เม็ดเงินยุโรปไหลเข้าไทยมากที่สุด


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2542)



กลับสู่หน้าหลัก

จุฑาทิพย์ เกรียงไกรสกุล ในฐานะตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ประจำ ณ นคร แฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอร-มนี ได้เปิดเผยตัวเลขการลงทุนจากประเทศแถบยุโรปมาสู่ประเทศไทยในช่วงปี" 41 ว่ามีมูลค่าสูงถึง 118,769 ล้าน บาท จากโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจาก BOI ถึง 166 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปี" 40 ถึง 15% ซึ่งถือเป็นตัวเลขการลงทุนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนที่มาจากประเทศอื่น แม้ว่ามูลค่าจะลดลงจากปี" 40 ที่มีมูลค่า 121,713 ล้านบาทไปบ้าง โดยสาเหตุที่ลด ลงนั้น จุฑาทิพย์ให้เหตุผลว่า "เนื่อง จากการลงทุนของประเทศในยุโรปจะเข้ามาในรูปของโครงการขนาดกลางและ ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากปรากฏ การณ์นี้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า วิกฤต การณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ไม่ได้ส่งผลกระทบให้จำนวนการลงทุนจากยุโรปลดลง"

สำหรับประเทศธงนำจากยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทยสูงสุด ได้แก่ สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งมีจำนวนโครงการสูงที่สุดถึง 27 โครงการในปี" 41 เพิ่ม ขึ้น 17.4% จากปี" 40 ที่มี 23 โครงการ แต่เม็ดเงินการลงทุนมีมูลค่า 13,160.60 ล้านบาท หรือลดลง 11.6% เมื่อเทียบกับปี" 40 ที่อยู่ที่ 14,892.2 ล้านบาท

โครงการที่เยอรมนีได้รับการอนุมัติทั้ง 27 โครงการประกอบด้วย โครงการใหม่ 19 โครงการ โครงการส่วนขยาย 8 โครงการ และโครงการใหม่ ที่มีเงินลงทุนเกิน 100 ล้านบาท โดยมีต่างชาติถือหุ้นเกิน 10% จำนวน 6 โครง การ อาทิ บริษัท ซาซาเรียส สโตโร่ เอ็กซเพิร์ต (ประเทศไทย) ทำอุตสาห-กรรมผลิตโฟม (ESP) เพื่อส่งออก 50% และมีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 130 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นครสวรรค์, บริษัท เดกุสซ่า แคททาลิสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิต Catalytic Converters & Attachment เพื่อส่งออก 30% มูลค่าการลงทุน 300 ล้านโรงงานตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรม อมตะ จ.ระยอง และบริษัท ไบเออร์ โพลีเมอร์ จำกัด ผลิต Bisphenol-a และ Bisphenol Tar ส่งออก 80% มีมูล ค่าการลงทุนเท่ากับ 4,600 ล้านบาท โรง งานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เป็นต้น

จากการที่สำนักงาน BOI ในต่าง แดน ทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลประสานงาน และเชิญชวนให้นักลงทุนเยอรมันหรือประเทศอื่นในยุโรปเข้ามาลงทุนในไทยพบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่าน มา (2539-2541) ความสนใจของนักลงทุนเยอร-มันจะกระจายไปในทุกสาขาแต่สาขาที่ได้ รับความสนใจน้อยที่สุดคือ สาขาเกษตร และผลิตผลจากการเกษตร ส่วนสาขาที่ได้รับความสนใจอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ สาขาผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร สาขาเคมี กระดาษ ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษและคาดว่าจะมาแรงในปีนี้คือ อุตสาหกรรมในหมวดบริการ โดยมีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกิจ การสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน โดยบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมในกิจการนี้แล้ว เช่น Siemens AG และล่าสุด ได้แก่ บริษัท Thyssen Krupp Industriea (Thailand) ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเยอรมนี มีบริษัท ในเครือประมาณ 600 บริษัท ในสาขาโลหะ เครื่องจักร การต่อเรือ เคมี วิศวกรรม เป็นต้น และมีการจ้างงานทั่วโลกประมาณ 200,000 คน และมีมูลค่ายอดขายในปี"41 สูงถึง 70 พันล้านมาร์ก

จากตัวเลขการลงทุนของเยอรมนี ที่มีแนวโน้มที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นการเข้ามาลงทุนอย่าง่ายๆ นักลงทุนต่างชาติทุกราย โดยเฉพาะเยอรมันให้ความสำคัญกับ "ข้อมูล" มาก ตัวแทน BOI ในเยอรมนีเล่าว่า แม้ว่านักลงทุนเหล่านี้จะเข้ามาติดต่อขอข้อมูลกับทางศูนย์ฯ โดยตรงแล้ว แต่กระนั้นพวกเขายังหาข้อมูลจากที่อื่นอีกด้วย รวมทั้งมีการทำวิจัยเอง ซึ่ง เป็นที่น่าดีใจที่ผลการวิจัยของสถาบันที่มีชื่อเสียงอย่าง UNCTAD (United Nations Conference on Trade Development) รายงานว่า ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนของไทยเปรียบเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในปี"41 หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจแล้ว พบว่า มีเพียงประเทศไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่ยังมีการลงทุนจากต่างชาติในระดับที่พอดี โดยมีการลงทุนในประเทศไทยเป็นมูลค่ารวม 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในเกาหลีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนการศึกษาอีกฉบับเป็นของบริษัท Roland Berger & Partner GmbH ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีชื่อเสียงของเยอรมนี ได้ทำรายงานร่วมกับหอการค้าเยอรมันในหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยสำรวจความเห็นของนักลงทุนเยอรมัน ต่อผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในส่วนของประเทศไทยพบ ว่า นักลงทุนเยอรมันมีความเชื่อว่า "เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในไม่ช้า และเชื่อว่ารัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา ซึ่ง 79% ของนักลงทุนเยอรมันนั้นเข้ามาลงทุนโดยหวังผลในระยะยาว และ 90% ยืนยันว่าจะไม่ถอนตัวไปจากตลาดในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทยอย่างแน่นอน และ 93% ยังสนใจที่จะลงทุนในประเทศ ไทยต่อไปอีก"

สำหรับในปี"42 นี้ เธอเปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกมีโครงการเยอรมันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 12 โครงการ โดยได้รับการส่งเสริมแล้ว 7 โครงการ และในจำนวนนี้มีโครงการขนาดใหญ่ที่ลงทุนสูงกว่า 1,000 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท BMW Manufacturing (Thailand) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อจำหน่ายในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งดีลนี้ใช้เวลานานมากในการชักจูง โดยเริ่มตั้งแต่ปี" 38 และมีการให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องมีการนัดพบกับทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็น ถึงประโยชน์ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งในปี 40 ทาง BMW เริ่มมีความสนใจอย่างจริงจัง และได้เปิดตัวบริษัทในปี"41 ตามที่ "ผู้จัดการ" เคยเสนอข่าวไปแล้ว

"งานหลักของเราคืองานประชา-สัมพันธ์ เราทำงานเหมือนกับเซลส์ ต้องมีการดูแลลูกค้า ต้องส่งเสริมการขาย โดยจะแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือส่วน ของการทำงานด้านการตลาด และส่วนของงานด้านวิชาการ งานด้านการตลาดก็คือ แนะนำให้รู้จักสำนักงานส่งเสริมฯ ให้รู้ว่าเรามีบริการอะไรบ้าง และชักจูงให้มาลงทุนในเมืองไทย ในส่วนของงานวิชาการคือ ศึกษาภาวะอุตสาหกรรมที่เราควรจะชักจูงให้มาลงทุนในบ้านเรา" จุฑาทิพย์เล่าถึงบทบาทหน้าที่ของตัวแทน สำนักงาน BOI ที่อยู่ในต่างประเทศ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.