หนทางการทำธุรกิจขนาดเล็ก ไม่ใช่เรื่องที่ราบรื่นเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการรายใดจะสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ปิตุพร หิรัญยพิชญ์
เป็นหนึ่งตัว อย่างของผู้ส่งออกไทยที่มีการปรับตัวอย่างน่าสนใจ ก้าวจาก "รับจ้างผลิต"
สู่ "แบรนด์ของตัวเอง"
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากในการผลิตและจำหน่ายสินค้าตกแต่งภายใต้แบรนด์
"Propaganda" เพราะมียอดจำหน่ายต่างประเทศถึง 80% ของสินค้าที่ผลิตทั้งหมด
มาบัดนี้ Propaganda เริ่มเผชิญ อุปสรรคหลายด้าน โดยเฉพาะในตลาด ต่างประเทศ
ที่วิธีขายขาดทำให้การจัดวางสินค้าในตลาดเจอคู่แข่งสูงมาก เมตตา สุดสวาท
ตัดสินใจปิดฉากงานกราฟิกดีไซน์ของ Propaganda ที่ใช้ เป็นกลยุทธ์เปิดตลาดในตอนเริ่มต้นหันมามุ่งสร้างงานโปรดักส์ดีไซน์
เพื่อหนีไกลคู่แข่งทั้งหลาย แถมด้วยการก้าวสู่ปารีส-ศูนย์กลางการชอปปิ้ง
เพื่อเปิดชอป "เมดอินไทยแลนด์" ใช้เป็นหัวหอกบุกเบิกตลาดต่างประเทศ
เถลิงศก ค.ศ. 2000
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากในการผลิตและจำหน่ายสินค้าตกแต่งภายใต้แบรนด์
"Propaganda" เพราะมียอดจำหน่ายต่างประเทศถึง 80% ของสินค้าที่ผลิตทั้งหมด
มาบัดนี้ Propaganda เริ่มเผชิญอุปสรรคหลายด้าน โดยเฉพาะในตลาด ต่างประเทศ
ที่วิธีขายขาดทำให้การจัดวางสินค้าในตลาดเจอคู่แข่งสูงมาก เมตตา สุดสวาท
ตัดสินใจปิดฉากงานกราฟิกดีไซน์ ของ Propaganda ที่ใช้ เป็นกลยุทธ์เปิดตลาดในตอนเริ่มต้นหันมามุ่งสร้างงานโปรดักส์ดีไซน์
เพื่อหนีไกลคู่แข่งทั้งหลาย แถมด้วยการก้าวสู่ปารีส-ศูนย์กลางการชอปปิ้ง
เพื่อเปิดชอป "เมดอินไทยแลนด์" ใช้เป็นหัวหอกบุกเบิกตลาดต่างประเทศ
เถลิงศก ค.ศ. 2000
บริษัท Propagandist ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าตกแต่งภายใต้แบรนด์ "Propaganda"
ได้เปิดตำนานขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากเงินทุนเริ่มต้นเพียง 2 ล้านบาท กับคนทำงานกลุ่มเล็กๆ
เพียงไม่กี่คน ปัจจุบันยังคงเป็นคนทำงานกลุ่มเล็กๆ ที่มีการเปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาไปบ้างตามเวลา
แต่เงินทุนจดทะเบียนได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นสากลอย่างเต็มตัวมากขึ้น
ตลอดเวลา 5 ปีของ "Propaganda" สินค้าสร้างสรรค์ฝีมือคนไทย ได้มีการปรับปรุงพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องทำให้
"Propaganda" เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบงานดีไซน์ที่ไม่
ธรรมดาทั้งในและต่างประเทศ และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา "Propaganda" มี
ยอดขายกับลูกค้าต่างประเทศสูงถึง 80% ซึ่งหมายถึงสินค้าไทยที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงเช่น
"Propaganda" ได้ออกไปสู่สายตาชาวโลกในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี "Propaganda" เคยเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่ดึงดูดมาก
แต่ปัจจุบันสิ่งที่น่ากลัวได้เกิดขึ้นแล้วคือ สินค้าของ "Propaganda"
ถูกกลืนไปกับสินค้าแบรนด์อื่นที่มีรูปแบบลักษณะและการนำเสนอที่คล้ายคลึงกันจำนวนมาก
ทำ ให้ความเป็น "Propaganda" ถูกบดบัง ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งเมตตา
สุดสวาท ตัวแทนของชาว Propagandist ยอม รับว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ
ไม่ได้ให้ความใส่ใจในเรื่องของการจัดวาง สินค้า "Propaganda" ภายในห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่ง
เนื่องจากถือว่าเป็นการขายขาดไปแล้ว
แม้แต่ในต่างประเทศ อย่างเช่นในอเมริกา และญี่ปุ่นจะวาง "Pro-paganda"
ปะปนกับสินค้าดีไซน์แบรนด์อื่นที่มีลักษณะเป็น "Mass Product" นี่คือปัญหาหนึ่งของการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งในตลาดสากล
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สินค้าอย่าง "Propaganda" ไม่ใช่สินค้าในกลุ่ม
Mass เนื่องจากไม่ได้ผลิตมาในจำนวนมาก และราคาไม่ถูกเหมือนกับ "Mass Product"
ทั่วไป แต่เป็นสินค้าสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ที่มีความรักและเข้าใจในงานดีไซน์
ฉะนั้น "ราคา" จึงไม่ใช่อุปสรรคในการเลือกซื้อของพวกเขา
ปัจจุบัน Propagandist เปิด ร้าน "Propaganda" เพียงสาขาเดียว เท่านั้นที่ห้างสรรพสินค้าดิเอ็มโพเรี่ยม
เพื่อความสะดวกในการดูแลอย่างทั่วถึง Propagandist ในฐานะผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย
ไม่ได้เน้นที่การขายปลีกมากนัก แต่เน้นที่การขายส่งขายขาด ภายใต้ชื่อ "Propaganda"
สินค้าเมดอินไทยแลนด์ จากความแปลกและสะดุดตาของสินค้าที่ออกไปสู่สายตานานาชาติ
ทำให้เกิดความรู้สึก "ทึ่ง" ในฝีมือคนไทย จนเป็นที่มาของเหตุการณ์ต่อไปนี้...
...มร.เทียรี่ ร็อบบิ้น และมร. โอลิเวีย บูเนล สองสหายชาวฝรั่งเศส นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชอปปิ้งภายในห้างสรรพสินค้าดิเอ็มโพเรียม
และได้มาสะดุดตาสะดุดใจกับร้านและสินค้าของ "Propaganda" ที่บริเวณชั้น
4 ของห้างถึงขั้นขอเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า "Propaganda" ในประเทศฝรั่งเศส
โดยจะเปิดเป็นร้าน "Propaganda" ณ เมืองปารีส พร้อมให้สิทธิแก่ทีมดีไซน์ของ
Propagandist ในการออกแบบตกแต่งภายในร้าน และสินค้าทุกตัว อย่างอิสระเต็มที่
โดยคาดว่าจะเปิดได้จริงในเดือนมกราคม ค.ศ.2000
"เราเริ่มคุยกันเมื่อประมาณปลาย ปีที่แล้ว ซึ่งตอนแรกยังไม่มีอะไรเป็นรูปเป็นร่างสักอย่าง
แต่พอหลังจากที่ทางเขา ส่งแผนงานมาให้เราดู และมีการพูดคุย มีการศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายครั้ง
เขาได้จัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของ ฝรั่งเศส เราก็เห็นว่าเขาตั้งใจที่จะทำอย่างจริงจัง
จึงคิดว่า อย่างนี้น่าจะร่วมหัวจมท้ายกันได้ จึงได้เซ็นสัญญาร่วมธุรกิจกัน
โดยทางมร.เทียรี่จะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และมีทีมของ Propagandist เข้าไปช่วยในส่วนของการตกแต่งร้าน
การออกแบบและผลิตสินค้าทั้งหมด ให้เหมือนร้านที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้นเราเปิดโอกาสให้เขาขายสินค้าอื่นได้ด้วย
แต่ต้องในสัดส่วนที่น้อยกว่าสินค้าเราคือ 60:40" เมตตาเล่าถึงเบื้องหลังดีลและการทำงานของทั้ง
2 ฝ่าย
สำหรับดีลนี้ "เม็ดเงิน" ไม่ใช่เป้าหมายหลักของ Propagandist แต่
"ภาพพจน์หรือ image" กลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก "ฝรั่งเศส"
ถือเป็นหน้าต่างบานสำคัญที่จะเปิดตัว "Pro-paganda" ออกสู่สายตาชาวโลก
"ถ้าเราสามารถสร้างชื่อที่ฝรั่งเศส ได้ ที่อื่นเราก็สามารถเข้าไปได้ง่ายมากขึ้น"
เป็นความเห็นของเมตตา
ดีลนี้แตกต่างจากดีลเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ที่มร.ไมค์ บลีส ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า
Propaganda เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศอังกฤษ ตรงที่สินค้าของ Pro-paganda
ที่อังกฤษจะวางจำหน่ายอยู่ในร้าน Bliss ซึ่งเป็นร้านของมร.ไมค์ที่มีอยู่แล้ว
ในขณะที่ฝรั่งเศสจะเปิดเป็นร้านโดยใช้ชื่อว่า "Propaganda" อย่าง เต็มรูปแบบ
นี่คือเรื่องจริงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกธุรกิจของคนไทย หากธุรกิจนั้นๆ
มีจุดขายและมีความเป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น ประกอบกับมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กราฟิกดีไซน์ สู่โปรดักส์ดีไซน์
ดีไซเนอร์ของ Propagandist เริ่มต้นจากงานที่พวกเขาถนัดที่สุดคือ งานกราฟิกดีไซน์
และนับเป็นทีมดีไซ-เนอร์รุ่นแรกๆ ที่กล้าที่จะนำความสร้าง สรรค์นั้นๆ มาใส่บนรูปฟอร์มที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิ แก้วน้ำ
จาน ชาม หมวกคลุมอาบน้ำ หรือแม้กระทั่งปลอกหมอน นอกจากนั้นยังรวมถึงงานสิ่งพิมพ์จำพวกการ์ดต่างๆ
ด้วย
ต่อมากระแสของงานกราฟิกดี-ไซน์เริ่มมีมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าประเภทนี้มีให้เห็นอยู่เกลื่อนตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ
เนื่องจากงานกราฟิกเป็นงานที่ทำกันได้ง่าย คิดกันได้ง่ายเพียงแต่ว่าความคิดของใครจะเจ๋ง
กว่ากันเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป อนาคตของ Propaganda ก็คงอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
ดังนั้นเมตตาและทีมดีไซเนอร์จึงมีความเห็นตรงกันว่า "Propaganda ต้องเปลี่ยนแนวทางเดินใหม่"
ซึ่งแนวทางนั้นคือ การเปลี่ยน จาก "กราฟิกดีไซน์" มาเป็น "โปรดักส์ดีไซน์"
เพื่อยืดอนาคตให้แก่ "Propaganda" และหนีจากการถูกลอกเลียนแบบสินค้า
"ต่อไปนี้เราจะหันมาดีไซน์รูปทรง ของเราเอง (Original Form) โดยไม่พึ่งงานกราฟิกอีกต่อไป
ซึ่งการทำงานของเราจะยากขึ้น เพราะเราต้องคิดสินค้าใหม่ขึ้นมาเองภายใต้คอนเซ็ปต์ของเรา
โดยเราต้องมีความหลักแหลมในการคิดมากขึ้น ซึ่งพอมาถึงตรงนี้แล้ว เราไม่สนใจแล้วว่าใครจะก๊อบปี้งานของเรา
เพราะใครก็ตามที่ถนัดแต่การก๊อบปี้ ท้ายที่สุดจะไปได้เพียงจุดหนึ่งเท่านั้น
จะไม่มีการเติบโต เนื่องจากไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ต้องคอยตามคนอื่นอยู่ดังนั้นความคิดและสินค้าก็จะไม่มีการพัฒนาไปด้วย"
เมตตาประกาศทางเดินใหม่ของ "Propaganda"
อย่างไรก็ดี เมตตายังมีความเชื่อ มั่นว่า ชื่อของ "Propaganda" ได้เข้า
ไปอยู่ในใจของลูกค้าแล้ว ดังนั้นการที่มีสินค้าอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันออกมามากขึ้น
ความรู้สึกแรกที่ลูกค้าเห็นจะ คิดว่าเป็นสินค้าของ "Propaganda" ซึ่งการที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเช่นนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย
และต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว จึงเป็นเหตุผลให้เธอและทีมงานต้องเร่งปรับสปีดและแนวทางการทำงานให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
สินค้าใหม่ของ "Propaganda" ที่อยู่ในรูปแบบของโปรดักส์ดีไซน์มีออก
มาให้เห็นแล้วได้แก่ กรอบรูป กล่องกระดาษทิชชู และนาฬิกากล่องนม ซึ่ง 2 อย่างหลังนี้ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมในการประกอบสินค้าให้เป็นรูปทรงที่สามารถใช้งานได้
ส่วนกรอบรูปนั้นผู้ใช้ สามารถต่อให้เป็นรูปทรงได้ตามใจชอบ นับเป็นลูกเล่นอย่างหนึ่งที่ทีมดีไซเนอร์ของ
"Propaganda" พยายามให้ปรา-กฏอยู่ในสินค้า นอกเหนือไปจากเอก ลักษณ์ของสินค้าที่ให้ความรู้สึก
"Sense of Humor" ที่บ่งบอกถึง "อารมณ์ขัน" "ความคาดไม่ถึง"
และ "ความฉลาดของผู้ใช้" อันเป็นโจทย์หลักที่ดีไซเนอร์ทุกคนใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าออกมาอย่างสมบูรณ์
สำหรับงานโปรดักส์ดีไซน์ที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิตนั้น เมตตา เผยว่า
จะเป็นสินค้าเซรามิกประเภทถ้วยกาแฟพร้อมจานรอง ที่เสียบแปรงสีฟัน ที่เสียบไม้จิ้มฟัน
กระปุกพริกไทยเกลือ ซึ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งสิ้น
"งานทุกชิ้นของเราจะมีการดีไซน์ รูปทรงเป็นของเราเอง โดยทุกชิ้นจะต้องเป็น
Original Design เนื่องจากเวลาที่พวกเราคิดงานกัน เราจะต้องหาข้อมูลรอบตัวตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้สินค้าเราไปเหมือนกับใคร และหากเราเจออะไรที่คล้ายกัน เราจะรีบเปลี่ยนทัน
ที" เมตตาเล่าถึงกระบวนการทำงานพร้อมกล่าวถึงนโยบายต่องาน กราฟิก ดีไซน์ว่า
"ต่อไปนี้เราจะผลิตตามออร์ เดอร์ที่ต้องการเท่านั้น จะไม่มีการดีไซน์ หรือพัฒนาสินค้าประเภทนี้ต่อ
เราจะปล่อยให้ยอดขายถึงจุดที่เราคิดว่า เราผลิตแล้วไม่คุ้ม เราก็จะเลิกขายไปในที่สุด"
และวันนี้พวกเขาต้องทำงานหนักมากขึ้น ต้องเดินทางออกไปหาวัตถุดิบตามต่างจังหวัด
เพื่อนำมาดีไซน์เป็นสินค้าใหม่ โดยมีแผนว่า 10 ตัวแรก จะนำไปเปิดตัวที่ฝรั่งเศสในต้นปีหน้า
ทีมงานของ Propagandist ยอมรับว่า พวกเขามีจุดอ่อนในเรื่องของแหล่งวัตถุดิบและกระบวนการผลิต
เนื่องจากพวกเขาเป็นคนทำงานด้านความ คิดเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาก็พร้อมที่จะออกไปลุยด้วยตัวเองกันทั้งทีม
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างงานซึ่งกันและกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่ายังมีโรงงานหรือแหล่งวัตถุดิบอีกมากมายในประเทศ
ที่ยังต้องการความสร้างสรรค์ของพวกเขาในการพัฒนาสินค้า ซึ่งตรงกับพวกเขาที่ต้องการวัตถุดิบใหม่ๆ
แปลกๆ ที่จะนำมาสร้างสรรค์งานใหม่ๆ และที่สำคัญคือต้องเป็นวัตถุดิบจากประเทศไทย
100% ถึงจะภาคภูมิใจ และได้ชื่อว่าเป็น สินค้าเมดอินไทยแลนด์อย่างแท้จริง
คนละมุม สามมุมกับ ดีไซเนอร์ "Propaganda"
ทีมดีไซเนอร์ของ Propagandist มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามวันเวลาและแนวทางการทำงาน
จนล่าสุด ปรากฏให้เห็นเป็นชายหนุ่ม 3 คนระดับ ความกล้าแกร่งในวิชาแตกต่างกันไป
เริ่มจาก ชัยยุทธ พลายเพ็ชร์ หัวหน้าทีม ผู้ถูกรุ่นน้องขนานนามให้เป็น
"รุ่นถางหญ้า" ของงานกราฟิกดีไซน์ ในเมืองไทย ชัยยุทธอยู่ในวงการกราฟิก
มานานนับ 10 ปี ตั้งแต่จบมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาก็เริ่มทำงานที่บริษัท
สามหน่อกราฟิก กับสาทิศ กาลวันตวานิช ในสมัยที่สามหน่อฯ ยังไม่แตกหน่อ ต่อมาถูกดึงตัวให้ไปอยู่บริษัท
DDB NEEDHAM บริษัทโฆษณาในเครือฟาร์อีสท์ในสมัยนั้น ซึ่ง ณ ที่นี้เองเขาเริ่มมีความรู้สึกว่า
"งานกราฟิกเป็นเหมือนของแถม คนทำหนังโฆษณาจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานกราฟิก
อย่างแท้จริง" แต่ชัยยุทธก็ยังสลัดงานกราฟิกไม่พ้น จากนั้นเขาได้ร่วมงานกับบริษัทแกรมมี่อยู่พักหนึ่ง
รับหน้าที่ ดีไซน์ปกเทป ทำไปทำมาเขาก็รู้สึกว่า "ทำไมขายแต่หน้าอย่างเดียว"
และในที่สุดเขาก็ได้กลับมาร่วมงานกับสาทิศอีกครั้ง เมื่อสาทิศแตกหน่อออกมาเป็นโปรดักส์ชั่นเฮาส์ชื่อ
"Phenomena" และมีแผนที่จะทำ "Propaganda Graphic" เขาจึงโถมมาสุดตัว
"ณ วันนี้เป็นจุดที่พอใจมากที่สุด เหมือนเรามาถูกทางแล้ว เราเจอตัวเองแล้ว"
เป็นความรู้สึกของดีไซเนอร์รุ่นบุกเบิกของ Propagandist ต้นตอของ "Sense
of Humor" ผู้หลอมประสานการทำงานของดีไซเนอร์อีก 2 คนให้เป็น ไปในทิศทางเดียวกัน
นกุล เตชะพุทธพงศ์ ถือเป็นกราฟิกดีไซเนอร์มือหนึ่งของเมืองไทย เขามีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างประหลาดจากคนอื่น
เนื่องจากงานที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้ดูจะห่างไกลจากสิ่งที่เขาชอบคือ "ฟิสิกส์"
แต่เขาก็สามารถทำงานทุกวันนี้ได้อย่างเต็มที่ เขาจบการศึกษาจาก คุรุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบมาใหม่ๆ ทำตัวอิสระอยู่ 2 ปี จากนั้นไปเริ่มงานที่บริษัท
แปลนกราฟิก ทำได้ครึ่งปีก็ระเห็จออกมา จากนั้นได้เข้าไปเป็นรุ่นน้องชัยยุทธที่สามหน่อฯ
ทำได้ไม่ถึงปีบริษัทก็แตกหน่อ เลยตามกันมาอยู่ที่ "Propaganda Graphic"
จากนั้นทำอยู่ 2 ปี ก็ไปเรียนต่อด้านฟิล์มที่นิว-ยอร์ก 2 ปีเต็ม "เป็นคอร์สสั้นๆ
แต่ที่เรียนนานเพราะเรียนภาษาไปซะปีครึ่ง อีกครึ่งปีเรียนฟิล์มจริงๆ เรียนแล้วกลับ
มาก็ไม่ได้ใช้เลย เรียนเป็นความรู้เฉยๆ ให้ท่วมๆ ไว้" นกุลชี้แจงอย่างอารมณ์ดี
ส่วนคนสุดท้ายคือ กุลนาถ ศรศรีวิชัย น้องใหม่ของวงการ เป็นรุ่นน้องของนกุลจากรั้วจามจุรี
เพิ่งจบได้เพียง 3 ปี เริ่มต้นทำงานที่นี่เป็นแห่งแรก เนื่อง จากต่างคนต่างติดใจกันตั้งแต่เมื่อครั้งที่มาฝึกงานสมัยที่ยังเป็นนิสิตอยู่
กุลนาถเล่าว่า ตอนเรียนจบใหม่ๆ อาจารย์ทาบทามให้เขาไปเป็นศิลปิน ศิลปินที่ว่า
ไม่ใช่เป็นนักร้องหรือนักแสดง แต่เป็นศิลปินทางด้านประติมากรรม เนื่องจากเขามีความโดดเด่นทางด้านนี้
แต่เขาคิดอยากพึ่งตัวเอง มากกว่า ประกอบกับเรียนมาทางด้านConceptual Art
คือ เป็นการเรียนที่สอนวิธีการคิดงานศิลปะที่เป็น Commercial ซึ่งเขาคิดว่า
การทำงานที่นี่คือตัวตนที่สามารถจับต้องได้ และที่สำคัญคือสามารถเลี้ยงชีพได้
เขาจึงเริ่มต้นชีวิตการทำงานกับ Propagandist
สำหรับจุดเด่นของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไป นกุลจะมีความเก่งกาจในเรื่องของงานกราฟิก
2 มิติมาก ถือได้ว่าเป็นสุดยอดของประเทศไทยคนหนึ่ง ส่วนกุลนาถ จะมีมุมมองที่เป็น
3 มิติ เขามีความเข้าใจในเรื่องของรูปทรง เรื่องของฟังก์ชั่นได้ครบทุกด้าน
ซึ่งทั้ง 2 คนนี้จะทำงานเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี ในขณะที่ชัยยุทธหัวหน้าทีมจะมีลูกบ้ามากมาย
และมีมุมมองที่ไม่ธรรมดา ทำให้งานของเขาที่ออกมาจะได้ครบทุกรสชาติ ตลก เศร้า
สะเทือนใจ เขาสามารถทำสิ่งที่น่าเกลียดให้สวย งามได้ เช่น เขากล้าที่จะเอาแมลงวันมาใส่ในแก้วน้ำได้อย่างไม่น่าเกลียด...
ทั้ง 3 คนเปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ 3 ชิ้นที่มาต่อกันจนลงตัว ซึ่งละชิ้นก็มีความแตกต่างที่เฉพาะตัวกันออกไป
แต่หากขาดชิ้นใดชิ้นหนึ่งภาพที่ได้จะไม่สมบูรณ์ และสิ่งที่ทั้ง 3 คนมีเหมือนกันคือ
"Sense of Humor" ที่ซึมซับอยู่ภายในจิตใจและความคิดของพวกเขา
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ Propaganda ที่ปรับจากงานกราฟิกดีไซน์ไปสู่งานโปรดักส์ดีไซน์
เนื่องจากเขาคิดว่า งานกราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ไม่ค่อยได้แสดงไอเดียได้มากนักแต่
ณ วันนี้ Propagandist เปิดโอกาสให้พวกเขาได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่
"การทำงานในอดีตเราจะมีลูกค้า ซึ่งเป็นคนนอกมากำหนดโจทย์ให้เรา ซึ่ง นั่นคือเงื่อนไขของการทำงานในวงการนี้
แต่พอมาตรงนี้ วันนี้ ลูกค้าของเราคือ เจ้านายของเราเอง ซึ่งเป็นลูกค้าที่มีโลกทัศน์ค่อนข้างดี
ผู้บริหารแต่ละคนเปิดกว้างให้เราทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งหากไม่มีพวกเขา พวกเราก็อาจจะไม่มีโอกาสได้เกิด"
เป็นความรู้สึกของทีมดีไซเนอร์ แห่ง Propagandist
ก้าวนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการพิสูจน์ความสำเร็จของกลุ่มคนทำงาน Propagandist
อันเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจและน่าเป็นกำลังใจต่อผู้ประกอบธุรกิจขนาดพอตัวได้เป็นอย่างดี