดิม และความเสียหายจะทวีมาก ขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน!!!