หากเป็นสมัยก่อนที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองและตลาดหุ้นก็ดีวันดีคืนนั้น
คำพูดที่ว่า "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" เป็นคำพูดคุ้นหู ครั้นเศรษฐกิจฟุบ
คนรวยมีจำนวนลดน้อยลง แน่นอนว่ามีคนหันมาเล่นหวยมากขึ้น
ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตมากนั้น ผลกระทบในแง่ลบที่เกิดตามมาอย่างรุนแรงประการหนึ่งคือการออมภาคครัวเรือน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการออมรวมของประเทศมีแนวโน้มลดลงกว่าเท่าตัว
จนมีขนาดการออมน้อยที่สุดในปัจจุบัน คือสัดส่วนต่อการออมรวมลดลงจากร้อยละ
45.0 ในปี 2530 เหลือร้อยละ 22.4 ในปี 2539 และหากเทียบสัดส่วนของการออมต่อ
GDP ปรากฏว่ามีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 12.4 เหลือร้อยละ 7.6 ในปัจจุบัน
สาเหตุสำคัญที่ตัวเลขนี้เปลี่ยน แปลงไปในทางลบเนื่องมากจากพฤติ กรรมการบริโภคของครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีการบริโภค
เพิ่มขึ้นมากกว่าการออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเลียนแบบการบริโภคสินค้า ฟุ่มเฟือยที่เกินความจำเป็น
ส่วนการออมรวมของประเทศนั้น คณะกรรมการรณรงค์ระดมเงินออม ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขว่ามีสัดส่วนต่อ
GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.3 ในปี 2530 มาเป็นร้อยละ 33.1 ในปี 2539 ซึ่งมีขนาดสูงกว่าหลายประ-เทศ
เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรเลีย
แต่การเพิ่มขึ้นของการออมดังกล่าวก็ยังช้ากว่าการขยายตัวของการลงทุน ส่งผลให้ช่องว่างของการออมและการลงทุนซึ่งสะท้อนออกมา
ในรูปของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 7.9 ในช่วงระยะ เวลาดังกล่าว จึงทำให้ไทยต้องพึ่งพาเงิน
ลงทุนจากต่างประเทศ และก่อให้เกิดภาระหนี้โดยเฉพาะภาคเอกชน
การพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศ เป็นมูลเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจ
ไทยเติบโตเป็นแบบ "ฟองสบู่" และประสบภาวะแตกสลายในที่สุดนั้น เมื่อหันมาดูต้นเหตุในเรื่องของการออมแล้ว
รัฐบาลจึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหา ตรงจุดนี้ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนเห็น
ความสำคัญของการออม โดยกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางในการส่งเสริมและเร่งระดมเงินออมอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรม การรณรงค์ระดมเงินออมขึ้นชุดหนึ่ง มี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน
และได้กำหนดให้วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันออมแห่งชาติ" ซึ่งปี
2542 นี้จะเป็นปีแรกที่มีการจัดกิจกรรมการออมขึ้นในสถาบันการเงินต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของราชการ
ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้อำนวยการ สำนักผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประ-เทศไทย กล่าวว่า
"แบงก์ชาติจะมีการจัดงานวันออมแห่งชาติขึ้น 2 วันคือ 30-31 ตุลาคม"
จะมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่ประชาชน"
การออมก็คือการใช้จ่ายอย่างฉลาดมีแบบแผน หรืออาจจะเรียกตามนิยมการบริหารว่าการบริหารเงินส่วนบุคคลก็ได้
รัฐบาลประกาศใช้นโยบายนี้ตั้งแต่ปี 2540 แต่ครั้นปี 2542 รัฐบาลอาจปรารถนาให้คนใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
และต้อง การเม็ดเงินมาอัดฉีดมากขึ้น แต่คนทั่วไปก็คงไม่ใช้จ่ายกันมากนัก
เพราะคงจะ รอดูสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษารัฐบาลบางท่านออกมาอธิบายเหตุผลว่าทำไมคนไทยไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจ
ไทยฟื้นตัวแล้ว ขณะที่ฝรั่งก็ไม่เข้าใจว่าคนไทยไม่เชื่อทั้งที่ดัชนีตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจบ่งบอกเช่นนั้น
สถาบันวิเคราะห์เศรษฐกิจของต่างชาติทั้งหลาย ต่างประกาศปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้น
แม้จะมีข้อถกเถียงกันดังกล่าว แต่หน่วยงานที่รับนโยบายรัฐบาลมาดำเนินการก็คงเดินหน้าต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำเอกสารคู่มือการออมเงิน รวมทั้งสมุดบันทึกรับ-จ่ายประจำครอบครัว
สมุดบันทึกรับ-จ่ายของเด็กนักเรียน กระปุกออมสิน และโปสเตอร์
ในเอกสารคู่มือการออมนั้น มีตารางที่น่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการออม ซึ่งปรากฏว่าในการสำรวจครัวเรือนพบว่า
การออมส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในรูปเงินฝาก ธนาคาร และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย
(ในปี 2541) แม้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการฝากเงินจะลดต่ำลงมาก
แต่คาดว่าเงินออมส่วนมากก็ยังคงอยู่ โดยอาจจะอยู่ในรูปการซื้อหุ้น กู้แบบพิเศษ
(ได้แก่ Slips และ Caps)
การฝากเงินกับสหกรณ์ การซื้อ กรมธรรม์ประกันชีวิต ซื้อพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
ก็ถือเป็นการออม ขณะที่การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การลงทุนโดยผ่านการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล
และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็อยู่ในนิยามความหมายเรื่องการออมได้เหมือนกัน
ในสมุดบันทึก รับ-จ่ายประจำครอบครัวนั้น ได้มีการสอดแทรกการบริหารเงินส่วนบุคคล
ด้วยการลงบันทึกการวางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและเป็นระบบ มีตารางบันทึกการฝากเงินกับสถาบันการเงินและการออมด้วยการซื้อหลักทรัพย์
นอกจากนี้ยังมีแบบประเมินการประหยัดและการออมอย่างง่ายๆ แนะนำไว้อีกด้วย
ถือว่าเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ อย่างยิ่งในยามที่ชีวิตควรให้ความสำคัญ
กับการออมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด