ที่แนะนำหนังสือประเภทวรรณกรรมรวมเรื่องสั้น ไม่ใช่เพราะนี่คือหนังสือได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมประจำปีนี้
แต่เป็นเพราะหนังสือเล่มนี้ "น่าอ่าน" ตรงประเด็นที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของคน
แต่เป็นคนในความหมายตั้งแต่ถือกำเนิดย่อยลงเป็นพันธุกรรม เชื่อมต่อกับสรรพสิ่งทั้งมีชีวิต
และวัตถุที่คนสร้างขึ้นไล่ไปถึงจักรภพ จักรวาล มีคำถามเชิงปรัชญา แนวคิด
อารมณ์ อาเวค สัญชาตญาณ ฯลฯ
สิ่งที่ วินทร์ เลียววาริณ นำเสนอนั้นน่าสนใจตรงที่เขาเป็นนักโฆษณา สร้างสรรค์งานโฆษณามาช่ำชอง
แต่นำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการ (manage- ment) ในเรื่องของกระบวนวิธี (pro-cess)
การตั้งเป้าหมายโดยวางบริบทความคิดในแง่บทความที่เป็นรูปการ จิตสำนึก และการรับรู้ลังจากนั้นจึงทำการผลิต
(production) ในเชิงวรรณ กรรม สื่อสารกับลูกค้าในที่นี้คือ ผู้อ่าน
ผู้เขียนอุทิศบทแรกด้วยการ "ศึกษาชีวิต" จากสวรรค์กับแผ่นดิน เขามองจากฟากฟ้า
ตั้งคำถามของชีวิตคนบนเครื่องบินที่ร่วมเดินทางเฉพาะกาล แต่มาจากหลากหลายถิ่น
แล้วถามเรื่องจักรวาล และที่มาของชาติพันธุ์รวมทั้งให้ความคิดพรั่งพรูเกี่ยวกับพัฒนาการของจุลชีวิต
การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ ความใฝ่ฝัน การสร้างชาติ ทาส ศิลปะ วัฒนธรรม การหลอมตัว
และการกำเนิดจักรวาลและดวงดาว
เขาชี้ที่มาของสรรพสิ่งว่ามาจากรากเดียวกัน
และถามคำถามเกี่ยวกับ "นักเขียน" ไว้ว่า จำเป็นที่นักเขียนต้องเป็นนักใช้ชีวิตด้วยหรือไม่
บทความคั่นเรื่องสั้นผูกโยงกับบทแรกเหมือนคำนำที่คำถามคือเรื่องสั้น บทความจำแนกออกไปหลายเรื่อง
เช่น สัญชาตญาณเอาตัวรอด, ความกลัวความละอาย, เสรีภาพ, อัตตวิบากกรรม, ชีวิตที่เริ่มต้นใหม่,
การติดยึด, ศาสนาและกฎ, ความแตกต่างของความคิด, ด้านกลับตรงข้ามของหยิน-หยาง,
เผ่าพันธุ์และการแบ่งเขต, รากเหง้าตัวตน, สัตว์, บาปและความรุน แรง, สังคมกับจักรวาล
อย่าได้คิดว่าบทความเหล่านี้ทำ ให้เรื่องสั้นไม่น่าอ่าน หรือกลายเป็นวรรณกรรมเชิงแนวคิดปรัชญา
แต่เรื่องสั้นของวินทร์เป็นการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง จนผมเองซึ่งรู้เห็นรวมทั้งเป็นผู้ตั้งชื่อรางวัลซีไรต์ว่าคือ
"วรรณกรรมสร้างสรรค์" ยอดเยี่ยมในยุคก่อตั้งขณะอยู่การบินไทย
ถือได้ว่ารางวัลนี้วินทร์ทำให้นิยาม ของความหมายเป็นจริงขึ้นมาเนื่องจากเขา
"สร้างสรรค์" รูปแบบและเนื้อหาโดยชัดเจน
ในแง่รูปแบบ ทั้งหมดเป็นวรรณ กรรมประเภทสร้างจิตสำนึกโดยผู้เขียนเน้นโครงสร้างด้านจิตใจของตัวละครเป็นหลักเช่นเรื่อง
"วันเสาร์" ผู้เขียนบังคับ จังหวะการอ่านด้วยการขีดคั่นทุกคำหรือ
ความหมาย ทำให้ผู้อ่านเกิด "จังหวะ" ทาง ความคิดที่ดูจะแยกเดี่ยวแต่สื่อความ
หมายต่อเนื่องได้อย่างน่าพิศวง
ทั้งหมดคือการวางจิตสำนึกของความต้องการทางเพศที่นำจากอารมณ์ไปสู่การเร้าทางอารมณ์
ใน คำให้การ เป็นบันทึกราย งานผู้ต้องหา อ่านสนุกและได้อารมณ์ขัน เพราะเรากำลัง
อ่านสติ ของคนบ้าจำพวกหนึ่ง ซึ่งไม่อาจพูดเท็จได้เพราะเขา ไร้สติของคนในมาตรฐานที่เป็นคนซึ่งจะถูกพิพากษาได้
เรื่องที่ผู้วิจารณ์เห็นว่าสร้างสรรค์ ได้อย่างเด่นมากคือ โลกสามใบของราษฎร์
เอกเทศ เป็นการทับซ้อนของสามัญสำนึก 3 แบบ คือ จิตรกร, ทหาร, แมงดา ซึ่งน่าสนใจที่สุดเพราะสถานที่
เหตุการณ์และจุดไคลแมกซ์อยู่ในมุมเดียวกัน แต่ถูกทับซ้อนเหลื่อมกันเพราะ
ความต่างกันของประสบการณ์, บทบาท, หน้าที่
ลั่นทมโรยกลีบ กล่าวถึงพล็อตง่ายๆ ระหว่างนักเขียนกระทำการเร้าเรื่องเพศกับการทำลายทางเพศ
ที่เหนือชั้นคือ "กระถางชะเนียงริมหน้าต่าง" เป็นวิธีการนำเสนอที่วิเศษมากตรงที่ผู้อ่านสวมบทบาทของคนเป็นอัมพาต
ไล่ความคิด และลุ้นระทึกไปกับความนึกคิดของตัวละครที่พูดไม่ได้
เรื่องนี้เป็นจุดเด่นแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้รูปแบบเหมาะสมมีจุดผูก
เรื่องไปจนถึงปมไคลแมกซ์ที่ถือว่าคลาสสิก ขณะที่ วันกลับบ้าน เป็นเรื่องสั้นซ้อนเรื่องสั้น
แม้จะดูจงใจและมีข้อบกพร่องในด้านวรรณศิลป์ และกระด้าง แต่ก็เป็นรูปแบบใหม่ของงานเขียนที่ทับซ้อนกัน
กามสุขัลลิกานุโยค ปมจิตวิทยาเรื่องเพศและการรักษาพรหมจรรย์ เป็นกระแสสำนึก
ละครจริงในห้องขาวดำ เป็นจินตนาการของนักถ้ำมองมืออาชีพ ผู้เขียนใช้ศิลปจนผู้อ่านถูกตรึงให้เป็นนักถ้ำมองคนถ้ำมองไปในการเดินเรื่อง
ผมไม่ชอบ วรรณกรรม 48 ชั่วโมง ซึ่งอ่านแล้วเป็นวรรณกรรมที่เกิดความรู้สึกว่าผู้เขียนไม่จริงใจในการสร้าง
เนื้อหาเลย ค่อนข้างหยาบและมักง่าย ไม่ มีอะไรเด่นไปกว่าความน่าเบื่อถ้าผู้อ่านไม่เข้าใจเรื่องในวงแคบของตลาดวรรณกรรม
ที่น่าสนใจกว่าและเด่นมากอีกเรื่องคือ "ตุ๊กตา" เรื่องของเด็กที่ปัญญาอ่อนและถูกกระทำชำเรา
ซึ่งถือว่าวินทร์เขียนเรื่องรุนแรงเหล่านี้ได้ "นุ่มนวล" แต่ให้ผลกระทบของพลังวรรณกรรมที่รุนแรง
ได้ผลและงดงามที่ควบไปกับความอัปลักษณ์
นี่แหละเป็นความคิดสร้างสรรค์ เพราะมันยากมากที่รูปการทางวรรณศิลป์ และการเดินเรื่องที่งดงามมากแต่สื่อเนื้อ
หาของความอัปลักษณ์ที่สุด โดยเหตุนี้วินทร์จึงสมควรได้รับคำยกย่องเป็นพิเศษ
แต่ คำสารภาพของช้างเท้าหลัง สะท้อนความเป็นไปของสถานภาพสมรส ของคนทำงานออฟฟิศ
ขณะที่หลายคนคงชอบ เช็งเม้ง แต่ผมว่าเนื้อเรื่องธรรมดาๆ แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงผ่านยุคแต่ไม่มีอะไรเด่น
ผิดกับเรื่องสั้น หมากลางถนน ที่ดูจะธรรมดาและมีคำถามคำตอบทางด้าน จริยธรรมที่เด่นชัด
กล่าวโดยรวมแล้ว ผมมองว่าวินทร์ เลียววาริณ ใช้แนวคิดในการเขียนโดยบรรยายจิตสำนึก
ชี้ให้เห็นความคิดเกี่ยวกับคน บทความดูเหมือนจะล้ำลึก แต่อ่านไปจนจบเล่มก็ไม่ได้ให้
ความลึกซึ้งอะไรนัก เป็นการแสดงออกของโลกทัศน์ทางความคิดของผู้เขียน
สิ่งที่ผมต้องการให้อ่านก็คือ การ อ่านทัศนะของนักเขียนคนหนึ่งต่อชีวิตของสรรพสิ่ง
หลายอย่างพัวพันกับเรื่องเพศ แต่มีปมผูกเชิงจิตวิทยากำกับอยู่
เรื่องสั้นนี้สมควรอย่างยิ่งและเป็นเรื่องสั้นขณะประกวดสมควรได้รับการยกย่อง
จนผู้วิจารณ์แปลกใจว่า "ความคิดสร้างสรรค์" กลับมาอยู่ในหัวใจ ของคณะกรรมการตัดสินได้อย่างน่าทึ่ง
เป็นหนังสือที่มีความคิด น่าจะเหมาะกับนักบริหารและผู้ทำงานมืออาชีพ รุ่นใหม่
และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักวิจารณ์วรรณกรรม
ความหวังจะเห็นพัฒนาการของวรรณกรรมไทย เริ่มเห็นแสงไฟสว่างบ้างแล้วครับ